ปี 2563 ถือเป็นปีที่เรียกได้ว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นอย่างมาก การขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าตกอยู่ในภาวะชะลอตัวจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งนี้สาเหตุที่มียอดเหลือค้างสต๊อกจำนวนมาก เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว มีผู้ซื้อเพื่อการลงทุนลดลง รวมถึงชาวต่างชาติไม่สามารถเข้ามาซื้อได้ และการถูกธนาคารพาณิชย์ปฏิเสธการให้สินเชื่อ
ข้อมูลจากนายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า โครงการบ้านจัดสรร และคอนโดมิเนียมที่เหลือค้างสต๊อกในกรุงเทพฯ – ปริมณฑลจำนวนมาก โดยในสิ้นปีนี้ประเมินว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือค้างสต๊อกสูงเฉียดล้านล้านบาท ซึ่งจะต้องใช้เวลามากถึง 4-5 ปี ถึงจะระบายสต๊อกที่เหลือค้างหมด ซึ่งแม้ที่ผ่านมาผู้ประกอบการพยายามปรับตัว ด้วยการชะลอเปิดตัวโครงการใหม่ หั่นกำไรเพื่อเร่งขายสต๊อกเดิม แต่จำนวนที่อยู่อาศัยที่เหลือค้างสต๊อกก็ยังคงสูงอยู่
อย่างไรก็ตาม เทรนด์การพักอาศัยแบบการเลือกอยู่ร่วมกันแบบแบ่งปัน (Shared Living) ได้เข้ามามีบทบาทในหมู่คนรุ่นใหม่มากขึ้น เนื่องจากคนรุ่นใหม่ที่นิยมอยู่แบบเป็นโสดมากขึ้น และโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เริ่มทำให้คนไทยเปิดใจรับการพักอาศัยในรูปแบบนี้
สำหรับ Trend Fast Track สัปดาห์นี้จะพาทุกท่านมาดู Case Study จากแบรนด์ต่างๆที่พากันคิดค้น หานวัตกรรมใหม่ๆในการพักอาศัยแบบ Shared Living ให้เกิดความน่าสนใจกว่าเดิมได้อย่างไรกันบ้าง มาดูกันค่ะ
1. Rent Living
การพักอาศัยแบบไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จะได้รับการยอมรับมากขึ้น เพื่อแลกกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในราคาที่เข้าถึงได้ ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิตที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้ที่พักอาศัยในรูปแบบการเช่ายังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะเห็นการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเพื่อช่วยให้การเช่าที่พักอาศัยเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
[Africa] New accommodation app makes living easy
Application ที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการเช่าที่พักอาศัย และประสบการณ์การพักอาศัยภายในเมือง จบในแอปเดียว ตั้งแต่ ค้นหาที่ สแกนและส่งเอกสารการเช่า จ่ายเงินค่าเช่า จัดการความปลอดภัย ถ่ายรูป Selfie เพื่อใช้ Facial Recognition ในการผ่านเข้า – ออกอาคาร รายงานการซ่อมบำรุง เพิ่มรายชื่อแขกที่จะเข้ามาในที่พักอาศัย ได้รับการแจ้งเตือนเมื่อของใช้ต่างๆ หมด ที่น่าสนใตคือ HOMii สามารถเลือกได้ระหว่าง Co-Living และ Solo-Living HOMii เลือกเจาะกลุ่มลูกค้าตลาดที่พักอาศัยของคน Gen Y ชาว South African โดยการสร้าง Solution ที่สนับสนุนไลฟ์สไตล์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่แอปการจัดการที่อยู่อาศัย แต่คือการสร้าง Freedom และ Accessibility ผ่าน Technology
Credit : https://www.bizcommunity.com/Article/196/16/209744.html
[Malaysia] Patrick Grove starts new proptech venture in Malaysia
การเช่าบ้านสำหรับใครหลายคนอาจเป็นเรื่องยากและน่าหงุดหงิดใจ รายชื่อปลอมที่ไม่ถูกต้อง ภาพบ้านที่ไม่ตรงตามปกทำให้เข้าใจผิดและขั้นตอนที่ยุ่งยากเกินไปอาจทำให้ประสบการณ์การเช่าเป็นฝันร้ายได้ Instahome เว็ปไซต์ขายเช่าที่พักอาศัยได้เปิดตัวเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อให้กระบวนการเช่าบ้านเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น โดยมีคุณสมบัติต่างๆ เช่น Virtual Tours 3D, การตั้งเวลาเยี่ยมบ้าน และคำขอบริการบำรุงรักษาผ่านทางออนไลน์ ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถเข้าเยี่ยมชมและตรวจสอบคุณสมบัติบ้านทั้งหมดที่ระบุไว้ในเว็บไซต์เป็นการส่วนตัวได้เพื่อให้แน่ใจว่าถูกต้องตามกฎหมายและเพื่อลดรายชื่อที่ซ้ำกันจากตัวแทนที่แตกต่างกันได้อีกด้วย
2. Co Living
เทรนด์การพักอาศัยในรูปแบบ Co-living นับว่าเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ คือการพักอาศัยร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ซึ่งกัน โดยมีพื้นที่ส่วนตัวและส่วนรวม ส่วนตัวหมายถึงห้องนอน ห้องน้ำ ส่วนรวมหมายถึงบริเวณนั่งเล่น ห้องครัว หรือพื้นที่กิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจของเทรนด์นี้คือ จุดประสงค์ในการออกแบบที่พักอาศัยแบบ Co-living ไม่ได้เพื่อตอบโจทย์การใช้สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกันหรือเพื่อการสร้างคอมมูนิตี้ร่วมกันอย่างที่เราทราบเพียงเท่านั้น แต่เรายังเห็นถึงการนำโมเดลนี้ไปช่วยจัดระเบียบทางสังคมในระดับชุมชนหรือเมืองได้อีกด้วย
[Latin America] Examples of Patterns and Generative Codes on Socially-Organized Housing in Latin America
การพักอาศัยในเมืองอันหนาแน่นรูปแบบตึกสูงและเป็นแนวราบ ได้ส่งผลให้ผู้พักอาศัยขาดการเชื่อมต่อจากพื้นดินและหน้าที่ทางสังคมที่พึงมีต่อกันที่มักจะเกิดบนพื้นดินเสมอ จากบทความวิจัยลักษณะของสังคมที่อยู่อาศัย (Social Housing) ในเปรูจากชุมชนตัวอย่างพบว่า วิธีการที่ทำให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในที่พักอาศัยของสังคมเมืองเกิดจาก
- กลยุทธ์การก่อสร้างรูปแบบการออกแบบที่พักอาศัย – ทำให้ผู้คนเกิดความสบายใจในการพักอาศัยในฐานที่มั่นคง
- การออกแบบพื้นที่ที่สร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน – ซึ่งในเคสนี้สถาปนิกได้มีการออกแบบให้ที่พักอาศยมีพื้นที่ส่วนกลางที่ให้ชุมชนได้มาร่วมกันปลูกต้นไม้ร่วมกัน เกิดการสร้างความเคารพแก่ต้นไม้ที่ได้มีคุณค่าเพียงเพื่อตกแต่ง
- การกำหนดตำแหน่งที่ตั้งเพื่อสร้างกระบวนการทางสังคมร่วมกัน – ด้วยการใช้วิธี Brainstrom ให้ชุมชนได้มีการร่วมกันออกแบบพื้นที่สิ่งนี้จะช่วยสร้างวัฒนธรรมและอารยธรรม ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบที่สร้างขึ้นกับค่าแรงบันดาลใจในการปฏิบัติทางสังคมร่วมกัน
3. Blend Living
อีกเทรนด์ใหม่ที่น่าจับตามอง เพราะเป็นบางอย่างที่ก่อนหน้านี้ถูกแยกออกจากกันต่างหาก ตอนนี้ก็มารวมตัวกันได้ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันของผู้พักอาศัยได้อย่างครบทุกมิติในการใช้ชีวิตมากขึ้น อย่างเช่น การนำ Gallery หรือสตูดิโอทำงานศิลปะมาอยู่รวมกับอพาร์ทเม้นท์ เป็นต้น
[China] Fei Architects designs apartment block that frames residents’ daily lives in Guangzhou
ปัจจุบัน กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ มีความต้องการที่จะแสดงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันเพื่อแสดงออกถึงการมีตัวตนและความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการนี้ Zi Ni Twelve Portals เป็นโครงการที่อยู่อาศัยในกวางโจวประเทศจีนออกแบบโดย Fei Architects ได้ออกแบบที่พักอาศัยในรูปแบบของบล็อกหน้าต่างที่ผู้อยู่อาศัยและผู้สัญจรไปมาสามารถมองเห็นซึ่งกันและกันได้ ซึ่งคล้ายกับจอฉายภาพยนตร์ชีวิตประจำวันที่สดใส โดยในอพาร์ทเม้นต์นี้มีพื้นที่ส่วนกลางเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย ตอบโจทย์การพักอาศัยใช้ช่วงโควิด 19 ที่คนส่วนใหญ่ต้องอยู่บ้านอย่างโดดเดี่ยวและต้องการพื้นที่บ้านที่มากขึ้น
อย่างที่ทราบกัน แรงผลักดันจากโควิด 19 ได้ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคได้รับการเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อยทีเดียว จากบ้านที่ไว้สำหรับพักอาศัย ปัจจุบันผู้คนจะเริ่มเคยชินกับการทำทุกอย่างในบ้านโดยที่ไม่ต้องออกไปไหนไกล ไม่ว่าจะกิน นอน เล่น หรือแม้กระทั่งเข้าสังคม พฤติกรรมนี้จะกลายเป็นสิ่งปกติใหม่ (New Normal) ที่เป็นโจทย์ให้ผู้ประกอบการหรือนักพัฒนาทั้งหลายต้องเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบที่พักอาศัยใหม่ เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launch ออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์
#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch#TrendFastTrack2020 #WisdomDrivetheFuture