Trend Fast Track : The Power of “Culture Celebration”

Trend Fast Track 01/2019: The Power of “Culture Celebration” !! แบรนด์คว้าชัยจับใจคนในชาติด้วยการเข้าถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ

Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อนประจำสัปดาห์ โดย บารามีซี่ แล็บ ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ สัปดาห์นี้เรา Spot ข้อมูลทั่วโลกว่าเราเห็นแนวโน้มการออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้างและ Launch ออกมาให้ปรากฏต่อผู้บริโภคของพวกเขาบ้าง

ประเดิมสัปดาห์แรกนี้ ทีม Baramizi Lab ขอเสนอเทรนด์นี้เลยค่ะ The Power of “Culture Celebration” แนวโน้มที่แบรนด์นำเสนอประสบการณ์ที่จับใจกลุ่มเป้าหมายโดยเจาะลึกลงไปในความเข้าใจรากของวัฒนธรรมของพวกเขาอย่างแท้จริง ในรอบสัปดาห์นี้ที่เรา Track มาดูเหมือนจะมีประเด็นนี้ที่โดดเด่นขึ้นมาในหลายๆ ประเทศพร้อมๆ กันโดยมิได้นัดหมาย จนเราต้องนำมาเล่าสู่กันฟัง

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาดูเหมือนจะมีแบรนด์ในหลากหลายประเทศรอบโลกและหลากหลายหมวดหมู่สินค้าที่ทำเรื่องเดียวกันซึ่งหลายดีกรีที่เกิดขึ้นตั้งแต่

– ดีกรีที่เข้าใจลงไปใน Pain Point ของพวกเขาแล้วเสนอแคมเปญที่จะเปลี่ยนแปลงมันเช่นวัฒนธรรมการสมัครงานของผู้หญิงญี่ปุ่นที่แบรนด์แพนทีนหยิบจับมานำเสนอแคมเปญกระตุ้นให้มีความมั่นใจ

Pantene เปิดตัวแคมเปญใหม่ รณรงค์ให้สตรีชาวญี่ปุ่นมั่นใจในบุคลิกภาพในตอนสมัครงา
แบรนด์ Hair Care ชื่อดังอย่าง Pantene ได้เปิดตัวแคมเปญใหม่ ที่รณรงค์ให้สตรีชาวญี่ปุ่นมั่นใจในบุคลิกภาพในตอนสมัครงาน ซึ่งปกติทั่วไปแล้ว วัฒนธรรมของสตรีญี่ปุ่น จะมัดผมรวบตึงตอนไปสมัครงาน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจ Pantene จึงได้สร้างแคมเปญ ให้กลุ่มสตรีญี่ปุ่นได้เปิดเผยผมสวยกล้าที่จะทำผมทรงใหม่ๆ ไปสมัครสัมภาษณ์งาน เพิ่มความมั่นใจและมีอิสระมากขึ้น
Credit: www.beautypackaging.com/contents/view_breaking-news/2018-10-15/pantene-in-japan-launches-new-ad-campaign/42027

– วัฒนธรรมการล่าสิงโตของประชากรเคนย่าที่นำมาซึ่งปัญหาการลดลงของประชากรสิงโตจนทำให้ต้องหาวิธีการจัดการ โดยเปลี่ยนการ “ล่า” ที่เหมือนเป็นการแสดง Status มาแข่งกีฬามาไซโอลิมปิคแทน แสดง Status ผู้นำได้เหมือนกัน ^^

แก้ปัญหาประชากรสิงโตที่ลดลงด้วยการจัดแข่งกีฬา Olympic ในแอฟริกา
ชนเผ่ามาไซ ในแอฟริกามีทำเนียมในการให้ผู้ชายในเผ่าล่าสิงโต ในแต่ละปีผู้ชายที่ล่าสิงโตได้มากที่สุดจะเป็นผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดในเผ่าและยิ่งล่าได้เยอะก็ยิ่งเป็นที่ต้องการของผู้หญิงในเผ่า ทำให้เกิดปัญหาประชากรสิงโตลดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีหน่วยงานเข้ามาแก้ไขด้วยการจัดงาน Maasai Olympic เพื่อให้คนในชนเผ่าหันมาสนใจในการเล่นกีฬามากกว่าล่าสัตว์ และเอาชนะกันด้วยเหรียญรางวัลแทนการล่าสิงโต ซึ่งผลของการจัดงานก็สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างดี โดยกีฬาที่จัดแข่งเป็นกีฬาที่ใช้ความสามารถเฉพาะสำหรับเผ่า เช่น พุ่งหอก ขว้างไม้ กระโดดสูง วิ่งแข่ง
Credit: www.bbc.com/news/av/world-africa-46840561/the-maasai-olympics-helping-to-save-lions-lives

– การแข่งขันของ Startup Application ท้องถิ่นที่เอาชนะ Uber Eat ได้ใน Africa เพราะเข้าใจกลุ่มชนชั้นล่างซึ่งเป็นปริมาณประชากรขนาดใหญ่ในประเทศอย่างแท้จริงจนสร้างประสบการณ์การให้บริการที่ตอบโจทย์และตรงใจ

ที่แอฟริกา เศรษฐศาสตร์จุลภาคสามารถสร้างรายได้จากคนจนและคนรวยได้พอๆ กัน
Startup แอปส่งอาหารเอาชนะ Global Brand อย่าง Uber Eat คว้าโอกาสเติบโตทางโุรกิจด้วยการเข้าถึงพฤติกรรมคนท้องถิ่นได้ลึกซึ้งกว่า
Application Tupuca เป็นแอพส่งอาหารถึงหน้าบ้านที่ชนะ Uber Eat ไปได้เพราะเศรษฐศาสตร์จุลภาค และเข้าใจในพฤติกรรมของคนท้องถิ่นได้มากกว่า พวกเขาเจาะกลุ่มคนชั้นล่าง ในขณะที่ Uber Eat เลือกกลุ่มกลางขึ้นไป แต่คนที่มีปัญหาเรื่องการเข้าถึงแหล่งอาหารในแอฟริกาจริงๆแล้วเป็นชนชั้นล่างที่มีจำนวนเยอะมากกว่า (จากปัญหาทั้งรถติดและต้องเดินทางไกล ปกติจะใช้วิธีรอคนหาบเร่ของมาขายหน้าบ้าน) Tupuca ส่งได้แม้กระทั่งสัตว์เป็นๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า
Credit: www.economist.com/middle-east-and-africa/2018/12/06/angolas-go-to-app-for-delivering-live-goats-to-your-door

– ความเคลื่อนไหวของวัยรุ่นในโปแลนด์กับการสะท้อนค่านิยมการรักชาติ “ขวาจัด” สะท้อนออกมาผ่านแฟชั่นที่กำลังเป็นที่นิยมของแบรนด์ RED IS BAD

มากกว่าแค่แฟชั่น แต่เป็นการสะท้อนจุดยืนและความเชื่อที่มีต่อประเทศชาติ
การเหยียดเชื้อชาติเป็นเรื่องที่ไม่ได้รับการยอมรับในยุคสมัยนี้ เเต่ในบางประเทศในฝั่งยุโรปการเชื่อว่าตนมาจากเผ่าพันธุ์ที่สูงกว่ายังมีแฝงอยู่ อย่างในโปแลนด์ ผลสำรวจพบว่าแฟชั่น “ขวาสุด” เริ่มได้รับความนิยม โดยแบรนด์นำเสนอ Street Fashion ในสไตล์ที่สอดแทรกเนื้อหาเป็นภาพหรือตัวอักษรที่สื่อไปในเชิงชาตินิยมและเสื้อผ้าบางแบรนด์ถือเป็นสิทธิพิเศษในการเข้าคอนเสิร์ตบางประเภทได้เลย จึงน่าสังเกตและติดตามต่อไปว่าแนวคิดนี้จะขยายวงออกไปกว้างมากขึ้นมากเพียงใดและจะนำสู่แง่มุมที่บวกหรือลบตามมา
Credit:
https://edition.cnn.com/style/article/right-wing-fashion-streetwear/index.html

– หรือวัฒนธรรมเชิงไลฟ์สไตล์ที่ล้อไปกับ Occasion การกินแบบ Food to go ในมู้ดแอนด์โทนสุดอเมริกา ของแบรนด์ Dunkin’ Go2S

โฆษณาของ Dunkin ที่นำเสนอโปรโมชั่นที่สะท้อนมุมหนึ่งของภาพลักษณ์ที่ติดตัวตำรวจของอเมริกา
Dunkin’ ในสหรัฐอเมริกานำเสนอ Promotion ใหม่เจาะโอกาสการกินเป็นคู่ที่เริ่มขยับจากแค่ของหวานเป็น Food to go โดยเนื้อหาโฆษณาล้อไปกับวัฒนธรรมการกินแบบเร่งด่วนที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา
ภาพของตำรวจสหรัฐฯ ที่เห็นตามภาพยนตร์หรือซีรีส์ต่างๆ ที่มักจะมาจอดรอเป็นคู่หู เฝ้าคอยสังเกตความเรียบร้อย พร้อมกับโดนัทและกาแฟ ทำให้ Dunkin’ ออกแคมเปญซื้อคู่ถูกกว่าเพื่อบอกเล่าสิ่งที่สะท้อนไปกับภาพจำหรืออาจจะเป็นวัฒนธรรมองค์กรของตำรวจสหรัฐฯ ไปเลยทีเดียว แต่ปรับรูปแบบสินค้าที่ไม่ใช่โดนัทที่เป็นของหวานหากแต่เป็นอาหารมื้อหลักในรูปแบบ Food to go แทน เพื่อขยับให้ Dunkin’ อยู่ในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการกินของคนอเมริกาเพิ่มมากขึ้น (ไม่หายไปเทรนด์โดนัทที่อาจจะดูเป็นขาลง) นอกจากนี้แคมเปญบอกเล่าผ่านโฆษณารวมทั้งสิ้นสองตัว โดยอีกตัวหนึ่ง เป็นการเล่าด้วยคู่รักซึ่งอยู่ในบรรยากาศที่คุ้นเคยเหมือนในรายการทีวีที่ชาวอเมริกันรู้จักบรรยากาศแบบนี้เป็นอย่างดี
Credit:
https://www.adsoftheworld.com/media/film/dunkin_buddy_cops

เมื่อเราสังเกตดีๆ ในรายละเอียดของแต่ละกรณีศึกษา เราจะพบว่าหัวใจความสำเร็จของการสร้างประสบการณ์ของแบรนด์เหล่านี้ ล้วนเกิดจากการเข้าใจลงไปในวัฒนธรรม ความคิด หรือพฤติกรรม ตลอดจน Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง จนสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่โดนใจอย่างที่สุดได้ เราภาคธุรกิจที่จะสร้างแบรนด์ในประเทศเองก็อย่าลืมที่จะเจาะลึกลงให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งและมองหาโอกาสที่จะชนะอย่างลึกซึ้งให้เจอนะคะ

และเช่นเดียวกับการคว้าธงชิงชัยในสมรภูมิต่างประเทศ แนวโน้มเช่นนี้ยังเป็แนวโน้มที่นำเสนอที่ไหน ก็โดนใจที่นั่นอย่างแน่นอนเพียงเราเข้าใจพวกเขาและแสดงออกได้อย่างสร้างสรรค์ก็นำสู่การจับใจของพวกเขาได้นำมาซึ่งความสำเร็จของแบรนด์ได้นั่นเอง