- ปี 2017 D&G ทำรายได้ไปกว่า 1.29 พันล้านยูโร ซึ่ง 25% ของรายได้มาจากเอเชีย
- กว่า 1 ใน 3 ของยอดขายสินค้าแบรนด์เนมทั่วโลก มาจาก “ประเทศจีน”
- แต่โฆษณาเพียงตัวเดียวทำให้เกิดการต่อต้านแบรนด์ครั้งใหญ่
ทำให้ตัวเลข Brand Health ลดลงอย่างเป็นประวัติการณ์ จาก +3.3 เหลือ -11.4
Diversity ความต่างไม่ใช่เรื่องแปลก
เพราะโลกไม่ได้มีคนแค่เพียงแบบเดียว การแสดงความแตกต่างเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นสีผิว รูปร่าง หรือความเชื่อ
การไม่เคารพทางวัฒนธรรม
การสร้างศิลปะด้วยแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมต่างชาตินั้นเป็นเรื่องปกติ
แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” เพื่อไม่ให้ล้ำเส้นเจ้าของวัฒนธรรม
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ D&G ถูกลูกค้าชาวจีนต่อว่า
แคมเปญ DG loves China โดยทีมช่างภาพ Morelli brothers
ซึ่งจะเป็นเซ็ตภาพที่ใช้โปรโมทแบรนด์ D&G ในประเทศจีน ก็ได้รับผลกระทบที่ไม่ดีมาแล้วว่า
- ทำให้ประเทศจีนดูราคาถูก
- ไม่มีความเป็นจีนสมัยใหม่
- แฝงความเหยียดสังคมจีน
ผลกระทบย่อมแรงกว่า
เพราะโลกเราเชื่อมต่อกันได้ไวขึ้น ข้อมูลข่าวสารจึงถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และ Online & Offline เชื่อมถึงกันเสมอ
- งานแฟชั้นโชว์ที่เซี่ยงไฮ้ถูกยกเลิกทันที รวมถึงการ Boycott จากดาราชื่อดัง
- มีการโพสต์ “Boycott Dolce – คว่ำบาตร Dolce” กว่า 18,000 ครั้งบน Weiboและติดอันดับการเสิร์ชสูงสุดบนโซเชียลมีเดีย
การให้คำตอบที่ไม่จริงใจจากแบรนด์
เมื่อเกิดปัญหาแบรนด์เลือกวิธีรุนแรง ไม่เข้าใจในแก่นของปัญหา
และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าแบรนด์ไม่จริงใจ จึงทำให้ผลลัพท์ยิ่งรายแรงกว่าเดิม
- หลังจากถูกแฉมากมาย Stefano Gabbana ได้ออกมาชี้แจงถึงถ้อยคำดูถูกที่เค้าพิมพ์โต้ตอบทั้งหลายนั้น “ถูกแฮก”
- “คำว่า Not Me ของ Stefano ถูกชาวเน็ทจีนนำไปล้อเลียนต่ออย่างไร้ความเชื่อถือ”
ผลลัพท์คือความเงียบเหงา
แบรนด์เปลี่ยนจากแบรนด์ที่ลูกค้ารัก และชื่นชม กลายเป็นความเกลียดชัง ไม่สนับสนุน ปกป้องแบรนด์นี้อีกต่อไป