ท่ามกลางปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ปัญหาด้านขยะก็เป็นหนึ่งปัญหาที่มีความสำคัญและการแก้ไขก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ขยะมูลฝอยมีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและมีบางส่วนนำไปรีไซเคิล นั่นหมายความว่า ขยะอีกร้อยละ 70ที่เหลือถูกทิ้งเทกองเป็นภูเขาขยะที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปีจากสถิติ ซึ่งธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่า ปริมาณขยะของโลกจะเพิ่มขึ้นจากจากปัจจุบันถึงร้อยละ 70 หรือ 3,400 ล้านตัน ภายในปีพ.ศ. 2593 หรืออีก 30 ปีข้างหน้าหากยังมีปริมาณการบริโภคที่สูงดังเช่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกและการขยายตัวของเมือง (Urbanization) แม้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน จะออกมารณรงค์และช่วยกันลดการใช้ ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็ยังเหลือปริมาณขยะหลายล้านตันที่รอกำจัด ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ทำให้มีแนวคิดการนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นำมาสู่ไอเดียการพัฒนานวัตกรรมอัพไซคลิ่ง (Upcycling) ที่คิดค้นหาวิธีการที่ขยะแปรรูปให้เป็นวัสดุใหม่ที่สามารถนำมาใช้ได้ในรูปแบบใหม่ๆโดยไม่สร้างขยะกลับคืนสู่วงจรขยะอีกครั้งและสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้
สำหรับ Trend Fast Track สัปดาห์นี้จะพาทุกท่านเจาะลงไปในวงการวัสดุที่นำนวัตกรรมอัพไซคลิ่งมาออกแบบสร้างสรรค์และการคิดค้นนวัตกรรมหใม่ๆ และสร้าง Solution เพื่อการแก้ปัญหาให้กับโลกใบนี้ จะมี case Study ที่น่าสนใจอะไรบ้างลองไปดูกันครับ
1. Solar panels made from food waste win inaugural James Dyson Sustainability Award
การใช้แผงโซลาร์เซลล์ คืออีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาด อย่างไรก็ตาม มันจะไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้หากปราศจากแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะวันฝนตกมีเมฆมาก นั่นทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างแผงโซลาร์เซลล์ ที่สามารถผลิตพลังงานได้แม้ในที่ที่มีแสงน้อย Carvey Ehren Maigue ได้ประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่จากเศษผักเหลือทิ้งซึ่งสามารถดูดรังสียูวีเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีชื่อว่า AuREUS สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้แม้พื้นที่นั้นจะมีแต่เมฆฝน เพราะแผงโซลาร์เซลล์นี้ดูดซับรังสี UV แทนที่จะเป็นแสงแดดที่ตามองเห็นได้แต่จะดูดซับแสงที่มองไม่เห็นผ่านก้อนเมฆ หรือจากรังสียูวี ที่สะท้อนออกมาจากตึก ถนน และกำแพงรอบข้าง เช่นรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีแกมมาแทน ซึ่งต่างจากแผงโซลาร์เซลล์แบบเดิม การทดสอบในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า “Aereus” สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 50 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด เมื่อเทียบกับ 15-22 เปอร์เซ็นต์ที่แผงโซลาร์มาตรฐานทั่วไปผลิตออกมา ซึ่งแสงที่เข้ามาพวกนี้จะถูกจับ และแปลงเป็นไฟฟ้าด้วย เซลล์โฟโตวอลเทอิก (Photovoltaic) เช่นเดียวกับที่พบในแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป และจะสามารถจัดเก็บเป็นพลังงาน หรือใช้ได้ทันทีด้วยความช่วยเหลือของแผงวงจรควบคุมไฟฟ้า AuReus มีชื่อมาจาก ออโรร่าโบเรียลิส หรือ แสงเหนือนั่นเอง ซึ่งแสงเหนือมีอนุภาคเรืองแสงในชั้นบรรยากาศ ที่จะดูดซับอนุภาคพลังงานสูงเช่นรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีแกมมาก่อนที่จะสลายตัวและส่งกลับมาเป็นแสงที่มองเห็นได้ ซึ่ง AuReus ก็เป็นเช่นเดียวกัน เพียงแต่ใช้อนุภาคเรืองแสงที่ได้จากพืชผลทางการเกษตรที่เหลือทิ้ง โดยการดึงอนุภาคเรืองแสงออกจากผัก และผลไม้บางชนิด ผ่านกระบวนการบด และสกัดน้ำผลไม้ก่อนจะนำมากรองกลั่นหรือแช่ ก่อนที่จะนำมาผสมให้เข้ากันกับเรซิน พิมพ์ขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะมีความทนทาน โปร่งแสง และสามารถขึ้นรูปเป็นหลายรูปร่างหลายสี ทำให้สามารถเป็นทั้งวัสดุตกแต่งอาคาร และกรองรังสียูวี ที่จะเข้าตัวอาคารได้ในเวลาเดียวกัน ไอเดียนี้มาจากการที่ผลผลิตของฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศที่รุนแรง ทำให้เกษตรกรสูญเสียผลผลิตไปมากจากสถานการณ์นี้ เขาเลยคิดว่าแทนที่จะปล่อยให้พืชผลเน่า ทำไมไม่นำมันมาใช้ประโยชน์ และหลังจากทดสอบพืชในท้องถิ่นเกือบ 80 ชนิด คาร์วี่พบว่ามีพืช 9 ชนิดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการใช้งานในระยะยาว ทั้งยังใช้ประโยชน์จากแหล่งขยะที่ไม่ได้ใช้ และช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากผลผลิตที่สูญเสียไป ซึ่งจากผลงานนี้ทำให้เค้าได้รับรางวัล James Dyson Awards ผู้ชนะเลิศด้านความยั่งยืนระดับโลกคนแรก
2. Is It Possible To Turn Plastic Waste Into Affordable Housing?
ตั้งแต่ปี 1950 โลกเราสร้างขยะกว่า 9,000 ล้านตัน มีเพียง 9% ที่ถูกนำไป Recycle, ในอีกด้านปัญหา Homeless เป็นปัญหาใหญ่ 1,600 ล้าน คนทั่วโลกไม่มีที่พักอาศัยที่เพียงพอ โดยเฉพาะใน Sub- Saharan Africa มีความต้องการที่พักอาศัยราคาถูกกว่า 160 ล้านยูนิต UN-Habitat ร่วมกับ Startup สัญชาติ Norway “Othalo” เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องด้วยการใช้เทคโนโลยีสร้างระบบสร้างบ้านโดยใช้พลาสติกรีไซเคิล ซึ่งอาจะนำไปใช้ทำบ้าน ศูนย์ผู้อพยพ โรงเรียน โรงพยาบาล ที่พักเหล่านี้เข้าถึงได้ง่าย ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้มาตรฐานการออกแบบ มีความยืดหยุ่นสามารถปรับได้หลากหลายรูปแบบ
Credit : https://www.archdaily.com/950213/is-it-possible-to-turn-plastic-waste-into-affordable-housing
3. Honest พัฒนาวัสดุก่อสร้างรีไซเคิลที่ทำจากเส้นใยเซลลูโลสจากเศษกระดาษ
Honest บริษัทสตาร์ทอัพในบาร์เซโลนา ได้พัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนเพื่อทดแทนไม้กระดาน ด้วยเส้นใยเซลลูโลซึ่งมาจากกระบวนการผลิตกระดาษที่ในแต่ละปีเส้นใยเหล่านี้ประมาณ 7 ล้านตันจะถูกส่งไปฝังกลบหรือเผาให้กลายเป็นขยะอย่างไร้ค่า แต่พวกเขามองเห็นว่าพวกมันยังมีประโยชน์ ไม่ใช่เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่ได้ ด้วยกระบวนการที่ Honext พัฒนาขึ้น เส้นใยเหล่านั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นไม้กระดานที่เหมาะสำหรับการเป็นวัสดุปิดผิว ใช้วิธีการบำบัดด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เส้นใย โดยเฉพาะที่มีความยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร เชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องใช้เรซิน แต่ใช้ส่วนผสมแค่ 3 อย่าง คือ เส้นใย น้ำ และเอนไซม์ โดยความแข็งแรงของแผ่นกระดานจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของเส้นใยที่ใส่ลงไป หลังจากนั้นจะใส่สารเติมแต่งที่ปลอดสารพิษเพื่อเพิ่มความทนทานต่อรังสียูวี และถูกบีบอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น ก่อนจะผ่านอุโมงค์อบแห้ง ไม้กระดานที่ได้จะปราศจากการปล่อยมลพิษ ซึ่งแตกต่างจากวัสดุที่คล้ายกันเช่น MDF หรือ drywall และยังมีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น ดูดซับเสียงได้ดีกว่าอีกด้วย เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน วัสดุนั้นจะถูกดึงกลับเข้าไปรีไซเคิลเพื่อสร้างไม้กระดานแผ่นใหม่ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ Honext ยังพัฒนาให้กระบวนการผลิตนี้มีคาร์บอนเป็นกลาง เพราะผลิตโดยใช้ก๊าซ และไฟฟ้าที่ได้จากการย่อยของเสียในเมือง Vacarisses อีกด้วย
Credit : https://www.dezeen.com/2020/11/26/honext-recyclable-construction-material-cellulose-paper/
4. Major fashion houses will sell products made from mushroom leather by next year
Mylo คือวัสดุหนังที่ปลูกจากเห็ดแต่ได้ผิวสัมผัส รูปลักษณ์ และความรู้สึกแบบเดียวกับหนังสัตว์เป็นผลงานการพัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐ Bolt Threads ซึ่งตัววัสดุซึ่งมีการนำเอาส่วนที่เรียกว่า ไมซีเลียม (Mycelium) หรือกลุ่มเส้นใยที่พบในรากที่อยู่ใต้ดินของเห็ดมาใช้ โดยทางบริษัทจะทำการเพาะเซลล์ของไมซีเลียมในแปลงพร้อมด้วยการใช้ต้นข้าวโพดที่เพิ่มสารอาหารลงไป ผลที่ได้ก็คือการเจริญเติบโตของเซลล์นับพันล้านที่ผสานตัวเข้าด้วยกันซึ่งทางทีมงานจะนำมาผ่านกระบวนการตาก ทำสีและบีบอัดตามขนาดหนาบางที่ต้องการ และด้วยขั้นตอนเหล่านี้ก็สามารถที่จะหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ ทำให้ Mylo สร้างความรู้สึกและสีสันที่ไม่ต่างจากกระเป๋าหนังทั่วๆ ไปเลยทีเดียว ทั้งยังมีผิวสัมผัสที่อ่อนนุ่มและมีความแข็งแรงพร้อมสำหรับการใช้งานได้ในชีวิตประจำวันและยังช่วยย่นระยะเวลาในการผลิต เพราะการเพาะไมซีเลียมนั้นใช้เวลาไม่กี่วัน รวมไปถึงยังช่วยลดการใช้หนังจากสัตว์ สารเคมีที่ใช้ในการทำหนังเทียม ภาวะโลกร้อนและขยะจากการใช้วัสดุได้ดีทีเดียว และตอนนี้ Adidas, Kering, Lululemon และ Stella McCartney ได้รับสิทธิ์พิเศษในการใช้หนังสัตว์เทียมจากเห็ด Mylo ที่แสดงความต้องการใช้ Mylo เป็นวัสดุในการผลิตผลิตภัณฑ์แทนการใช้หนังสัตว์หรือหนังสังเคราะห์ที่ทำจากพลาสติก และสามารถตกแต่งลายนูนหรือตกแต่งสีทำให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับแบรนด์แฟชั่น เพราะในปัจจุบันมาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ได้มีการจัดหมวดหมู่ของหนังสัตว์เทียมว่าเป็นวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ วิธีแก้ไขปัญหานี้คือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ด้วยโซลูชัน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์แบบอย่างที่ Mylo ได้ทำ
Credit : https://www.dezeen.com/2020/10/08/mylo-consortium-adidas-stella-mccartney-lululemon-kering-mycelium/
5. Seaweed as Cladding: Combining Old Traditions With New Tech
Kathryn Larsen เป็นนักออกแบบที่ทำงานกับสาหร่ายทะเล ตลอดอาชีพการงานของเธอเธอได้ทำการสืบสวนอย่างเข้มข้นเกี่ยวกับหญ้าปลาไหลซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้กันมาหลายศตวรรษทั่วโลก Larsen ต้องการใช้ประโยชน์ทั้งหมดของวัสดุนี้ (ความต้านทานการเน่าทนไฟไม่เป็นพิษลักษณะของฉนวนที่เทียบได้กับขนแร่และความสามารถในการสร้างอาคารคาร์บอนลบ) ในการพัฒนาสำเร็จรูปและเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ช่วยให้สามารถสร้างวัสดุหุ้มใหม่ได้ และองค์ประกอบอื่น ๆ เช่นฉนวนกันความร้อนและแผงอะคูสติก
Credit : https://kathrynlarsen.com/seaweed-thatch-reimagined
จาก Case Study ที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะพบว่านอกจากการให้ชีวิตใหม่กับของเหลือทิ้งโดยการแปรรูปให้เป็นวัสดุแล้วนั้น ความน่าสนใจคือการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุนอกจากจะเกิดคงทน แข็งแรง แต่ยังแฝงด้วยการสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังพบว่าแนวคิดต่างๆ ก็นำมาสู่การแก้ Painpoint บางอย่างให้เกิดประโยชน์ต่อโลกใบนี้ด้วยเช่นกันซึ่งทำให้เพิ่มมูลค่าวัสดุให้แพงขึ้นด้วย ซึ่งไอเดียทั้งหมดน่าจะช่วยจุดประกายและสร้างความตื่นตัวให้กับสังคม เราจึงหวังว่าผู้ประกอบการจะหันมาสนใจใช้วัสดุแนวนี้กันมากขึ้น
🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launchออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์
#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch#TrendFastTrack2020 #WisdomDrivetheFuture