Trend Fast Track : “The Utopia Mindset” The Tomorrow Ethic เมื่อแนวคิดการลงมือทำเพื่อทำให้โลกดีขึ้น เป็นจริยธรรมของวันพรุ่งนี้

“The Utopia Mindset” The Tomorrow Ethic เมื่อแนวคิดการลงมือทำเพื่อทำให้โลกดีขึ้น เป็นจริยธรรมของวันพรุ่งนี้

🔥 Trend Fast Track🔥 เสิร์ฟร้อนประจำสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมีนาคม 2019 ขอเสนอหัวข้อเทรนด์เรื่อง : “The Utopia Mindset” The Tomorrow Ethic เมื่อแนวคิดการลงมือทำเพื่อทำให้โลกดีขึ้นเป็นจริยธรรมของโลกในวันพรุ่งนี้ เพราะในช่วงสัปดาห์นี้เราพบเห็นว่าเริ่มมีกลุ่มคนที่เห็นความสำคัญของความยั่งยืนของสังคมและโลกกันมากขึ้น

เริ่มต้นอยากจะขออธิบายคำนี้ให้ฟังก่อนครับ
Utopia Mindset คือกลุ่มคนที่เลือกจะดำเนินชีวิตด้วยแนวคิดและกิจกรรมที่ปฏิบัติต่อสังคมเพื่ออยู่อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับโลกโลกาภิวัตน์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเสื่อมถอยทั้งด้านจิตใจและการทำร้ายสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง สร้างสังคมดีงามเป็นมิตรกับโลกการพัฒนาความเป็นอยู่อย่างยั่งยืน

ต้องพูดว่าตอนนี้กระแสที่สำคัญก็คงหนีไม่ได้กับเรื่องที่คนรุ่นใหม่ที่กล้าก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกลุ่มคนเพื่อนำเสนอจุดยืนและเรียกร้องสิ่งที่ต้องการ หรืออาจจะเรียกได้ว่าลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อความเชื่อ คุณค่า และสร้างจริยธรรมที่คิดแต่จะสร้างสิ่งที่ดีต่อโลกกันมากขึ้น ถ้าจะมองย้อนไปถึงสาเหตุก็ปฎิเสธไม่ได้ถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่เต็มไปด้วยความเสื่อมถอยทั้งด้านจิตใจและการทำร้ายสภาพแวดล้อม พูดแค่นี้อาจจะคิดว่า “ก็รู้อยู่แล้ว”

📌แต่ประเด็นสำคัญคือ คนกลุ่มนี้เริ่มรู้สึกว่ายังไม่มีใครที่ออกมาแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง หรือออกมาแก้ปัญหาเรื่องต่างๆ ได้อย่างตรงจุด ดังนั้นสิ่งที่พวกเขาต้องทำก็คือการเริ่มจากจุดเล็กๆ จากความเชื่อว่าต้องทำอะไรเพื่อให้ได้อยู่กับสิ่งที่ดียิ่งขึ้น ก่อให้เกิดจนเป็นจริยธรรมที่สร้างแรงกระตุ้น ความเชื่อว่าจะสร้างสังคมดีงามเป็นมิตรกับโลกเพื่อให้พัฒนาความเป็นอยู่ได้อย่างยั่งยืนไปสู่โลกอนาคต

📌สิ่งที่เห็นได้ชัดในช่วงเวลานี้ก็คนหนีไม่พ้นกับเรื่องของนักเรียนวัยรุ่นชาวสวีเดน ชื่อ เกรตา ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) ซึ่งโดดเรียนทุกวัน เพื่อไป “ไฮปาร์ก” ที่ด้านหน้าอาคารรัฐสภา เรียกร้องให้ผู้ใหญ่จริงจังกับการแก้ปัญหาโลกร้อน ทำให้ปลุกความสนใจในหมู่คนรุ่นเดียวกันให้สนใจกับอนาคตของโลกก่อนที่จะสายเกินการณ์ กลายเป็นขบวนการ School strike for climate ที่คาดว่าจะมีนักเรียนทั่วโลกเข้าร่วมถึง 100,000 คน อย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงสัปดาห์นี้คือคนรุ่นใหม่ในนิวซีแลนด์-ออสเตรเลีย เปิดฉากการชุมนุมทั่วโลกเรียกร้องผู้นำแก้โลกร้อน ลุกขึ้นต่อสู้เพื่ออนาคตของตัวเอง ซึ่งตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงของ Utopia Mindset ที่จะลงมือทำเพื่อสร้างจริยธรรมที่สร้างโลกให้ดีขึ้นสำหรับวันพรุ่งนี้ แล้วถ้ามุมอื่นๆ ทั่วโลกล่ะ เค้าจะมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างไรกันบ้างในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา….

กลุ่มนักเรียนนักศึกษาในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เริ่มเปิดฉากการประท้วงให้ผู้นำโลกหันมาแก้ปัญหาวิกฤตภูมิอากาศหรือปัญหาโลกร้อน ซึ่งคาดหวังว่าจะจุดชนวนให้เกิดกระแสของคนรุ่นเยาว์ทั่วโลกร่วมกันประท้วงในเรื่องนี้ ในกรุงเวลลิงตัน เมืองหลวงของนิวซีแลนด์ มีคนรุ่นเยาว์หลายพันคนเดินขบวนถือป้ายระบุว่า “เวลากำลังละลายหายไป” “ทำเสียแต่ตอนนี้หรือไม่ก็ได้ลอยน้ำ” “Change the politics. Not the climate.” and “Don’t be fossil fooled,” การประท้วงในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการที่ต้องการให้มีการประท้วง 1,000 การประท้วงในประเทศต่างๆ มากกว่า 100 ประเทศ ในช่วงเวลาที่เรียกว่าเป็นวันปฏิบัติการรอบโลก เรียกร้องให้รัฐบาลอนุรักษ์นิยมทำอะไรให้มากขึ้นในลดการใช้เชื้อเพลิงพลังงานจากซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุก่อปัญหาภูมิอากาศโลก จากจุดเริ่มต้นในสองประเทศนี้ มีการคาดหมายว่าจะมีการประท้วงในที่อื่นๆ อีกไม่ว่าจะเป็น บอสตัน โบโกตา ธากา เดอร์บัน เลกอส ไปจนถึงลอนดอน
การประท้วงเหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก เกรตา ทุนเบิร์ก นักกิจกรรมรุ่นเยาว์ชาวสวีเดนที่เคยนำการปักหลักประท้วงหน้ารัฐสภาในกรุงสต็อกโฮล์มเมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องโลกร้อน เธอบอกว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังจะมาถึงและผู้คนจะลุกขึ้นต่อสู้เพื่ออนาคตของตัวเอง
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของออสเตรเลียแสดงความกังขาว่าการประท้วงของนักเรียนเหล่านี้เป็นตัวแทนของกลุ่มคนรากหญ้าจริงหรือไม่ รวมถึงวิจารณ์ในทำนองว่านักเรียนเหล่านี้หนีเรียนเพราะถูกส่งเสริมจากนักกิจกรรมทางการเมืองสายสิ่งแวดล้อม แต่นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์จาซินดา อาร์เดิร์น กล่าวชื่นชมการประท้วงของคนรุ่นเยาว์เหล่านี้ มันเป็นเรื่องสำคัญที่คนรุ่นเยาว์ต้องการจะส่งสารถึงผู้นำแม้ว่าประเทศนิวซีแลนด์ยังคงอยู่ในช่วงที่เพิ่งผ่านโศกนาฏกรรมการกราดยิงคนในมัสยิดก็ตาม อาร์เดิร์นบอกอีกว่าพวกเขารับรู้ถึงสารของคนรุ่นเยาว์และพวกเขาก็กำลังดำเนินการไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และขอให้ผู้ประท้วงรุ่นเยาว์เรียกคนออกมาประท้วงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะรัฐบาลออสเตรเลียก็กำลังเผชิญกับปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนถึงในระดับสูงทำลายสถิติเดิม ทำให้ถูกเพ่งเล็งว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในการประชุมโลกร้อนที่กรุงปารีสเมื่อปี 2558 หรือไม่��
Credit : https://edition.cnn.com/2019/03/15/world/climate-strike-students/index.html

1.[เคนย่า] มีถึง 2 เรื่องราวที่น่าสนใจ


การประชุมสมัชชาสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดขึ้นที่กรุงไนโรบี เคนย่าเพื่อประเมินและกำหนดกฎเกณฑ์เทคโนโลยีใหม่ที่สามารถดึงคาร์บอนออกจากบรรยากาศ หรือการลดโลกร้อน ปัจจุบันมีนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นเทคโนโลยีที่สามารถดึงคาร์บอนออกมาจากชั้นบรรยากาศ และ สามารถบล็อคความร้อนจากแสงอาทิตย์เพื่อให้โลกเย็นขึ้นได้แล้ว แต่เทคโนโลยีใหม่นี้ยังต้องนำมาทดลองใช้จริงจึงต้องมีการตั้งกฏร่วมกันโดยจะมีการดีเบตเกี่ยวกับ proposal ที่ถูกเขียนขึ้นในประเทศ Switzerland โดยการเริ่มต้นคือประเทศเคนย่าและประเทศแอฟริกาอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถ้ามองภาพรวมพบว่า ปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติพุ่งสูงขึ้นถึง 92 พันล้านตันในปี 2560 ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อนจัดของโลก และเรากำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกถึง 90% หากการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2060 ตามที่คาดการณ์ไว้ตามแนวโน้มในปัจจุบันป่าไม้อีก 10 เปอร์เซ็นต์และที่อยู่อาศัยอีก 20 เปอร์เซ็นต์เช่นทุ่งหญ้าจะหายไป ดังนั้นหลายๆองค์กรรวมถึงWorldbank ที่มุ่งมั่นที่จะทำงานกับเคนยาและประเทศแอฟริกาอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะถ้าสามารถทำได้ก็น่าจะช่วยการบรรเทา และปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่อาจจะเกิดขึ้น
Credit : https://www.africanews.com/2019/03/15/experts-urge-use-of-greener-technologies-to-help-combat-climate-change/

Showcase เกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมในเคนย่า ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์จากหนังปลาลดการเหลือทิ้งจากอุตสาหรกรรม เพื่อชดเชยการใช้หนังวัวที่มีกระบวนการที่ใช้สารเคมีเยอะ

ในงานการประชุมสมัชชาสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อมที่จัดขึ้นที่กรุงไนโรบี เคนย่ายังมี Showcase เกี่ยวกับธูรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมในเคนย่า ที่น่าสนใจอยู่ด้วยคือ ผลิตภัณฑ์จากหนังปลา โดย Newton Owino ชาวเคนยาผู้สร้างผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากหนังปลายังได้แสดงผลงานของเขาที่พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการของการประชุม Owino กล่าวอีกว่า เขาเริ่มต้นธุรกิจของเขาหลังจากที่ตระหนักว่าโรงงานปลากำลังก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วยของเสีย ดังนี้จึงเกิดความคิดที่จะนำหนังปลามาใช้สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อหวังว่าจะลดการเหลือทิ้งจากอุตสาหรกรรม และชดเชยการใช้หนังวัวที่มีกระบวนการที่ใช้สารเคมีเยอะ
Credit : https://www.africanews.com/2019/03/15/experts-urge-use-of-greener-technologies-to-help-combat-climate-change/

2.[สิงค์โปร์] The Rain Vortex น้ำพุภายในอาคารที่สูงที่สุดในโลก (40 เมตร) เป็น Landmark ที่จะอยู่ใน Jewel Changi Airport ที่มีระบบกักเก็บน้ำเป็น Eco Systemก้าวไปไม่หยุดหย่อนจริง ๆ สำหรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศสิงคโปร์ โดยเฉพาะการเป็นผู้นำสนามบินที่ดีที่สุดอันดับต้น ๆ ของโลก ล่าสุดก็ได้มีการดำเนินการก่อสร้างเทอร์มินัลใหม่ของท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี (Changi Airport) โดยมีชื่อว่า Jewel Changi Airport ที่จะเนรมิตน้ำตกใหญ่ยักษ์สูงกว่า 40 เมตร สวนสวยสไตล์ทรอปิคอล Highlight ที่สำคัญคือ The Rain Vortex น้ำพุภายในอาคารที่สูงที่สุดในโลก (40 เมตร) เป็น Landmark ที่จะอยู่ใน Jewel Changi Airport ซึ่งจะกลายเป็นสถานีเชื่อมต่อของสนามบินชางงี1 ออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Moshe Safdie (เคยออกแบบ Marina Bay Sand) ซึ่งมีแผนจะเปิดในวันที่ 17 เมษายนนี้ น้ำตกนี้จะตกลงมาผ่านความสูงของอาคาร 7 ชั้น วิศวกรออกแบบระบบโครงสร้างกระจกและเหล็กรูปทรง bagel ที่จะมีช่วงพาดกว้างถึง 200 เมตรในจุดที่กว้างที่สุด ภายในอาคารจะเป็นป่าที่มีระบบควบคุมภูมิอากาศภายในอาคาร สิงคโปร์ต้องเจอกับพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บ่อยครั้ง Rain Vortex จึงสามารถเก็บน้ำได้ในอัตรา 10,000 แกลลอนต่อนาที กระแสน้ำที่ไหลลงมานี้จะช่วยทำให้อากาศภายในโดมเย็นขึ้น และน้ำที่ตกสู่ด้านล่างจะสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้ง 

Credit : https://www.dezeen.com/2019/03/12/moshe-safdie-worlds-tallest-indoor-waterfall-changi-airport/

3.[ไอวอรีโคสต์] Mon Choco’s factory ธุรกิจ SME ด้านการผลิตช็อคโกแล็ต ใช้จักรยานในการบดเมล็ดโกโก้ออกแกนิคของแบรนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานจากเครื่องจักร

Mon Choco’s factory ธุรกิจ SME ด้านการผลิตช็อคโกแล็ตได้ผลิตช็อคโกแลตแท่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ซึ่ง Dana Mroueh คือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่เป็นเจ้าของกิจการช็อคโกแล็ต organic ได้ใช้จักรยานในการบดเมล็ดโกโก้ออกแกนิคของแบรนด์ เพื่อลดการใช้พลังงานจากเครื่องจักร ต้องการให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดและการใช้ไฟฟ้าน้อยที่สุด เพราะอุตสาหกรรมโกโก้ถูกผลกระทบจากภาวะโลกร้อนแบบเต็มๆ และนอกจากนี้การบดเมล็ดโกโก้ด้วยจักรยานยังใกล้เคียงกับการบดโกโก้แบบ ดั้งเดิมที่ใช้มือบด ซึ่งทำให้ได้รสชาติของโกโก้แท้ๆที่ดีกว่าเพราะมันมาจากธรรม ชาติ และอยากจะให้กลุ่มอุตสาหกรรมช็อคโกแล็ตหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอุตสาหกรรมนี้ได้กำลังคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมทั้งการทำลายป่า การใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ซึ่งเป็นผลให้เมล็ดโกโก้ออร์แกนิกนั้นหาได้ยากในไอวอรี่โคสต์

Credit : https://www.africanews.com/2019/03/14/entrepreneur-uses-bicycle-to-make-organic-chocolate/

4.[อินเดีย] Bournvita กับเเคมเปญที่หวังจะเตือนสติเหล่าผู้ปกครองทั้งหลาย ให้เห็นความสำคัญของเด็กๆที่มีความฝัน และความมุ่งมั่นที่จะไปสู่อนาคตแต่กลับถูกพ่อแม่หรือผู้ปกครองกีดกันความฝันเหล่านั้น

Bournvita ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์ ที่เข้าใจ Insight ของเด็กๆในอินเดียที่มีความฝัน และความมุ่งมั่นที่จะไปสู่อนาคต แต่กลับถูกพ่อแม่หรือผู้ปกครองกีดกันความฝันเหล่านั้น แล้วบังคับให้เป็นในสิ่งที่ผู้ปกครองอยากให้เป็น Bournvita จึงได้ทำเเคมเปญที่หวังจะเตือนสติเหล่าผู้ปกครองเหล่านั้น โดยแคมเปญนี้ถูกถ่ายทอดผ่านโฆษณาสั้นๆ โฆษณาชิ้นนี้มีความยาวเกือบ 3 นาที เมื่อผู้ปกครองเดินเข้ามาที่ร้าน Bournvita แต่กลับพบว่ามีแต่เสื้อยืดสีดำ ไม่มีสินค้าที่พวกเขาต้องการ จนผู้ปกครองเหล่านี้เริ่มทนไม่ไหวกับการกระทำของพนักงาน จึงได้เรียกผู้จัดการร้านมาคุย แต่ก็ต้องประหลาดใจ เพราะเมื่อผู้จัดการร้านออกมากลับเป็นลูกๆของพวกเขาเอง ที่มาอธิบายให้ฟังว่า การที่ผู้ปกครองเดินเข้ามาในร้านแล้วไม่มีเสื้อผ้าที่ตัวเองชอบให้เลือกซื้อ ก็เหมือนกับที่พวกเขาบังคับให้เด็กๆเหล่านี้ เป็นในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้อยากเป็น
Credit : https://www.campaignindia.in/video/weekend-watch-bournvita-stocks-black-clothes-to-score-during-exams/450494?fbclid=IwAR2cqB175bQy1wP5ocs1UfkrtSTvDzUHnErke5YIhAif_XPFkpRcZY4YMoY

5.[อังกฤษ] carling ได้ออก แคมเปญ made local ที่เป็นการชูเอกลักษณ์ของเมืองและสิ่งแรกที่จะถ่าทอดออกไปคือ ทีม Black Country Fusion FC ซึ่งเป็นทีมที่รวมความหลากหลายทางเพศเอาไว้ ด้วยการฉายเรื่องราวของพวกเขาเเละสนับสนุนชุดเเแข่งชุดใหม่ในฤดูกาลหน้าอีกด้วย

แบรนด์เบียร์ Carling ได้เปิดตัวแคมเปญระยะที่สองของ Made Local (แคมเปญที่นำเสนอความหลากหลายความแตกต่างกันของคนและเชื้อชาติของเมือง Carling และอยากจะชูเอกลักษณ์นี้ออกไป)โดยมีสปอตทีวีและสารคดีที่มีรูปแบบยาวขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ทีมฟุตบอล Black Country Fusion FC ซึ่งเป็นทีมที่รวมความหลากหลายทางเพศ LGBTQ+
แคมเปญโซเชียลนี้จะนำผู้ชมไปสู่สารคดีที่นำเสนอความน่าสนใจของทีม Black Country Fusion FC ซึ่ง Skye Stewart ประธานของ Black Country Fusion FC ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลในปี 2559 เนื่องจากไม่มีทีมที่รวม LGBTQ + ไว้เลย จึงทำให้ Fusion เป็นสโมสร LGBTQ + แห่งแรกในมิดแลนด์ เรื่องราวน่าจะสร้างความนาสนใจและเป็นแรงบันดาลใจให้คาร์ลิ่งลุกขึ้นออกมาช่วยสนับสนุนทีมผ่าน Made Local Fundation ซึ่ง Miranda Osborne ผู้อำนวยการฝ่ายแบรนด์ของ Carling กล่าวว่า “เรายินดีอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุน Black Country Fusion FC ถ่ายทอดเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ เป็นสาเหตุที่ Made Local และเรากระตือรือร้นที่จะทำให้สโมสรประสบความสำเร็จทั้งในและนอกสนาม” ซึ่งทาง Carling ได้สนับสนุนชุดเเข่งชุดใหม่ในฤดูกาลหน้าอีกด้วย
Credit : https://lbbonline.com/news/carlings-latest-made-local-campaign-shines-spotlight-on-lgbtq-football-team/?fbclid=IwAR1UApoV67Z3oDcgiV4IDDauYbm1seBW5iMlBO-R4EQFuhLM_vYodEgibdk

จากเคสที่ยกตัวอย่างที่นำเสนอมาก็พอน่าจะแสดงให้เห็นภาพของกลุ่มคนที่มีแนวคิดแบบ Utopia Mindset ที่พร้อมที่จะลงมือทำเพื่อสร้างจริยธรรมที่สร้างโลกให้ดีขึ้นสำหรับวันพรุ่งนี้ แล้วคุณพร้อมที่จะเป็นคนที่มีแนวคิด Utopia Mindsetแล้วหรือยัง ?

🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launch ออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์