“อาหารจะเยียวยาทุกสิ่ง” สำหรับคนไทยสายกินที่แม้จะสุข เศร้า หรือเหงาหงอย อาหารดีๆย่อมจะช่วยสร้างบรรยากาศให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อมีครอบครัวหรือเพื่อนรู้ใจ จึงไม่น่าแปลกที่ร้านชาบูปิ้งและร้านย่างทั้งหลาย จึงกลายเป็นที่พบปะสังสรรค์และพูดคุยกันระหว่างครอบครัวและหมู่เพื่อนไปโดยปริยาย เช่นเดียวกันกับร้านสเต็กอย่าง Eat Am Are ที่มองไปทีไรคนก็แน่นร้านอยู่เสมอ ทั้งยังกลายเป็นร้านโปรดในดวงใจใครหลายคนไปซะแล้ว
Eat Am Are กับกลยุทธ์เจาะใจลูกค้า
1. ปริมาณและคุณภาพคุ้มราคา
เรื่องความอร่อยและรสชาติที่ถูกปากก็คงไม่ต้องพูดถึง เมื่อนับได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ร้านอาหารต้องมีจนทำใหคนต่างพากันติดใจ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนติดใจไม่แพ้กันก็คงจะเป็นเรื่องของ “ปริมาณและคุณภาพ” ด้วยอาหารที่คุณภาพทุกจานทุกสาขาที่ใกล้เคียงกัน คุณภาพวัตถุดิบที่เรียกได้ว่าไม่แพ้ร้านสเต็กเชนใหญ่เจ้าดัง หรือแม้แต่เมนูอาหารไซส์ปกติที่ก็ยังให้ปริมาณเยอะจนกลายเป็นร้านที่ทำให้รู้ว่าคำที่ว่า “อิ่มจนจุก” มีอยู่จริง ทำให้เมื่อประกอบกับด้วยธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะเปรียบเทียบเป็นนิสัย ความคุ้มค่าระว่างปริมาณ คุณภาพ และราคาในระดับนี้เมื่อเทียบกับแบรนด์คู่แข่งทำให้กลายเป็นตัวเลือกที่อยู่ในลิสต์ต้นๆของร้านอาหารที่คนต่างเลือก
2. จัดเซ็ทหรือจะสั่งท็อปเพิ่มก็ถูกใจลูกค้า
นอกจากจะมีบริการท็อปเครื่องเคียงเพิ่มแบบไม่คิดเงิน หรือเพิ่มเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ได้เครื่องเคียง แม้จะเป็นกลยุทธ์เดิมแบบที่หลายแบรนด์ชอบทำกัน แต่ด้วยชื่อเสียงในด้านปริมาณอาหารของแบรนด์ทำให้คนต่างยอมจ่ายเพิ่มกันทั้งนั้น ไม่นับไปถึงการจัดเซ็ทและตั้งราคาแบบ Bundle ที่นอกจากจะเอาใจสายกินจุแล้วและทำให้รู้สึกถึงความคุ้มคา แถมเมื่อใช้เวลาเลือกคอมโบเซ็ทที่อยากกินด้วยตัวเองได้ ก็ยิ่งทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเมนูของร้านมีความหลากลาย สร้างความประสบการณ์และความประทับใจได้มากกว่าเดิม
3. ทำเลดีเป็นศรีแก่แบรนด์
เมื่อดูจากการกำหนดราคา กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์แน่นอนว่าคงไม่ได้ไปทับเส้นแบรนด์สเต็กเจ้าใหญ่อื่นๆ การเลือกทำเลของแบรนด์จึงเจาะไปที่คอมมูนิตี้มอลล์ หรือห้างขนาดเล็กที่มีกลุ่มของผู้มีกำลังซื้อปานกลาง ในขณะเดียวกันก็ยังคงขยายไปทำเลใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้าที่มีทราฟฟิคเยอะเพิ่มขึ้นเมื่อแบรนด์เริ่มติดตลาดด้วย เช่น สาขา MBK Center เป็นต้น
สรุป
แม้สาขาของ Eat Am Are มีเพียง 10 สาขา อาจไม่ได้เยอะเมื่อเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ ในตลาดอย่าง Sizzler Jeffer หรือ Santa Fe แม้ในปีที่มีการระบาดของโควิด-19 แบรนด์ยังคงทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 แบรนด์มีรายได้ 270.7 ล้านบาท กำไร 2.2 ล้านบาท ในขณะที่แบรนด์เจ้าตลาดอย่าง Sizzler ขาดทุน 38.8 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุการเติบโตนี้ก็มาจากกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งจนติดใจใครหลายคนไว้ได้นั่นเอง
……………………………………
ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0105557139761/