TrendFastTrack_MaterialTrend

TREND FAST TRACK :
 MATERIAL TREND From Waste to Wealth เปลี่ยนวัตถุดิบที่ไร้คุณค่าให้กลายเป็นวัสดุที่ทรงคุณค่า

ท่ามกลางปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ปัญหาด้านขยะก็เป็นหนึ่งปัญหาที่มีความสำคัญและการแก้ไขก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ขยะมูลฝอยมีเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและมีบางส่วนนำไปรีไซเคิล นั่นหมายความว่า ขยะอีกร้อยละ 70ที่เหลือถูกทิ้งเทกองเป็นภูเขาขยะที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปีจากสถิติ ซึ่งธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่า ปริมาณขยะของโลกจะเพิ่มขึ้นจากจากปัจจุบันถึงร้อยละ 70 หรือ 3,400 ล้านตัน ภายในปีพ.. 2593 หรืออีก 30 ปีข้างหน้าหากยังมีปริมาณการบริโภคที่สูงดังเช่นปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกและการขยายตัวของเมือง (Urbanization) แม้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน จะออกมารณรงค์และช่วยกันลดการใช้ ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็ยังเหลือปริมาณขยะหลายล้านตันที่รอกำจัด ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ทำให้มีแนวคิดการนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นำมาสู่ไอเดียการพัฒนานวัตกรรมอัพไซคลิ่ง (Upcycling) ที่คิดค้นหาวิธีการที่ขยะแปรรูปให้เป็นวัสดุใหม่ที่สามารถนำมาใช้ได้ในรูปแบบใหม่ๆโดยไม่สร้างขยะกลับคืนสู่วงจรขยะอีกครั้งและสร้างความยั่งยืนให้กับโลกใบนี้

สำหรับ Trend Fast Track สัปดาห์นี้จะพาทุกท่านเจาะลงไปในวงการวัสดุที่นำนวัตกรรมอัพไซคลิ่งมาออกแบบสร้างสรรค์และการคิดค้นนวัตกรรมหใม่ๆ และสร้าง Solution เพื่อการแก้ปัญหาให้กับโลกใบนี้ จะมี case Study ที่น่าสนใจอะไรบ้างลองไปดูกันครับ

1. Solar panels made from food waste win inaugural James Dyson Sustainability Award

AuReus UV-powered solar panels win James Dyson's Sustainability Award

การใช้แผงโซลาร์เซลล์ คืออีกหนึ่งทางเลือกของพลังงานสะอาด อย่างไรก็ตาม มันจะไม่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้หากปราศจากแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะวันฝนตกมีเมฆมาก นั่นทำให้เกิดแนวคิดในการสร้างแผงโซลาร์เซลล์ ที่สามารถผลิตพลังงานได้แม้ในที่ที่มีแสงน้อย Carvey Ehren Maigue ได้ประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่จากเศษผักเหลือทิ้งซึ่งสามารถดูดรังสียูวีเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีชื่อว่า AuREUS สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้แม้พื้นที่นั้นจะมีแต่เมฆฝน เพราะแผงโซลาร์เซลล์นี้ดูดซับรังสี UV แทนที่จะเป็นแสงแดดที่ตามองเห็นได้แต่จะดูดซับแสงที่มองไม่เห็นผ่านก้อนเมฆ หรือจากรังสียูวี ที่สะท้อนออกมาจากตึก ถนน และกำแพงรอบข้าง เช่นรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีแกมมาแทน ซึ่งต่างจากแผงโซลาร์เซลล์แบบเดิม การทดสอบในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า “Aereus” สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 50 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด เมื่อเทียบกับ 15-22 เปอร์เซ็นต์ที่แผงโซลาร์มาตรฐานทั่วไปผลิตออกมา ซึ่งแสงที่เข้ามาพวกนี้จะถูกจับ และแปลงเป็นไฟฟ้าด้วย เซลล์โฟโตวอลเทอิก (Photovoltaic) เช่นเดียวกับที่พบในแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไป และจะสามารถจัดเก็บเป็นพลังงาน หรือใช้ได้ทันทีด้วยความช่วยเหลือของแผงวงจรควบคุมไฟฟ้า AuReus มีชื่อมาจาก ออโรร่าโบเรียลิส หรือ แสงเหนือนั่นเอง ซึ่งแสงเหนือมีอนุภาคเรืองแสงในชั้นบรรยากาศ ที่จะดูดซับอนุภาคพลังงานสูงเช่นรังสีอัลตราไวโอเลตหรือรังสีแกมมาก่อนที่จะสลายตัวและส่งกลับมาเป็นแสงที่มองเห็นได้ ซึ่ง AuReus ก็เป็นเช่นเดียวกัน เพียงแต่ใช้อนุภาคเรืองแสงที่ได้จากพืชผลทางการเกษตรที่เหลือทิ้ง โดยการดึงอนุภาคเรืองแสงออกจากผัก และผลไม้บางชนิด ผ่านกระบวนการบด และสกัดน้ำผลไม้ก่อนจะนำมากรองกลั่นหรือแช่ ก่อนที่จะนำมาผสมให้เข้ากันกับเรซิน พิมพ์ขึ้นรูป ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะมีความทนทาน โปร่งแสง และสามารถขึ้นรูปเป็นหลายรูปร่างหลายสี ทำให้สามารถเป็นทั้งวัสดุตกแต่งอาคาร และกรองรังสียูวี ที่จะเข้าตัวอาคารได้ในเวลาเดียวกัน ไอเดียนี้มาจากการที่ผลผลิตของฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศที่รุนแรง ทำให้เกษตรกรสูญเสียผลผลิตไปมากจากสถานการณ์นี้ เขาเลยคิดว่าแทนที่จะปล่อยให้พืชผลเน่า ทำไมไม่นำมันมาใช้ประโยชน์ และหลังจากทดสอบพืชในท้องถิ่นเกือบ 80 ชนิด คาร์วี่พบว่ามีพืช 9 ชนิดที่มีศักยภาพสูงสำหรับการใช้งานในระยะยาว ทั้งยังใช้ประโยชน์จากแหล่งขยะที่ไม่ได้ใช้ และช่วยให้เกษตรกรสามารถสร้างรายได้จากผลผลิตที่สูญเสียไป ซึ่งจากผลงานนี้ทำให้เค้าได้รับรางวัล James Dyson Awards ผู้ชนะเลิศด้านความยั่งยืนระดับโลกคนแรก

Credit : https://www.dezeen.com/2020/11/27/aureus-carvey-ehren-maigue-james-dyson-awards-sustainability/?fbclid=IwAR38T1OQa0ovrry1uIQvXruC_vkMjx4tSRx9uU_HzMVcFwajGdYzDdCaO7M

2. Is It Possible To Turn Plastic Waste Into Affordable Housing?

Is It Possible To Turn Plastic Waste Into Affordable Housing?,Courtesy of Othaloตั้งแต่ปี 1950 โลกเราสร้างขยะกว่า 9,000 ล้านตัน มีเพียง 9% ที่ถูกนำไป Recycle, ในอีกด้านปัญหา Homeless เป็นปัญหาใหญ่ 1,600 ล้าน คนทั่วโลกไม่มีที่พักอาศัยที่เพียงพอ โดยเฉพาะใน Sub- Saharan Africa มีความต้องการที่พักอาศัยราคาถูกกว่า 160 ล้านยูนิต UN-Habitat ร่วมกับ Startup สัญชาติ Norway “Othalo” เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องด้วยการใช้เทคโนโลยีสร้างระบบสร้างบ้านโดยใช้พลาสติกรีไซเคิล ซึ่งอาจะนำไปใช้ทำบ้าน ศูนย์ผู้อพยพ โรงเรียน โรงพยาบาล ที่พักเหล่านี้เข้าถึงได้ง่าย ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้มาตรฐานการออกแบบ มีความยืดหยุ่นสามารถปรับได้หลากหลายรูปแบบ

Credit : https://www.archdaily.com/950213/is-it-possible-to-turn-plastic-waste-into-affordable-housing

3. Honest พัฒนาวัสดุก่อสร้างรีไซเคิลที่ทำจากเส้นใยเซลลูโลสจากเศษกระดาษ

Honext's construction board material is made of cellulose fibres from waste paper

Honest บริษัทสตาร์ทอัพในบาร์เซโลนา ได้พัฒนาวัสดุที่ยั่งยืนเพื่อทดแทนไม้กระดาน ด้วยเส้นใยเซลลูโลซึ่งมาจากกระบวนการผลิตกระดาษที่ในแต่ละปีเส้นใยเหล่านี้ประมาณ 7 ล้านตันจะถูกส่งไปฝังกลบหรือเผาให้กลายเป็นขยะอย่างไร้ค่า แต่พวกเขามองเห็นว่าพวกมันยังมีประโยชน์ ไม่ใช่เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่ได้ ด้วยกระบวนการที่ Honext พัฒนาขึ้น เส้นใยเหล่านั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นไม้กระดานที่เหมาะสำหรับการเป็นวัสดุปิดผิว ใช้วิธีการบำบัดด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เส้นใย โดยเฉพาะที่มีความยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร เชื่อมต่อกันได้โดยไม่ต้องใช้เรซิน แต่ใช้ส่วนผสมแค่ 3 อย่าง คือ เส้นใย น้ำ และเอนไซม์ โดยความแข็งแรงของแผ่นกระดานจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของเส้นใยที่ใส่ลงไป หลังจากนั้นจะใส่สารเติมแต่งที่ปลอดสารพิษเพื่อเพิ่มความทนทานต่อรังสียูวี และถูกบีบอัดขึ้นรูปเป็นแผ่น ก่อนจะผ่านอุโมงค์อบแห้ง ไม้กระดานที่ได้จะปราศจากการปล่อยมลพิษ ซึ่งแตกต่างจากวัสดุที่คล้ายกันเช่น MDF หรือ drywall และยังมีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น ดูดซับเสียงได้ดีกว่าอีกด้วย เมื่อสิ้นอายุการใช้งาน วัสดุนั้นจะถูกดึงกลับเข้าไปรีไซเคิลเพื่อสร้างไม้กระดานแผ่นใหม่ได้อีกครั้ง นอกจากนี้ Honext ยังพัฒนาให้กระบวนการผลิตนี้มีคาร์บอนเป็นกลาง เพราะผลิตโดยใช้ก๊าซ และไฟฟ้าที่ได้จากการย่อยของเสียในเมือง Vacarisses อีกด้วย

Credit : https://www.dezeen.com/2020/11/26/honext-recyclable-construction-material-cellulose-paper/

4. Major fashion houses will sell products made from mushroom leather by next year

Adidas, Stella McCartney Lululemon and Kering to sell Mylo mushroom leather by next yearAdidas, Stella McCartney Lululemon and Kering to sell mushroom leather by next year Adidas, Stella McCartney Lululemon and Kering to sell Mylo mushroom leather by next year Adidas, Stella McCartney Lululemon and Kering to sell Mylo mushroom leather by next year

Mylo คือวัสดุหนังที่ปลูกจากเห็ดแต่ได้ผิวสัมผัส รูปลักษณ์ และความรู้สึกแบบเดียวกับหนังสัตว์เป็นผลงานการพัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐ Bolt Threads ซึ่งตัววัสดุซึ่งมีการนำเอาส่วนที่เรียกว่า ไมซีเลียม (Mycelium) หรือกลุ่มเส้นใยที่พบในรากที่อยู่ใต้ดินของเห็ดมาใช้ โดยทางบริษัทจะทำการเพาะเซลล์ของไมซีเลียมในแปลงพร้อมด้วยการใช้ต้นข้าวโพดที่เพิ่มสารอาหารลงไป ผลที่ได้ก็คือการเจริญเติบโตของเซลล์นับพันล้านที่ผสานตัวเข้าด้วยกันซึ่งทางทีมงานจะนำมาผ่านกระบวนการตาก ทำสีและบีบอัดตามขนาดหนาบางที่ต้องการ และด้วยขั้นตอนเหล่านี้ก็สามารถที่จะหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ ทำให้ Mylo สร้างความรู้สึกและสีสันที่ไม่ต่างจากกระเป๋าหนังทั่วๆ ไปเลยทีเดียว ทั้งยังมีผิวสัมผัสที่อ่อนนุ่มและมีความแข็งแรงพร้อมสำหรับการใช้งานได้ในชีวิตประจำวันและยังช่วยย่นระยะเวลาในการผลิต เพราะการเพาะไมซีเลียมนั้นใช้เวลาไม่กี่วัน รวมไปถึงยังช่วยลดการใช้หนังจากสัตว์ สารเคมีที่ใช้ในการทำหนังเทียม ภาวะโลกร้อนและขยะจากการใช้วัสดุได้ดีทีเดียว และตอนนี้ Adidas, Kering, Lululemon และ Stella McCartney ได้รับสิทธิ์พิเศษในการใช้หนังสัตว์เทียมจากเห็ด Mylo ที่แสดงความต้องการใช้ Mylo เป็นวัสดุในการผลิตผลิตภัณฑ์แทนการใช้หนังสัตว์หรือหนังสังเคราะห์ที่ทำจากพลาสติก และสามารถตกแต่งลายนูนหรือตกแต่งสีทำให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับแบรนด์แฟชั่น เพราะในปัจจุบันมาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ได้มีการจัดหมวดหมู่ของหนังสัตว์เทียมว่าเป็นวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ วิธีแก้ไขปัญหานี้คือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ด้วยโซลูชัน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้สมบูรณ์แบบอย่างที่ Mylo ได้ทำ

Credit : https://www.dezeen.com/2020/10/08/mylo-consortium-adidas-stella-mccartney-lululemon-kering-mycelium/

5. Seaweed as Cladding: Combining Old Traditions With New Tech

1.jpg

Kathryn Larsen เป็นนักออกแบบที่ทำงานกับสาหร่ายทะเล ตลอดอาชีพการงานของเธอเธอได้ทำการสืบสวนอย่างเข้มข้นเกี่ยวกับหญ้าปลาไหลซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้กันมาหลายศตวรรษทั่วโลก Larsen ต้องการใช้ประโยชน์ทั้งหมดของวัสดุนี้ (ความต้านทานการเน่าทนไฟไม่เป็นพิษลักษณะของฉนวนที่เทียบได้กับขนแร่และความสามารถในการสร้างอาคารคาร์บอนลบ) ในการพัฒนาสำเร็จรูปและเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ช่วยให้สามารถสร้างวัสดุหุ้มใหม่ได้ และองค์ประกอบอื่น ๆ เช่นฉนวนกันความร้อนและแผงอะคูสติก

Credit : https://kathrynlarsen.com/seaweed-thatch-reimagined

จาก Case Study  ที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะพบว่านอกจากการให้ชีวิตใหม่กับของเหลือทิ้งโดยการแปรรูปให้เป็นวัสดุแล้วนั้น ความน่าสนใจคือการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุนอกจากจะเกิดคงทน แข็งแรง แต่ยังแฝงด้วยการสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังพบว่าแนวคิดต่างๆ ก็นำมาสู่การแก้ Painpoint บางอย่างให้เกิดประโยชน์ต่อโลกใบนี้ด้วยเช่นกันซึ่งทำให้เพิ่มมูลค่าวัสดุให้แพงขึ้นด้วย ซึ่งไอเดียทั้งหมดน่าจะช่วยจุดประกายและสร้างความตื่นตัวให้กับสังคม เราจึงหวังว่าผู้ประกอบการจะหันมาสนใจใช้วัสดุแนวนี้กันมากขึ้น


🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launchออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์

#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch#TrendFastTrack2020 #WisdomDrivetheFuture