พวกเราต่างคุ้นเคยกับการนำเสนอแบรนด์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อมุ่งไปสู่สินค้าและบริการอย่างชัดเจน แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีบางสิ่งบางอย่างที่ต่างออกไป นั่นคือ หลายต่อหลายแบรนด์ปรับเปลี่ยนวิธีคิดไปจากเดิม นำเสนอสินค้าและบริการของตัวเองด้วยวิธีการใหม่ๆ บางแบรนด์แทบจะไม่บอกเล่าเรื่องราวของสินค้าและบริการตรงๆ เพราะอะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
นั่นก็เพราะในยุคสมัยที่ข้อมูลข่าวสารกระจายไปได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น การขายของสิ่งเดิมที่มีคู่แข่งในตลาดเป็นจำนวนไม่น้อย จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนการนำเสนอเพื่อชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายพุ่งเป้าและให้ความสนใจเป็นพิเศษ
Trend Fast Track สัปดาห์นี้เราจะพาไปดูว่า มีแบรนด์ไหนที่ออกมานำเสนอตัวตนที่ไม่เหมือนใคร ลองไปดูกันครับ
1.(Malaysia) Manulife ไม่โฆษณาเหมือนก่อน แต่ยกป้ายให้เป็นพื้นที่ศิลปะ
Manulife บริษัทให้บริการประกันรายใหญ่ในประเทศมาเลเซีย ที่เป็นเจ้าของพื้นที่สื่อ OOH (out-of-home media) ในสถานีรถไฟฟ้า ยกพื้นที่ของตัวเองให้กับศิลปินท้องถิ่นใช้นำเสนองานศิลปะ พลิกมุมกลับปรับมุมมองให้สถานีรถไฟฟ้ากลายเป็นแกลลอรีที่สามารถผ่อนคลายสายตาให้กับผู้ที่สัญจรไปมาได้
ความน่าสนใจของแคมเปญนี้ อาจจะเป็นการแฝงความตระหนักรู้ในแบรนด์ให้เกิดขึ้นกับ Manulife จากกลุ่มศิลปินในท้องถิ่น เพราะเป็นที่รู้กันว่า ศิลปินต่างๆ มักจะเป็นอาชีพอิสระหรือ Freelance ที่ไม่ค่อยมีหลักประกันเหมือนกับพนักงานบริษัทหรือข้าราชการที่มีสิ่งเหล่านี้รองรับ อาจทำให้ศิลปินที่รับรู้การมีอยู่ของแบรนด์จากพื้นที่แสดงงานศิลปะเหล่านี้ กลายเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ของแบรนด์ได้เช่นกัน
Credit ภาพ: Manulife-Malaysias-CEO-with-the-artist-Emila-Yusof-e1561519647981-768×461.jpg
2.(Sweden) DOCONOMY บัตรเครดิตที่ตระหนักต่อโลก มีวงเงินก็รูดไม่ได้ถ้าทำลายโลกมากเกินไป
DOCONOMY ออกบัตรเครดิตรักษ์โลกที่ชื่อ DO Black เพื่อสร้างการตระหนักในทุกการใช้จ่ายของคุณ โดยทุกครั้งที่คุณรูดสินค้าอะไรก็ตาม จะปรากฏข้อมูลในแอปพลิเคชันว่าสิ่งของที่คุณซื้อมานั่น มีค่า Carbon Footprint เท่าใด และเมื่อคุณช้อปจนถึง ‘ขีดจำกัดคาร์บอน’ ที่ตั้งไว้ในแต่ละเดือน ต่อให้คุณยังมีวงเงินเหลือมากเท่าใดก็ตาม คุณก็ไม่สามารถรูดได้อีกต่อไป โดยที่ตัวบัตรเองถูกผลิตจากวัสดุชีวภาพ และพิมพ์ด้วย Air Ink ที่เป็นหมึกจากอนุภาคมลพิษทางอากาศที่นำมาใช้ใหม่
Credit ภาพ: doconomy-carbon-credit-card-design_dezeen_2364_col_3.jpg
3.(Thailand) นันยางมาเหนือเมฆ ขายรองเท้าแบบ Unlimited limited Edition
หลังจากที่ลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีกสมัยที่ 6 นันยางก็ใช้โอกาสนี้ ในฐานะแฟนบอลของทีม ประกาศจำหน่ายรองเท้านันยาง ‘สีแดงล้วน’ ในรูปแบบใหม่ที่ไม่มีใครเหมือน คือ จำหน่ายแบบ Pre-order เพียง 90+6 นาทีในช่องทางออนไลน์เท่านั้น ที่เป็นกิมมิกที่แฟนหงส์คุ้นเคย
แต่แน่นอนว่า หากคุณเป็นแฟนของวงการรองเท้า Limited Edition ทั้งหลายจะพบว่ามักจะเกิดปัญหาการแย่งชิงต่อคิวเพื่อคว้าโอกาสในการครอบครอง นันยางจึงอยากจะอุดรอยรั่วเหล่านี้ โดยยังคงคุณค่าของแบรนด์ได้ และลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ทุกคน (ที่สั่งในช่วงเวลาที่กำหนด) ด้วยวิธีการที่ง่ายดายที่สุด
และขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ต้องการครอบครองในตอนนี้ คุณหมดสิทธิ์แล้วนะครับ อย่างที่บอกไปว่านันยางได้นำเสนอวิธีการในการจำหน่าย ดังนั้น แม้มันจะเคย Unlimited แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แบบนั้นแล้วครับ
Credit ภาพ: https://www.facebook.com/NanyangLegend/photos/a.10150131045532376/10157522231032376/?type=3&theater
4.(China) บอกลาบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติก ด้วยขวดที่ทำจากสบู่
บรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่ที่เรียกว่า Soapack ทำมาจากสบู่ก้อนนำมาหล่อขึ้นเป็นขวด ส่วนของเหลวภายในก็เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการทำความสะอาดเช่นกัน ก็สามารถทยอยใช้สิ่งที่อยู่ในขวด จากนั้นจึงจะใช้ขวดที่มีสีสันสดใสในภายนอกให้หมดไปได้เช่นกัน
Credit ภาพ: 6.jpg
5.(Africa) Black & Abroad เปลี่ยนความเกลียดให้กลายเป็นโอกาสของการท่องเที่ยว Africa ด้วย Campaign “Go Back to Africa”
Black & Abroad บริษัทการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ที่อุทิศตนเพื่อสร้างนิยามของประสบการณ์แห่งโลกใหม่ให้กับนักเดินทางผิวสีที่เป็นคนรุ่นใหม่ ด้วยการเปลี่ยนข้อความที่เหยียดเชื้อชาติและสร้างความเสื่อมเสียให้กลายเป็นมุมบวก คำว่า “กลับไปแอฟริกาซะ” (#GoBackToAfrica) มักจะพบในโลกออนไลน์เมื่อมีคนบางกลุ่มไม่พอใจคนผิวสีก็จะถูกขับไล่ด้วยข้อความที่ว่า “กลับไปแอฟริกาซะ” Black & Abroad จึงใช้ข้อความนี้เป็นเหมือนข้อความเชิญชวนให้คนมาเที่ยวแอฟริกาซะเลย ให้คนเห็นถึงความสวยงามและความหลากหลายทางธรรมชาติ และรับรู้ว่าแอฟริกาคือประเทศที่สมควร “กลับไปแอฟริกา” มากๆ
Credit ภาพ: Go Back To Africa
6.(UK) ของเหลือในตู้เย็นกลายเป็นเมนูระดับภัตตาคารได้ด้วยมือเรา
Hellmann’s สร้างประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ไม่เหมือนใคร โดยเชิญผู้คนให้นำสิ่งที่เหลืออยู่ในตู้เย็นมาที่ห้องอาหาร เชฟผู้มีชื่อเสียงของเราจากนั้นเปลี่ยนส่วนผสมที่ถูกลืมของพวกเขาให้กลายเป็นอาหารระดับห้าดาว พิสูจน์ให้เห็นว่า Hellmann’s สามารถผสมผสานอะไรได้เกือบทุกอย่าง และแทนที่จะเรียกเก็บเงิน ก็สร้างแปลกใจผู้คนอีกครั้งด้วยสูตรอาหารของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีบันทึกส่วนผสมหลายพันรายการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนมองเห็นอาหารในตู้เย็นของพวกเขาในมุมมองใหม่
Credit ภาพ: HellmannsThe Restaurant With No Food_SPLASH_02.jpg
7.(Brazil) เมื่อจักรยานภาษีมันแพง ก็ขายจักรยานในแบบที่ไม่ใช่จักรยานสิ
จักรยานเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ต้องเสียภาษีสูงสุดในบราซิล กว่า 70% ของราคาจักรยาน Bicycling Magazine จึงตัดสินใจทำ The Outlaw Bike ขึ้น ซึ่งเป็นจักรยานที่แกล้งทำเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อที่จะได้จ่ายภาษีน้อยลง โดยถ้าขายในกลุ่มสินค้าที่เป็นเฟอร์นิเจอร์จะเสียภาษีเพียง 12% และเมื่อซื้อมาสามารถนำมาประกอบเป็นจักรยานได้ โดยจักรยานนี้สร้างขึ้นจากชิ้นส่วนและวัสดุเดียวกันกับจักรยานปกติ แต่เพียงแค่วิธีการประกอบ ซึ่งการเปลี่ยนเพียงเล็กน้อยนี้ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าชนิดนี้เป็นอย่างมาก
Credit ภาพ: bicycling-magazine-the-outlaw-bike-direct-marketing-design-414626-preview-adeevee.jpg
8.(Brazil) Corona บิดวิธีคิด ด้วยกระป๋องรักษ์โลก แถมสะดวกพกพา
ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม มีหลายแบรนด์ที่ช่วยลดการใช้พลาสติกมานานแล้ว แต่ปัญหาก็คือถ้าไม่ใช่พลาสติก ก็ต้องไปให้วัสดุอื่นเข้ามาแทนที่อยู่ดี Corona จึงได้มีการคิดค้นกระป๋องแบบใหม่ที่ตัวกระป๋องเองกลายเป็นที่จับให้ลูกค้าถือเบียร์ปริมาณมากๆ ได้เอง โดยที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นเข้ามาช่วย ซึ่งเป็นผลงานของ Leo Burnett Mexico ทริกอยู่ที่การดีไซน์ให้พื้นที่ด้านบนของกระป๋องเป็นสกรูที่มีพื้นที่พอจะขันเชื่อมต่อกับส่วนท้ายของตัวกระป๋องเบียร์กระป๋องอื่น ทำให้สามารถเชื่อมต่อกันเรื่อยๆ โดยสามารถถือต่อกันได้มากถึง 6 กระป๋อง
Credit ภาพ: 190624_FOOD_Beer2.jpg
อย่างที่นำเสนอไป จะเห็นได้ว่าแต่ละแบรนด์ต่างก็เปลี่ยนวิธีคิดเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ในรูปแบบใหม่ และฉีกไปจากกฎการขายแบบเดิม ซึ่งแบรนด์ยุคใหม่ที่อยากจะไปต่อได้ในโลกที่หมุนเร็ว ควรจะหาโอกาสปรับตัวให้เท่าทันคู่แข่งและความต้องการของลูกค้านะครับ
🔥 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน 🔥 โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคตและการออกแบบ เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launch ออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์
#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch
#TrendFastTrack2019 #WisdomDrivetheFuture
Cover Credit: shutterstock_732336775.jpg