TREND FAST TRACK : TOURISM TREND Retargeting Tourism เปิดกลุ่มเป้าหมายใหม่หลังโควิด บุกตลาดการท่องเที่ยว

อย่างที่ทุกท่านได้ทราบกันแล้วว่า การท่องเที่ยวไม่เฉพาะแค่ประเทศไทยเรา แต่เป็นทั่วทั้งโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิดครั้งนี้เพียงใด ถึงแม้ว่าหลายประเทศจะมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี หรืออย่างประเทศเราที่มีมาตรการ Travel Bubble (จับคู่ท่องเที่ยวระหว่าง 2 ประเทศที่มีสถานการณ์และมีความมั่นใจว่ามีความปลอดภัยจากเชื้อไวรัส Covid-19) แต่ก็ต้องยอมรับว่า ด้วยสถานการณ์ที่ยังไม่คลี่คลายดี ทำให้ไม่สามารถเปิดประเทศเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้อย่างเต็มที่ ซึ่งส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวถดถอยและเศรษฐกิจภายในประเทศถดถอยไปมากทีเดียว

และด้วยวิกฤตเช่นนี้ ภาคการท่องเที่ยวเคยเป็นฮีโร่ที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยไว้ แต่ปัจจุบัน กล่าวคือ แค่เพียงนักท่องเที่ยวภายในประเทศคงไม่สามารถช่วยประคองอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืนเป็นแน่ นอกเหนือจากนักท่องเที่ยวไทยและชาวต่างชาติ ยังมีอีก 4 กลุ่มเป้าหมายใหม่ที่น่าสนใจและจับตามอง ได้แก่

1. นักท่องเที่ยวกลุ่ม MICE 
2. นักท่องเที่ยวกลุ่มที่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์
3. นักท่องเที่ยวกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการ Medical and Wellness
4. กลุ่มคนทำงานทางไกล (Remote Worker)

 

สำหรับ Trend Fast Track สัปดาห์นี้ เราจึงอยากพาทุกท่านเจาะลึกไปดูกันว่า แต่ละประเทศมีมุมมองอย่างไร และมีวิธีการจัดการเพื่อเตรียมรับมือกับกลุ่มเป้าหมายใหม่อย่างไร ไปดูกันค่ะ 

 

1. นักท่องเที่ยวกลุ่ม MICE

 

ไมซ์ (MICE) ย่อมาจากคำว่า Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions (หรือบางครั้ง C หมายถึง Conferencing และ E หมายถึง Events) ซึ่งได้พัฒนามาจากธุรกิจนำเที่ยว แต่นำเสนอบริการเป็นการจัดประชุม งานแสดงสินค้าต่างๆ

เมื่อพูดถึง ‘อุตสาหกรรมไมซ์’ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหู แต่รู้หรือไม่ว่าอุตสาหกรรมนี้เป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่กำลังขยายตัวทุกปีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจต่างๆ มากมาย มีมนต์เสน่ห์ของประเพณีและวัฒนธรรม ธุรกิจไมซ์จึงสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศปีละไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนล้านบาททั้งทางตรงและทางอ้อม

 

MICE

 

แนวโน้มการต้องเที่ยวจะเปลี่ยนจากการพักผ่อนหย่อนใจไปการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มธุรกิจ

 

สำหรับแนวโน้มในภาคธุรกิจหลัง Covid-19 แน่นอนว่าต้องหันมามองการท่องเที่ยวภายในประเทศให้มากขึ้น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจำเป็นที่จะต้องปรับตัวครั้งใหญ่ในการปรับฐานลูกค้า ขาดนักท่องเที่ยวที่มาจากต่างชาติอย่างน้อยๆ ก็จนถึงสิ้นปีนี้เลยและเมื่อเปิดประเทศแล้วนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจำเป็นที่จะต้องกักตัว 14 วัน

นับว่าเป็นยากมากสำหรับนักท่องเที่ยวบ้านเรา เพราะเราไม่ได้มีวัฒนธรรมการท่องเที่ยวในแบบ 3 เดือน 6 เดือน เหมือนทางนักท่องเที่ยวฝั่งตะวันตก ซึ่งจำเป็นที่จะต้องรอวัคซีนและภาวะที่ทั้งโลกสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ ดังนั้นจึงเหลือเพียงกลุ่มท่องเที่ยวเชิงธุรกิจที่มีความจำเป็นท่องเข้ามาทำงานในประเทศไทยระยะเวลานาน ถึงจะคุ้มค่าที่จะถูกกักตัว 14 วัน

ถึงแม้ช่วงนี้การประชุมแบบออนไลน์ผ่าน Platform ต่างๆ จะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และดูเหมือนว่ามันจะสามารถทำหน้าที่ทดแทนการประชุมแบบเจอหน้าได้เป็นอย่างดี แต่ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าไม่ทั้งหมดหรอก การประชุมแบบเจอหน้ากำลังค่อยๆกลับมา CEO ของ BON Hotel ประเทศ South Africa กล่าวว่า สิ่งที่ออนไลน์ให้ไม่ได้คือ ประสบการณ์การ Networking จากการประชุม, ช่วงเบรค, ช่วงทานอาหาร ซึ่งข่าวดีสำหรับ ธุรกิจ MICE คือจะมีมาตรการผ่อนคลายเร็วๆ นี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องมี Guideline ความปลอดภัยอย่างรัดกุม เพื่อสร้างความมั่นใจสูงสุดให้กับผู้เข้าร่วมนั่นเอง

 

2. นักท่องเที่ยวกลุ่มที่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์

 

ตลาดถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ นับเป็น 1 ในตลาดท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม (niche market) ที่มีบทบาทสำคัญต่อการดึงรายได้เข้าประเทศ เนื่องจากเป็นตลาดท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง และยังมีลู่ทางขยายตัวได้อีกมาก

นอกจากนี้ การส่งเสริมตลาดถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศโดยเฉพาะภาพยนตร์เรื่องยาวฟอร์มใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมากและใช้ดาราที่มีชื่อเสียงแสดงนำ ไม่เพียงแต่จะดึงรายได้จำนวนมากเข้าประเทศเท่านั้น ทว่ายังส่งผลดีต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาเที่ยวประเทศไทยด้วย โดยการสร้างจุดขายทางการท่องเที่ยวไทยเชื่อมโยงจากกระแสความนิยมภาพยนตร์ ให้ผู้ชมภาพยนตร์ทั่วโลกรู้จักและสนใจเข้ามาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้น

 

G Travel Corporation: ภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย Part 1

การถ่ายทำภาพยนตร์จะกลายเป็น Trigger สำคัญ

ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้กลับมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

 

ซึ่งเมื่อช่วงปีที่แล้ว กองถ่ายหนังเรื่อง Extraction ของ Netflix (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อว่า Dhaka) นำแสดงโดย คริส เฮมส์เวิร์ธ หรือที่รู้จักกันจาก ‘ธอร์ เทพเจ้าสายฟ้า’ หนังเรื่องนี้ยังเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงในวงกว้างว่า ฉากที่ใช้ถ่ายทำกว่า 80% คือฉากที่มาถ่าย ในประเทศไทยเมื่อปี 2019 ฝีมือทีมงานคนไทยกว่าร้อยชีวิตที่ตกแต่งโลเคชั่นในไทยให้เหมือนประเทศบังกลาเทศ แบบแนบเนียนชนิดที่คิดไม่ถึงเลยทีเดียวโดยไปถ่ายทำทั้งที่ราชบุรี ภูเก็ต และกรุงเทพฯ อีกด้วย

 

แน่นอนว่ากองถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่องถูกผลกระทบจากโควิดทำให้การถ่ายทำหยุดชะงัก อย่างเช่นเรื่อง  Nightmare Alley ที่กำลังถ่ายทำในประเทศแคนาดาอยู่ดีๆก็ถูกขัดจังหวะจากวิกฤต coronavirus ซะงั้น แต่ข่าวดีคือประเทศแคนาดาได้มีการเปิดประเทศ อนุญาติให้กองถ่าย Hollywood สามารถดำเนินการถ่ายทำภาพยนตร์ต่อได้ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและวัฒนธรรมภายในประเทศให้กลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง จึงคาดว่าหนังน่าจะสามารถกลับมาถ่ายทำภาพยนตร์ในฤดูใบไม้ร่วงได้อีกครั้ง 

 

3. นักท่องเที่ยวกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการ Medical and Wellness

 

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Medical Tourism เป็นอีกหนึ่ง Mega Trend ของประเทศไทย กระแสนี้เกิดขึ้นเนื่องจากคนที่มีรายได้สูง ต้องการคุณภาพทางการแพทย์ในระดับสูง การบริการแบบพรีเมี่ยม และราคาที่รับได้ ประเทศไทยจึงเป็นตัวเลือกที่ดี ในการเป็นแหล่งรักษาร่างกาย เนื่องจากมีหมอฝีมือดี โรงพยาบาลที่บริการเป็นเยี่ยม มีสถานที่ท่องเที่ยวให้เลือกหลายหลาย อยู่ในทำเลที่ง่ายต่อการเดินทางไปที่ประเทศอื่นต่อ และยังมีค่าครองชีพไม่สูงเลย ค่ารักษาก็ถูกมาก ถ้าเทียบกับประเทศต้นทางของผู้ที่มารักษาตัว   ประเทศไทยจึงมีความคิดที่จะเป็น Medical Hub หรือ ศูนย์กลางการรักษาสุขภาพแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สุขภาพและความปลอดภัย จะกลายเป็นเกณฑ์อันดับแรกในการสร้างความเชื่อมั่นให้นักเดินทาง

 

และด้วยวิกฤตการณ์ Covid-19 เป็นโอกาสที่ทำให้ประเทศไทยสามารถนำเอาจุดแข็งทางด้านการป้องกันการแพร่ระบาดโรคที่รวดเร็ว มาเป็นจุดขายเปิดรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้ามารักษาพยาบาล (Medical Tourism) ได้ นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและโรงแรมที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้จำนวนมากอีกด้วย

 

Medical Tourism

 

4. กลุ่มคนทำงานทางไกล (Remote Worker)

 

ผลจากมาตรการ Lockdown ในหลายๆประเทศ ทำให้เราต้องกักตัวอยู่ในบ้าน รวมถึงทำให้เกิดเทรนด์ Work from Home ที่เกือบทุกบริษัทต้องออกนโยบายนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า คือ ให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านผ่านระบบออนไลน์ได้โดยที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ซึ่งเอาเข้าจริงการทำงานแบบ Work from Home ก็ไม่ได้ตอบโจทย์สำหรับทุกคน เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในบ้านที่ไม่อำนวยความสะดวก ขาดการพบปะสังคม เกิดความเครียด ขาดแรงกระตุ้น หรือรู้สึกแยกเวลาทำงานกันพักผ่อนไม่ออก

สำหรับประเทศไทย โควิดอาจเป็นตัวเร่งให้เกิดเทรนด์ Work from Anywhere เร็วขึ้น เพราะเนื่องจากตอนนี้ประเทศไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และกว่าภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศจะกลับมาสู่สภาวะปกติอาจต้องใช้เวลาเป็นปีๆ คําตอบเราตอนน้ี คือ ไทยเที่ยวไทย Work from Anywhere ของกลุ่มคนไทยจะช่วยให้ธุรกิจมีรายได้เข้ามา เร็วขึ้น แถมประเทศยังมีการลงทุนผ่านธุรกิจใหม่ อาทิ Co-working space ธุรกิจรถบ้าน VanLifers ทําให้คน ในพื้นท่ีมีงานทํา มีการใช้จ่ายกับร้านค้าท้องถิ่นเกิดเงินหมุนเวียนในชุมชน ยิ่งไปกว่านั้นหลายจังหวัดไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ ร้านกาแฟต่างๆก็มีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับคนทำงานเพิ่มขึ้น ทั้งอินเตอร์เน็ต ปลั๊กเสียบสายชาร์ต เป็นต้น

Work From Home สู่ Work from Anywhere

 

โดยในปี 2019 มีกลุ่มชาวต่างชาติท่ีทํางานแบบ Work from Anywhere ได้ ที่เห็นชัดคือ กลุ่มที่ทํางาน แบบไร้ออฟฟิศ หรือ Digital Nomads มีจํานวนสูงถึง 25 ล้านคน ดังนั้น โลกหลังโควิด Work from Anywhere จะไม่จํากัดเฉพาะกลุ่มอาชีพอิสระอีกต่อไป แต่ขยายไปถึงกลุ่มพนักงานประจําได้ด้วย เนื่องจากในอนาคตพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ท่ีชอบความเป็นอิสระจะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น มีความต้องการทำงานในที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีต้องสุขภาพจิตจากการสำรวจพบว่า พนักงานมากถึง 48% รู้สึกการทํางานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่กว่า 60% มีสุขภาพจิตดีข้ึนเมื่อทํางานนอกออฟฟิศ

 

Wythe Hotel by Industrious

 

[USA] โรงแรม Brooklyn’s Wythe ได้ร่วมมือกับ Industrious นักออกแบบสถานที่ทำงานเพื่อสร้างสำนักงานให้เช่า เปลี่ยนห้องพักให้เป็นห้องทำงานเพื่อรองรับผู้ที่ทำงานจากที่บ้านในช่วงการระบาดของโรคโคโรนาไวรัส เนื่องจากสำนักงานหลายแห่งยังคงปิดดำเนินการเนื่องจากข้อบังคับการปิดเมือง โครงการ Industrious at Wythe Hotel มีจุดประสงค์เพื่อให้พนักงานระยะไกลสามารถเข้าถึงพื้นที่ทำงานที่ยืดหยุ่นสะอาดและมีอุปกรณ์ครบครัน Wythe Hotel สำนักงานให้เช่ารายวันตั้งอยู่ในห้องนอนสไตล์ลอฟท์เก่าของโรงแรม ซึ่งสามารถเข้าถึงพื้นที่กลางแจ้งส่วนตัวได้ ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับผู้ใช้งานสูงสุดสี่คนมีทั้ง Wi-Fi การเข้าถึงบริการการพิมพ์ และสมาร์ททีวี เฟอร์นิเจอร์ในห้องนอนจะถูกแทนที่ด้วยนั่งหรือยืนโต๊ะไม้และเก้าอี้จาก rexford สร้างสมดุลระหว่างงานทางกายภาพและงานเสมือนจริง

กว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวจะกลับมาสู่ปกติอีกครั้งคาดว่าคงต้องใช้เวลาเป็นปีๆ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะอยู่ต่อได้หรือไม่ ถ้าเลือกจับกลุ่มเป้าหมายให้ถูก เข้าใจในสิ่งที่นักท่องเที่ยวยุคใหม่คาดหวัง  คาดว่าการจะทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวบ้านเรากลับมาอีกครั้งก็คงไม่ใช่เรื่องยากเกินกำลังค่ะ

Credit :

https://www.businesstoday.co/business/23/07/2020/ท่องเที่ยว-3/

https://www.bizcommunity.com/Article/196/373/206542.html

https://www.dezeen.com/2020/07/24/wythe-hotel-offices-remote-working/

https://www.cicnews.com/2020/07/hollywood-can-resume-filming-in-canada-0715024.html#gs.c04ube

https://positioningmag.com/27848

https://today.line.me/th/article/ให้ทาย+ซีนนี้ถ่ายที่ไหนในไทย+8+ภาพยนตร์ดัง+ที่เลือกใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำ+ซีนนี้มา-ZNL2nP

http://www.investerest.co/economy/medical-tourism/

https://www.salika.co/2020/05/25/adapt-work-from-home-to-work-from-anywhere/

ชวนคิดนโยบายนอกกรอบ … Work from Anywhere”

https://www.freepik.com/

🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน  🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launch ออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์

#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch #TrendFastTrack2020 #WisdomDrivetheFuture #Travel #Covid #Corona #Tourism