WELLNESS TOURISM TREND 22-23 แนวโน้มการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Wellness Tourism การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือการท่องเที่ยวที่โฟกัสที่การป้องกันโรคโดยเน้นไลฟ์สไตล์สุขภาพและการยกระดับคุณภาพชีวิต

#1 Wellness Sabbatical สมดุลระหว่างการงานและสุขภาวะ

Wellness Sabbatical หมายถึงการทำงานที่เราได้สร้างสมดุลควบคู่ไปกับสุขภาพและสุขภาวะที่ดี สาามารถที่จะทำงานจากที่ไหนก็ได้ไม่ต้องทำงานที่ออฟฟิศ (Work from anywhere)
Wellness Sabbatical Program มักจะจัดวางอยู่ในพื้นที่ที่เปี่ยมด้วยทัศนียภาพ สามารถออกกำลังกายได้ ทานอาหารเพื่อสุขภาพได้ และมีโปรแกรมเพื่อสุขภาพอื่นๆ เช่น การนั่งสมาธิ,
การนอนเพื่อสุขภาพ

.

#2 Nature Prescriptions ธรรมชาติคือยารักษาโรค

Nature Prescriptions ธรรมชาติคือยารักษาโรค
National Health Service Shetland (Scotland) เผยแพร่แนวคิดการท่องเที่ยวเชิง “Nature Perscription” ที่ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่รวมถึง ความดันเลือด ความเครียด และโรคซึมเศร้า
หมอและพยาบาลแจกใบจ่ายยาเพื่ออธิบายคุณประโยชน์ด้านสุขภาพของการได้อยู่กลางแจ้งและกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ

.
#3 Soft Wellness Travel สุขภาวะแบบเนิบช้า


Soft Wellness Travel การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะแบบเนิบช้า
การพักผ่อนเชิงสุขภาพแบบนี้ไม่ใช่การทรมานตัวเอง หรือการอดแต่คือการเติมเติมความสุขให้กับตัวเอง

#4 Power Spot ท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มพลังชีวิต


Power Spot การท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มพลังชีวิต
แนวโน้มทางการท่องเที่ยวเพื่อเสริมพลังชีวิตและสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อเสริมพลังด้านบวก ประกอบไปด้วย 4 หัวข้อต่อไปนี้
– Forest Therapy การท่องเที่ยวเชิงบำบัดด้วยการอาบป่า
– Ocean Therapy การท่องเที่ยวเชิงบำบัดด้วยมหาสมุทร
– Energy Healing การท่องเที่ยวด้วยการบำบัดทางเวชศาสตร์พลังงาน
– Spiritual Refreshment การท่องเที่ยวเชิงฟื้นฟูจิตวิญญาณ

#5 Mycological Retreats การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูด้วยสมุนไพร

Mycological Retreats การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูด้วยสมุนไพร
การฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม โดยมีวิธีการที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูสุขภาพใจ โดยมีการใช้สารสื่อประสาทร่วมด้วย และอาจมีการใช้คนร่างทรงมาร่วมในพิธีกรรม เช่น ศูนย์บำบัด Soltara ใน Costa Rica ที่มีการใช้ชาที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนโบราณ หรือ Silo Wellness ในจาไมก้าที่นำเสนอกิจกรรมเฉลิมฉลองด้วยการใช้ Psilocybin สารที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทในการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อร่วมช่วยเพื่อฟื้นฟูสุขภาพใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ การเข้าถึงประสบการณ์เช่นนี้มีแนวโน้มจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ การเติบโตนี้ไปด้วยกันกับการเติบโตของ Cannabis Tourism ที่โตขึ้นอย่างมากในช่วงของการแพร่ระบาด
.

#6 Holistic Rejuvenation การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม

Holistic Rejuvenation การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม
สุขภาพองค์รวมเป็นปรัชญาเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีโดยจะพิจารณาถึงองค์ประกอบของร่างกายได้แก่ ร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งศึกษาถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านี้
เพื่อสร้างสมดุลให้กับชีวิตที่มีความสุข แนวทางปฏิบัติเพื่อสุขภาวะที่ดีได้แก่ การนวดเพื่อสุขภาพ, โยคะ, ทำสมาธิ, การบำบัดด้วยเสียง, การกดจุด, การแพทย์สมุนไพร, การฝึกร่างกายรูปแบบต่างๆ
.

#7 Spiritual Wellness เที่ยวเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ

Spiritual Wellness เที่ยวเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
สุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Spiritual wellness) คือการเชื่อมต่อกับบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวคุณเอง และช่วยกำหนดคุณค่า หลักการ ศีลธรรมหรือความเชื่ออะไรบางอย่างที่เปี่ยมความหมายกับชีวิต โดยใช้หลักการเหล่านี้เพื่อแนะแนวทางในการใช้ชีวิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณช่วยให้เรามีพลังและความสามารถในการตัดสินใจได้ง่าย สร้างสภาวะที่ยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตด้วยความสงบภายในจิตใจ สุขภาวะทางจิตวิญญาณจะช่วยเราเยียวยาในเวลาที่เรารู้สึกทุกข์ทรมานจากสภาวะทางร่างกายหรือจิตใจ

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือการเดินทางในพื้นที่ต่างๆ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ หรือพูดง่ายๆคือการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพทางกายและจิตใจ โดยหลายพื้นที่ใช้การท่องเที่ยวแบบนี้เพื่อการส่งเสริมการดูแลสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลวิจัยอนาคตเพื่อคว้าโอกาสการต่อยอดทางธุรกิจการท่องเที่ยว 10 Post-Covid Travelling Behavior Trend  ได้ที่นี่ > https://bit.ly/3LJVSR5

———————————————
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ช่องทางด้านล่างนี้ :
📲 FACEBOOK : ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab
📲 LINE OA : Baramizi_lab
✉️ Email : contact@baramizi.co.th
———————–
ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab – องค์กรที่ทำหน้าที่จับตามองเทรนด์ที่น่าสนใจเพื่อภาคธุรกิจและจัดทำวิจัยเพื่อดูว่าผู้บริโภคคนไทยยอมรับเทรนด์ไหนมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจของท่านสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้กำหนดแนวทางการสร้างแบรนด์ตัวเอง หรือใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสบการณ์สินค้าได้ต่อไป