การประชุม WEF ในรอบนี้เป็นการประชุมใหญ่หลังผ่านช่วงการแพร่ระบาดของโควิด เป็นครั้งแรก โดยมีการประชุมทั้งสามภูมิภาคสำคัญของโลก ซึ่งการประชุมในรอบนี้มีบุคคลชั้นนำมามากมายเช่นเคย แต่ประเด็นในรอบนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ ในด้านแนวคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลกที่สำคัญ และโดยส่วนตัวผมคิดว่าเราต้องแตกฉานเรื่องนี้ก่อน จึงจะสามารถเข้าใจบริบททางเศรษฐกิจของโลกที่กำลังหมุนไปในอีกแกน
แนวคิดที่สำคัญคือ เปลี่ยนจาก Speed Growth ไปเป็น Quality Growth ซึ่งในนิยามตรงส่วนนี้จะมีผลต่อภาพรวมของวงจรทางธุรกิจในอนาคตอีกมากมาย นั่นคือ การเติบโตในอดีตที่ผ่านมาที่มุ่งเน้นการเติบโตอย่างรวดเร็วโดยไม่สนใจว่า สินค้าหรืออาหารที่อยู่บนโต๊ะมาอย่างไร ? แต่ขอให้มีอาหารบนโต๊ะมาเป็นอันใช้ได้
แต่ปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนี้จะเปลี่ยนไปเป็น การเติบโตอย่างมีคุณภาพ ( ยั่งยืน ) ซึ่งจะมองถึงที่มาของอาหารและสินค้าว่ามาอย่างไร ? มาจากการทำลายโลกหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ? ต้องมีกระบวนการได้มาด้วยการไม่ทำลายโลก ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว ควบคู่ไปด้วย
ประเด็นสำคัญที่เราควรติดตามและนำไปปรับกลยุทธ์ขององค์กรและธุรกิจเราให้ไปต่อได้มี ดังนี้
ประเด็นที่ 1 ความเคลื่อนไหวในตลาดการลงทุน แบ่งเป็น 2 ระยะ
1.1 ระยะสั้น
เป็นผลกระทบจากการเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนในโลกสูงขึ้น ซึ่งสภาวะนี้จะอยู่กับเราไปอีก 1 ปี สิ่งที่วันนี้เราต้องร่วมกันแก้คือ การบรรลุเป้าหมายจึงต้องทำให้เงินเฟ้อลดลง 2% ภายในปี 2024 ให้ได้ มิฉะนั้นจะทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอยและซึมไปยาวร่วมสิบปีเลยทีเดียว
สิ่งที่เราทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชนต้องทำคือ
– การเก็บเงินสดไว้ให้ได้มากที่สุด อย่าใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่ควรก่อหนี้ รักษางานที่มีอยู่เพื่อทำให้เรายังมีกระแสเงินสดอยู่ได้
– การลงทุนกับการสร้าง Productivity ที่สูงขึ้น โดยให้ลงทุนในเรื่องการศึกษาของทั้งตัวเองและพนักงาน
เป็นการ Upskill, Reskill ของเราไปในตัวด้วย
1.2 ระยะยาว
ถือเป็นข่าวดีของประเทศไทยเราซึ่งจะเป็นภูมิภาคสำคัญของโลกในตลาดทุนที่จะไหลเข้ามา
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia เป็นยุคทองหรือ Golden Era เลยทีเดียว
ต้องตั้งคำถาม! เราพร้อมไหม ที่จะต้องเตรียมรับมือกับเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศ ด้วยการเตรียมนโยบายที่ดี และพัฒนาทักษะคนในประเทศ ไว้แล้วหรือยัง
ประเด็นที่ 2 นวัตกรรมที่จะเข้ามาบทบาทมากที่สุด
นวัตกรรมที่โลกใบนี้ต้องการ และจะเป็นเทรนด์ของโลกแห่งอนาคตอย่างแท้จริง ไม่ใช่คริปโต หรือ ระบบการเงินดิจิตอล และจะเป็น….
Climate Tech การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมและนำพาโลกไปสู่ Net Zero โดยครอบคลุมตั้งแต่
การลดคาร์บอน การป้องกันความเสียหายของชีวิตของมุนษย์จากภัยธรรมชาติ การวิจัยพัฒนาด้านกรีน Material หรือ วัสดุศาสตร์เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การกำจัดของเสีย หรือแพลตฟอร์มด้านคาร์บอนเครดิต
Climate School การมีโรงเรียนที่สอนและปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความคิดและปฏิบัติตนเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลก
สร้างความเป็น Net Zero และต่อยอดการพัฒนาพนักงาน Reskill, Upskill ความเป็น Green
ประเด็นที่ 3 นโยบายภาครัฐควรให้ความสำคัญกับโลกยุคใหม่ !
นโยบายภาครัฐมีผลมากต่อขีดความสามารถของประเทศ ซึ่งสิ่งที่ทุกเวทีพูดตรงกันหมด คือ
ธุรกิจจะต้องเตรียมตัวเข้าสู่ Green Economy เต็มตัว โดยที่ทุกอุตสาหกรรมควรจะมีแบบแผนการเติบโตทางธุรกิจร่วมกับการเติบโตแบบยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Quality Growth ที่ต้องมุ่งเน้นสู่ Net Zero ซึ่งในแต่ละประเทศกระทรวงที่จะมามีบทบาทหรือเรียกว่ากระทรวงเกรด A ที่ต้องให้ความสำคัญ คือ
กระทรวงสำคัญที่ 1 : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บทบาทต้องเป็นกระทรวงที่มีการบูรณาการกับทุกฝ่ายเพื่อมุ่งสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วย Green Economy มากกว่าแค่การดูแล และรักษาทรัพยากรในปัจจุบันเท่านั้น แต่ต้องมองถึง Value Chain ทั้งระบบ เช่น การได้ข้าวมาบนโต๊ะอาหาร นั้นข้าวมาจากอะไร ทำลายโลกหรือไม่ ตั้งแต่กระบวนการปลูก กระบวนการบำรุงดิน กระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนกระบวนการขนส่งและกระจายสินค้าไปสู่ช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นต้น
กระทรวงสำคัญที่ 2 : กระทรวงดิจิทัล ที่ต้องให้ความสำคัญและเสริมสร้างดิจิทัลของประเทศ
เมื่อทั้ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงดิจิทัล เกิดเป็น Digital Green Supply Chain ที่องค์กรจะต้องเตรียม 3 สิ่ง เรียกว่า
1) Flexical Capital การเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตของผู้คน
2) Human Capital การพัฒนาคน ให้คนมี Skill ที่ให้สามารถเตรียมรับมือกับเทรนด์
3) Environment Capital การพัฒนาคนให้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม
ทั้ง 2 กระทรวงต้องสนับสนุนเกิดขึ้น เพื่อรองรับ และสร้างโอกาสในการเติบโตเป็น Hub ด้านการส่งออก เศรษฐกิจ ดังนั้นประเทศไทยควรมีวิธีการทำงานที่ Net Zero ที่ทำงานร่วมกับองค์กรต่างประเทศที่เข้ามาทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และไม่เสียผลประโยชน์
ประเด็นที่ 4 การเป็น Digital Inclusion ที่เข้าถึง 3 ด้านต้องรวดเร็ว โปร่งใส สะดวกสบาย
โดยทั้ง 3 ด้าน จะต้องอาศัยดิจิทัลในการเข้าถึงผู้คนเป็นหลัก และสร้างความเท่าเทียมในพื้นที่ต่าง ๆ และแนวคิดด้านในอนาตตที่เปลี่ยนไป แนวคิดการเข้าถึงโอกาสทางด้านดิจิทัลมากขึ้น
1) Financial Inclusion การเข้าถึงบริการทางการเงิน
2) Education Inclusion การเข้าถึงการศึกษา
3) Healthcare Inclusion การเข้าถึงด้านระบบสาธารณสุข
ทั้งหมดคือข้อสรุปที่สำคัญที่จะทำให้ภาคธุรกิจ สังคมตลอดจนรัฐบาล นำไปวางแผนออกนโยบายให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชานของตนเองต่อไป
#Baramizi #WorldEconomicForum2022 #Upskill #Reskill #GlodenEra #ClimateTech #NetZero #GreenEconomy #DigitalInclusion