เผยกลยุทธ์ความสำเร็จ Apple แบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก

Apple กับตำแหน่งแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงที่สุด

คงจะไม่ใครไม่รู้จักแบรนด์เทคโนโลยีที่มีโลโก้สัญลักษณ์รูปแอปเปิ้ลถูกกัด ซึ่งในปีนี้ก็ยังคงรักษาตำแหน่งแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกไว้อยู่ ทั้งยังเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดนับตั้งแต่การจัดอันดับของ Brand Finance ในการจัดอันดับบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก (Brand Finance Global 500) โดยจากข้อมูลพบว่าในปีค.ศ. 2021 Apple มีมูลค่าแบรนด์อยู่ที่ 263.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และได้เติบโตขึ้นกว่า 35% จนทำให้ในปีค.ศ. 2022 แบรนด์มีค่ามากถึง 355.1 พันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว

โดยก่อนอื่นต้องบอกว่าในส่วนของการจัดอันดับของ Brand Finance Global 500 ได้มีเกณฑ์ในการวัดมูลค่าแบรนด์ทั้งหมดแบ่งออกเป็น 4 ด้าน

  1. ดัชนีความแข็งแกร่งของแบรนด์ (BSI) โดยจะวัดจาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการลงทุน ด้านตราสินค้า ด้านประสิทธิภาของแบรนด์ ความแข็งแกรงของแบรนด์จะแสดงเป็นค่า BSI จาก 100 คะแนน
  2. อัตราความภักดีต่อแบรนด์ (Loyalty Rate) โดยจะใช้คะแนนความแข็งแกร่งของแบรนด์ (BSI) ในการคำนวณ
  3. รายได้ของแบรนด์ (Brand revenues) ซึ่งจะใช้อัตราความภักดีต่อแบรนด์ (Loyalty Rate) ในการคาดการณ์รายได้เพื่อประเมินมูลค่าแบรนด์
  4. มูลค่าแบรนด์ (Brand value) จะนำรายได้ของแบรนด์หลังหักภาษีคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันสุทธิ ซึ่งโดยท้ายที่สุดแล้วจะทำให้ได้มูลค่าของแบรนด์ออกมา

ทำไม Apple ประสบความสำเร็จ

  • นำหน้าก่อนเสมอ

ด้วยนโยบายต้องนำหน้าตลาดอย่างน้อย 2 ปีของ Apple ไม่ว่าจะด้านการออกแบบหรือฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์ผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความได้เปรียบด้านเทคโนโลยีตั้งแต่ต้นทั้งยังมีการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ทำให้แบรนด์แตกต่างจะบริษัทหรือแบรนด์อื่นๆ และมีตำแหน่งอยู่เหนือคู่แข่ง

  • คุณภาพเป็นตัวตัดสิน

แม้ราคาจะเป็นตัวสำคัญในการเลือกซื้อสินค้า แต่ Apple ทำให้เห็นว่าคุณภาพนั้นสำคัญยิ่งกว่า เพราะผลิตภัณฑ์ของ Apple นอกจากความเรียบง่ายที่ทรงประสิทธิภาพแล้ว สิ่งที่ต้องการสื่อออกไปคือ ความง่ายในการใช้งานที่ลูกค้าทุกกลุ่มตั้งแต่เด็กจนชราแล้วยังใช้งานได้และยังคงประสิทธิภาพไว้อยู่ แทนที่ Apple จะพยายามดึงดูดลูกค้าด้วยการทำสงครามราคา การแสดงให้ยิ่งถึงคุณค่ากลับกลายเป็นสิ่งที่เหนือกว่าคู่แข่งยิ่งและสร้างความโดดเด่นให้ Apple ได้มากกว่าเดิม

  • มีเป้าหมายชัดเจน

Apple มุ่งมั่นที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนโลกไปข้างมาโดยตลอดผ่านการเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ผ่านผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของแบรนด์ เพื่อช่วยในการเรียนรู้ ทำงาน และสื่อสารระหว่างกันท่ามกลางพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิม

เปิดกลยุทธ์ของ Apple ในปีนี้ที่ทำให้โตทะลุ 35%

  • ธุรกิจบริการ

แม้ว่าชื่อเสียงและความสามารถที่สั่งสมมาจากการวางตำแหน่งแบรนด์ให้ต่างจากคู่แข่งและอยู่ตรงใจผู้บริโภค แต่การเติบโตในปีนี้ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่า 35% นี้เกิดจากการบริการที่เพิ่มมาจากสินค้าหลักที่แบรนด์ที่มีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรายได้ที่มาจากการให้บริการของแบรนด์เติบโตขึ้นถึง 14.19% จากปีค.ศ. 2021 คิดเป็นสัดส่วนรายได้กว่า 20% ของรายได้ทั้งหมดในปีค.ศ. 2022 ทั้งยังสร้างกำไรให้บริษัทได้สูงกว่าผลิตภัณฑ์หลักอย่าง iPhone iPad และสินค้าอื่นๆ เสียอีก จากการเติบโตที่รวดเร็วอย่างมากนี้เมื่อดูจากระยะเวลาในการเปิดตัวบริการเพียงไม่กี่ปี แสดงให้เห็นได้ว่าบริการที่เพิ่มขึ้นมาถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ Apple เลยทีเดียว

โดยในส่วนของการบริการนี้ Apple ได้ให้ความสำคัญของบริการมากขึ้นด้วยการรวมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของ Apple เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เมื่อกลุ่มลูกค้าได้เข้ามาใช้บริการแล้วไม่เพียงบริษัทจะได้รายได้จากการให้บริการโดยตรง แต่ยังทำให้ขายสินค้าอื่นๆ ของบริษัทได้มากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น บริการ Apple Music ที่จะมีฟังก์ชันพิเศษอย่าง “เสียงรอบทิศทาง” ภายในแอพพลิเคชั่น ซึ่งจะใช้ได้เฉพาะกับ AirPods เท่านั้น เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลยทีเดียว

  • กลยุทธ์ช่องทางจัดจำหน่าย

ในการให้บริการลูกค้าเราต่างก็รู้อยู่แล้วว่าประสบการณ์ของผู้บริโภคเป็นส่วนสำคัญและมีผลต่อธุรกิจมากมายไม่ว่าจะในรูปแบบออนไลน์ หรือออฟไลน์ก็ตาม โดยยอดขายสินค้าส่วนใหญ่ของ Apple จะมาจากช่องทางอ้อมซึ่งเป็นผู้ค้าส่ง ค้าปลีกและตัวแทนจำหน่ายต่างๆ กว่า 62% จากยอดขายทั้งหมด และจากช่องทางตรงของบริษัทเองคิดเป็น 38% จะเห็นได้ว่าบทบาทความสำคัญของการขายแบบ B2B ซึ่งเป็นช่องทางขยายตลาดในวงกว้าง ในขณะเดียวกันการขายให้กับลูกค้าโดยตรง Apple ก็พยายมให้บริการและการสนับสนุนหลังการซื้อสินค้า เพื่อประสบการณ์ที่ดีของผู้บริโภคอีกด้วย

  • การขยายกิจการ

นอกเหนือจากสินค้าและบริการทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารแล้ว Apple ได้เริ่มหันเข้าไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย โดย Apple ได้มีการขยายกิจการโดยการเข้าซื้อบริษัทอื่นมากกว่า 25 บริษัทังแต่ปีค.ศ. 2018 และก็ได้เติบโตขึ้นตลอดช่วงปีที่ผ่านมานี้ โดยบริษัทได้ทุ่มเงินไปกว่า 430 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 4 หมวดธุรกิจที่สำคัญ

  1. ธุรกิจ AR/VR

เมื่อปีค.ศ. 2018 Apple ได้เข้าซื้อกิจการ 2 บริษัทได้แก่ Camerai บริษัทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์วิทัศน์และ AR ในประเทศอิสราเอล และบริษัท Akonia Holographics ผู้พัฒนาเลนส์ AR โดยมีจุดประสงค์เพื่อวางรากฐานสำหรับผลิตภัณฑ์ AR ในอนาคต จากนั้นในปี 2020 Apple ได้เข้าซื้อบริษัท VR แห่งได้แก่ บริษัท NextVR เพื่อพัฒนาโซลูชันสำหรับการจับภาพ และการส่งมอบเนื้อหาด้านกีฬาและความบันเทิงเสมือนจริง และได้ซื้อบริษัท Spaces ในเดือนถัดมา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงตามตำแหน่งและธีม

  1. ธุรกิจ Digital Health

ซึ่ง Apple มุ่งไปทางการเน้นพัฒนาอุปกรณ์ ยกตัวอย่างเช่น Apple Watch ที่ช่วยผู้ใช้งานในการติดตาม รวบรวม และแบ่งปัญข้อมูลสขภาพของผู้ใช้งาน โดยได้ประกาศความร่วมมือกับ Biogen IDEC เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการตรวจจับการเสื่อมของสุขภาพทางปัญญา และได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและภาครัฐหลายแห่ง

  1. ธุรกิจ Machine learning & AI

ได้มีการเข้าซื้อบริษัทเกี่ยวกับ Machine learning (ML) อย่างจริงจัง เพื่อใช้ในการพัฒนาคุณสมบัติใหม่ของ iPhone โดยการซื้อส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของผู้ช่วยเสมือนหรือ Siri โดยได้มีการซื้อกิจการต่างๆ

    4. ธุรกิจ Semiconductors & advanced materials

ชิปถือเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญสำหรับการผลิต ซึ่ง Apple ตระหนักดีจึงได้มีการร่วมมือกับ TSMC ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์พัฒนาชิปของตัวเอง รวมถึงร่วมมือกับบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนที่ใหญ่ระดับโลกอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Corning, LG Display และ II-VI

นอกเหนือจากกลยุทธ์ทั้ง 4 ด้านนี้แล้ว Apple ยังได้ดำเนินการเข้าซื้อกิจการ การลงทุน และความร่วมมือในหมวดอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะรถยนต์ สื่อดิจิทัลและความบันเทิงต่างๆ อย่าง Apple TV, Apple Music ด้วยเช่นกัน

“ความยิ่งใหญ่ของ Apple ที่นอกเหนือจากจำนวนตัวเลขมูลค่าแบรนด์แล้ว แต่เป็นคุณค่าที่ Apple ได้มอบให้แก่ผู้ใช้งานโดยคำนึงถึงผู้บริโภคและคิดเผื่อเพื่อผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าผลิตภัณฑ์ใดๆ ก็ตามที่บริษัทได้มีการนำออกสู่ตลาด และความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อ Apple นี้เองเป็นสิ่งที่วัดให้เห็นถึงความสำเร็จของแบรนด์มากกว่าตัวเลขการจัดอันดับเสียอีก”