แนวโน้มของความยั่งยืนเป็นสิ่งที่คนพูดถึงกันเยอะขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะโลกเรากำลังเข้าสู่ช่วงของการกลับมาฟื้นฟูจากการทำลายของมนุษย์ หรือความถดถอยของธรรมชาติเอง แนวคิดของการเป็นส่วนหนึ่งของการรับผิดชอบต่อโลกจึงเห็นได้ชัดขึ้น สำหรับ Trend Fast Track สัปดาห์นี้จะพาทุกท่านเจาะลงไปในวงการสถาปัตยกรรมที่มีการพูดถึงความยั่งยืน และเกิดการออกแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ
เราเห็นแนวโน้มที่น่าสนใจมากมาย เช่น แนวโน้มของการออกแบบที่สอดคล้องไปกับการประหยัดพลังงาน หรือมีการดึงเอาพลังงานสะอาด (Clean Energy) มาใช้ในสถาปัตยกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือแนวโน้มของการออกแบบ และการก่อสร้างที่ลดการสิ้นเปลือง และลดปริมาณขยะให้ได้มากที่สุด (Zero Waste Concept) และแนวโน้มของการนำเอาวัสดุพื้นถิ่นมากใช้ในงานสถาปัตยกรรม (Local Material) ดึงเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วที่สามารถทดแทนได้มาใช้เพื่อลดการทำลายธรรมชาติ ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวโน้มที่เราเห็นได้จากทั่วทุกมุมโลก ลองมาดูกันว่าในแต่ละประเทศจะมีการดึงเอาแนวคิดของความยั่งยืนรูปแบบไหนมาใช้กับงานสถาปัตยกรรมบ้าง
1. Clean Energy : แนวโน้มของการออกแบบที่สอดคล้องไปกับการการประยุกต์ใช้พลังงานสะอาด
[Vietnam] MIA Design Studio covers Vietnamese home with protruding planters
credit : https://www.dezeen.com/2019/12/28/mia-design-studio-covers-vietnamese-home-with-protruding-planters/
Sky house บ้านที่มีต้นไม้และพุ่มไม้ยื่นออกมาจากช่องเปิด ในไซ่ง่อน เวียดนาม ออกแบบโดย MIA Design Studio ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ ภายใต้ความหนาแน่นของเมือง ภายในบ้านถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ครึ่งแรกถูกใช้เพื่อให้ความสำคัญกับแสงแดด ลม น้ำ และต้นไม้ ในขณะที่อีกครึ่งถูกออกแบบสำหรับกิจกรรมครอบครัวด้วย ด้วย Function การใช้งานที่เรียบง่าย ห้องครัว ห้องนั่งเล่น และห้องทานข้าวตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของชั้นหนึ่ง อยู่ด้านข้างสระน้ำและสวนขนาดเล็ก และสามารถมองเห็นพื้นที่ Void ด้านบนที่ตัดเต็มความสูงของบ้าน ห้องนอนและสวนอยู่บริเวณชั้นบนซึ่งสามารถมองลงมาเห็นห้องนั่งเล่นด้านล่างผ่านช่องเปิดสี่เหลี่ยมที่เปิดโล่งให้ลมธรรมชาติผ่านได้ ในบางพื้นที่มีการตัดแผ่นพื้นเพื่อให้ต้นไม้สามารถโตสูงผ่านสองชั้น ทั้งนี้เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่เพื่อให้ธรรมชาติสามารถแทรกอยู่ในทุกมุมของพื้นที่การใช้ชีวิต นอกจากนี้บริเวณดาดฟ้ายังมีพื้นที่พื้นที่ส่วนที่ช่วยสร้างความสงบและตัดขาดจากพื้นที่เมืองด้านนอก
[Japan] kugenuma-y house in japan
credit : https://www.designboom.com/architecture/kaniue-architects-steel-ramp-kugenuma-y-house-japan-12-03-2019/
สถาปนิก kaniue ได้สร้างบ้าน kugenuma-y ใกล้ทะเลใน shonan prefacture คานางาวะประเทศญี่ปุ่นเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 15 เมตรพร้อมทางลาดเหล็กชุบสังกะสี ตัวไม่มีแม้แต่ลิฟต์และบันได แต่มีทางลาดที่มีความยาว 150 เมตร นั้นถูกใช้โดยผู้อยู่อาศัยเพื่อปีนขึ้นไปทั้ง 15 เมตรในขณะที่มันช่วยให้พวกเขามองเข้าไปในทุกมุมของอาคาร แบบเดียวกันทางลาดสามารถเป็นโครงนั่งร้านที่ช่วยให้การบำรุงรักษาหรือการตกแต่งอาคารนั้นง่ายกว่าเดิม
สถาปนิกออกแบบตามความต้องการของลูกค้าที่ต้องการสิ่งก่อสร้างริมทะเลที่สูง 15 เมตร และสามารถปีนขึ้นไปได้เพื่อรับลมทะเล โปร่งโล่ง เลยใช้ทางลาดเหล็กแบบอย่างดี และสถาปนิกเลือกใช้คอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อความแข็งแกร่งและสามารถตั้งอยู่ริมทะเลได้ เป็นสไตล์ Loft
ซึ่งทางลาดที่สร้างไว้รอบอาคาร สามารถทำให้ผู้อยู่อาศัยเข้าถึงได้ทุกชั้น เป็นการเชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอกได้ ดึงเอาแสง และลมจากธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี
2. Zero Waste Concept : แนวโน้มการออกแบบที่ลดการสิ้นเปลือง และลดปริมาณขยะให้มากที่สุด
[Mexico] Mexico builds world’s first 3D-printed community houses
credit : https://www.bizcommunity.com/Article/139/640/199342.html
New Story องค์กรไม่แสวงหากำไรร่วมกับบริษัทด้านเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ชื่อว่า ICON ในการบุกเบิกนวัตกรรมการสร้างบ้านจาก 3ds Printing เพื่อทำให้การสร้างบ้านนั้นเร็วขึ้น กันความร้อน ใช้วัสดุน้อยลงและไม่เหลือทิ้ง (Zero Waste) เพื่อแก้ปัญหาคนไร้บ้าน โดยโครงการแรกตั้งอยู่ที่ประเทศเม็กซิโก คนไร้บ้านในเม็กซิโกส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ขาดแคลนอาหาร ไม่มั่นคง และไม่ปลอดภัย ก่อสร้างทั้งหมดจำนวน 50 หลัง ขนาดบ้านอยู่ที่ 46.45 ตรม. 2 ห้องนอน 1 ห้องนั่งเล่น 1 ห้องครัว และ 1 ห้องน้ำ ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา เพราะยังเจอปัญหาเรื่องของความชื้นที่ซึมเข้ามาในตัวบ้าน ซึ่งเป็นสามารถให้ผู้อยู่อาศัยป่วยง่ายขึ้น
3. Local Material : แนวโน้มของการนำเอาวัสดุพื้นถิ่นมากใช้ในงานสถาปัตยกรรม
[Indonesia] Ramboll uses bamboo to build earthquake-resistant housing in Indonesia
credit : https://www.dezeen.com/2019/12/31/bamboo-template-houses-ramboll-earthquake-indonesia/
Ramboll บริษัทวิศวะกรรมโยธาใช้ไม้ไผ่สร้างทำงานร่วมกับบริษัทออกแบบในพื้นที่ต้นแบบที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับเเผ่นดินไหว ซึ่งวัสดุเกือบทั้งหมดทำมาจากไม้ไผ่ ใช้ชื่อว่า “Template House” มาตรฐานโครงสร้างไม้ไผ่ออกแบบโดย Ramboll ร่วมกับหน่วยงานการกุศลในพื้นที่ เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน Lombok ปี 2018 Template House สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ และยังมีความยั่งยืนและก่อสร้างได้ง่าย ต่างจากโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเดิมๆ ที่ต้องอาศัยความรู้เฉพาะทาง และไม่ทนแผ่นดินไหว โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด Bamboo Circular Economy ซึ่งไม้ไผ่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายเพราะขึ้นได้ตามธรรมชาติทั่วอินโดนีเซีย และโตเร็วภายใน 5 ปี ภายในบ้านมี 2 ห้องนอนอยู่ชั้นบน ชั้นล่างเปิดโล่งเพื่อรับลม และมีพื้นที่สำหรับจอดรถ ในอีกด้านเป็นพื้นที่ Living Area ที่ตั้งใจให้เป็น Beruga พื้นที่ Outdoor สำหรับใช้ทานข้าวและทำงาน ต้นแบบนี้จะถูกถ่ายทอดให้กับชุมชนเอาไว้ใช้ในกรณีที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว
[Uganda] Solar panels form canopy over surgical facility in Uganda
credit : https://www.dezeen.com/2020/01/02/mount-sinai-kyabirwa-surgical-facility-kliment-halsband-architects-uganda/
The Mount Sinai Kyabirwa สถานพยาบาลเพื่อการศัลยกรรมในอุกันดาออกแบบโดย Kliment Halsband Architects เลือกใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นในการก่อสร้าง และใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์เพื่อความยั่งยืนทางการเข้าถึงพลังงานในพื้นที่ที่ห่างไกล โดยอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างนั้นใช้ดินจากพื้นที่บริเวณไซต์ก่อสร้าง เป็นการช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น สถาปนิกผู้ออกแบบเปรียบแผงโซลาเซลล์นี้เป็นเหมือนต้นกล้วยที่จะคอยดูดพลังงานแสงอาทิตย์มาป้อนลำต้นและให้ร่มเงากับตัวอาคาร หากระบบพลังงานหลักของอาคารล่ม อาคารจะยังสามารถมีพลังงานให้ใช้ต่อไปได้ถึง 2 วัน
🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launchออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์
#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch#TrendFastTrack2019 #WisdomDrivetheFuture