ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงตาม ผู้คนเริ่มมีพื้นที่ส่วนตัวมากขึ้น หรือหลายคนเลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์จนสนใจสิ่งต่างๆ รอบตัวน้อยลง สำหรับ Trend Fast Track สัปดาห์นี้จะพาทุกท่านเจาะลงไปในวงการสถาปัตยกรรมที่ออกแบบให้เกิดการเชื่อมต่อกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การเชื่อมคนกับคน คนกับสัตว์ และคนกับธรรมชาติ
มีปัจจัยที่ใช้ในสถาปัตยกรรมสำหรับการเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบพื้นที่ใช้สอย (Space Design) การกำหนดแนวคิดของภาพรวมโครงการ (Project Idea) ที่กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางสังคม หรือการลดกรอบบางอย่างเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงปัจจัยอีกหลายๆ อย่างได้มากขึ้น ซึ่งแนวโน้มเหล่านี้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ลองมาดูกันว่าในแต่ละประเทศจะมีการดึงเอาแนวคิดของการเชื่อมต่อมาใช้กับงานสถาปัตยกรรมอย่างไรบ้าง
[Africa] Balwin Properties to develop R9bn Munyaka in Waterfall
credit: https://www.bizcommunity.com/Article/196/757/200458.html
บริษัท Balwin Properties ประกาศแผนที่จะสร้าง Munyaka ในบริเวณน้ำตก ใน Johannesburg โครงสร้างของทะเลสาบ กำแพง เกตเฮ้าส์ ไลฟ์สไตล์เซนเตอร์ รวมไปถึงอพาร์ทเมนต์ที่จะค่อยๆสร้างภายในอีก 8 ปีข้างหน้า Munyaka แปลว่า “Crystal” ในภาษา Venda ซึ่งจะกลายเป็นเหมือนเพชรยอดมงกุฏในพอร์ทของบริษัทเลยทีเดียว เจ้าของโครงการคาดหวังว่ามันจะเป็น Lifestyle Estate ระดับประเทศ อพาร์ทเมนต์จะมีจำนวนถึง 5,020 ยูนิต มีทั้ง 1B, 2B, 3B ขายแบบ Full Furnish พร้อมเครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมี Ultra Luxurious Unit ที่อยู่ชิดกับทะเลสาปสามารถรับวิวได้ 180 องศา Balwin ทำข้อตกลงว่ากำลังจะสร้างทะเลสาปคริสตัลแบบนี้อีกใน 6 ย่านกลยุทธ์ ทะเลสาปที่ Munyaka นี้จะมีพื้นที่ขนาดกว้างประมาณ 7 สนามรักบี้ และจะมีอาคารสูง 50 เมตรซึ่งประกอบไปด้วยร้านอาหาร ห้องประชุม และzipline จากทาวเวอร์ห้อยมาลงทะเลสาป รวมไปถึงบ่อน้ำร้อน
[South Africa] Why pet-friendly properties confer landlords with a distinct edge
credit: https://www.bizcommunity.com/Article/196/569/200689.html
สัตว์เลี้ยงถูกให้ความสำคัญและกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนแอฟริกามากขึ้น ความท้าทายคือพื้นที่พักอาศัยที่ Pet-Friendly นั้นขาดแคลน จัดกับ Demand ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ประกอบการอสังหาฯหลายคนเลือกจะแบนสัตว์เลี้ยง แม้แต่ในประเภทบ้านที่มีพื้นที่สวน และแม้แต่สัตว์ขนาดเล็กอย่างนก โดยเฉพาะระดับกลาง-ล่าง โดยมุมมองของผู้ลงทุนมองสัตว์เท่ากับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น งานวิจัยอเมริกาบอกว่าอสังหาฯที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์นั้นเกิดความเสียหายต่างกันน้อยมาก ค่าใช้จ่ายความเสียหายที่เกิดจากสัตว์นั้นน้อยกว่าที่เกิดจากเด็กมาก
[Longisland] The ‘Woodhouse 2.0’ Blends Seamlessly into the Scenery
credit: https://www.trendhunter.com/trends/woodhouse-20
‘Woodhouse 2.0’ เป็นบ้านแห่งอนาคตที่ได้รับการออกแบบให้ผสมผสานอย่างกลมกลืนกับพื้นที่ป่าโดยรอบเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้หลบหนีจากความวุ่นวายบนท้องถนนในเมืองที่คึกคัก บ้านถูกจินตนาการในป่าสนโอ๊คในลองไอส์แลนด์และโดดเด่นด้วยการออกแบบเป็นวงกลมที่ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยขับรถขึ้นไปบนยอดอาคารเพื่อเข้าถึงการตกแต่งภายในผ่านบันได เปลือกของบ้านสามารถทำได้โดยใช้คอนกรีตผสมกับแผ่นไม้แนวตั้งที่ทำงานร่วมกันเพื่อให้มันกลมกลืนกับภูมิทัศน์โดยรอบ
[Finland] Emerald Envisioning for Luonnonmaa 2070
credit; https://www.archdaily.com/917780/a-green-vision-for-finland-in-2070
เกาะ Luonnonmaa ตั้งอยู่ทางตะตวันตกของหมู่เกาะ Archipelago ใกล้กับเมือง Turku มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของ Manhattan และมีผู้คนอยู่อาศัยมากถึง 2000 คน มีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ธรรมชาติและพื้นที่ทางการเกษตร เกาะนี้เป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ความหลากหลายทางธรรมชาตินั้นเสื่อมถอยลง โครงการนี้จึงต้องการที่จะจินตนาการภาพใหม่ถึงการต่อสู้ปัญหานี้ด้วยการสร้างการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่เมืองกับธรรมชาติ สร้างโอกาสให้กับพื้นที่ธรรมชาติท่ามกลางการเจริญเติบโตและการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนในเมือง ด้วยการ Redesign สถาปัตยกรรมบนเกาะให้แตกต่างและแสดงความเคารพต่อธรรมชาติมากขึ้น โดยจัดกิจกรรม Co-creative ขึ้นระหว่างคนพื้นที่ เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้วางนโยบาย นักอนาคตวิทยา และสถาปนิก เพื่อพูดคุยและกำหนดวิสัยทัศน์ในอนาคตของเกาะในปี 2070ร่วมกัน
[Australia] Hassell + OMA ออกแบบพิพิธภัณฑ์ใหม่ใน Western Australia ภายใต้แนวคิด Collection of stories
credit: https://www.archdaily.com/930564/new-museum-for-western-australia-hassell-plus-oma?ad_source=search&ad_medium=search_result_all
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะมีการผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างอาคารดั้งเดิมและอาคารใหม่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่คนท้องถิ่นและชาวต่างชาติจากทั่วโลกจะมาเจอกันเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในอดีตและหาโอกาสใหม่ๆในอนาคต พื้นที่จึงถูกแบบมาให้สร้างการมีส่วนร่วมและการทำงานร่วมกันของผู้คน ทำให้เกิดการสนทนา สร้างแรงบันดาลใจ และให้ความรู้ มีประโยชน์กับทุกคน เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวพิพิธภัณฑ์และคนในพื้นที่ และยังช่วยฟื้นฟูพื้นที่ทางวัฒนธรรมของเมือง Perth นำเสนอวัฒนธรรมของชาวออสเตรเลียตะวันตกที่มีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ออกสู่สายตาเวทีโลก
[Italy] iotti + pavarani architects designs europe’s largest open air venue
credit: https://www.designboom.com/architecture/iotti-pavarani-architetti-tassoni-partners-lauro-sacchetti-associati-rcf-arena-reggio-emilia-italy-02-11-2020/
iott + pavarani Achitech studio ได้ออกแบบคอนเสิร์ตอารีน่าที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ภายใต้ชื่อว่า RCF Arena ที่จะถูกสร้างขึ้นในเมือง emilia romagna ประเทศอิตาลี โดยโครงการจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2563 ซึ่งเป้นโครงการแรกในยุโรปที่ได้รับการออกแบบสำหรับการแสดงดนตรีสดในพื้นที่เปิดโล่ง ในส่วนของ The green arena สามารถรองรับผู้เข้าชมได้มากถึง 100,000 คน ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน 5% รับประกันได้ว่าผู้เข้าชมจะสามารถได้รับมุมมองที่ดีสมบูรณ์แบบและระบบเสียงที่เหมาะสมที่สุด และในส่วนของ Concert area ได้มีการออกแบบพื้นที่สำหรับงานอีเว้นท์ระดับชาติ รอบรับฝูงชนได้ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยทั้งนี้จุดประสงค์ในการออกแบบอารีน่านี้มีขึ้นเพื่อสร้างความเป็นธรรมชาติให้กับสังคมและวัฒนธรรมและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกให้กับเศรษฐกิจของเมืองให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launchออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์
#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch#TrendFastTrack2019 #WisdomDrivetheFuture