จากการวิจัย Local Movement กลุ่มเป้าหมายคนไทย 97.52% ให้ความสนใจกลุ่มเทรนด์การออกแบบเพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต (ข้อมูลจาก Experience Design Future Trends 2019-20, Baramizi Lab Co. Ltd.)
ซึ่งมูลค่าตลาดของธุรกิจ Wellness นั้นภาพรวมอยู่ที่ 4.5$ ล้านล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว
ทางศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ ได้จัดทำข้อมูลเทรนด์สำหรับ Sector ที่น่าสนใจ ดังนี้
Wellness Food Trend : กิน เพื่อ สุขภาพ
โดยสามารถจำแนกย่อยเป็นเทรนด์ได้ ดังนี้
- Immunity Boosting กินเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน เพราะวิกฤต COVID-19 ช่วยทำให้ผู้บริโภคมองหาอาหารเพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันมากขึ้น
- ข้อมูลจาก Google Trends เผยว่าผู้บริโภค Search หาอาหารเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 670% ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม
- ตลาดอาหารเสริมเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันมีการเติบโตต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจะไปแตะ $3.94 ล้าน$ ในปี 2022 จาก 3.17 ล้าน$ ในปี 2018
2. Personalized Nutrition โภชนาการเฉพาะบุคคล เพราะทุกคนแตกต่างกัน
- ปัจจุบันอาหารและยาจะถูกทำขึ้นเพื่อทุกคน (One fit all)
- แต่จากการศึกษาพบว่า พันธุกรรม อาหาร สภาพแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพที่แสดงออกมานั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก
- อาหารเฉพาะบุคคล คือ การออกแบบโภชนาการสำหรับแต่ละบุคคลเพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด อาหารที่ออกแบบให้เหมาะสมกับร่างกายของแต่ล่ะบุคคล โดยคำนึงจากการใช้ชีวิต สารอาหารและสุขภาพ
3. New Trition โภชนาการรูปโฉมใหม่ ผู้คนเริ่มตระหนักในสวัสดิภาพสัตว์และภาวะการขาดแคลนอาหาร
- วีแกน (Vegan) คือหนึ่งในกลุ่มชาวมังสวิรัติ ไม่บริโภคอาหารที่มาจากสัตว์บริโภคเฉพาะอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากผัก ผลไม้และธัญพืชแบบ 100% วีแกนคือมีจุดประสงค์หลักคือไม่เบียดเบียนสัตว์และดีต่อสุขภาพ
Wellness Tourism Trend : ท่องเที่ยว เพื่อ สุขภาพ
โฟกัสที่การป้องกันโรคโดยเน้นไลฟ์สไตล์สุขภาพและการยกระดับคุณภาพชีวิต แตกต่างจาก Medical Tourism ที่เน้นการรักษาโรค/ อาการที่ถูกวินิจฉัยพบแล้ว
โดยสามารถจำแนกย่อยเป็นเทรนด์ได้ ดังนี้
- Wellness Sabbatical สมดุลระหว่างการงานและสุขภาวะ ปัญหาสุขภาพและความเครียดพุ่งสูงขึ้นแต่เราใช้เวลากับการพักผ่อนน้อยลงๆ
- สถิติฟ้องว่าปัญหาด้านสุขภาพเติบโตขึ้น ภาวะโรคอ้วน ปัญหาสุขภาพจิต พุ่งสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นี่ทำให้สุขภาพและความสุขของคนเป็นปัญหาใหญ่ที่ เราควรมาทบทวนและสร้างสมดุลทางสุขภาวะให้มากขึ้น
2. Nature Prescriptions ธรรมชาติ คือ ยารักษาโรค
เมื่อสังคมเมืองขยายตัวคนจึงเข้าถึงธรรมชาติได้น้อยลง
- ในปี 1950 คนราว 30% ของประชากรโลกอาศัยในเมือง ปี 2018 เพิ่มขึ้นมาเป็น 55% และภายในปี 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 68%
- ค่อนข้างชัดเจนว่าคนที่อยู่ในเมือง สามารถเข้าถึงธรรมชาติได้ยากขึ้น นั่นหมายความว่าการรักษาเยียวยาจากธรรมชาติไม่สามารถเข้าถึงคนส่วนใหญ่ในโลก
3. Soft Wellness Travel สุขภาวะแบบเนิบช้า
โรงแรมที่สร้างไลฟ์สไตล์เพื่อSoft Wellness อย่างเต็มรูปแบบ
- เกิดโรงแรมที่ออกแบบโปรแกรมเพื่อสุขภาพที่เปี่ยมไปด้วยความรู้เชิงสุขภาพ และใส่โปรแกรม Soft Wellness อย่างเต็มรูปแบบ เช่น ไทเก็ก โยคะ การทำสมาธิ การเดินในธรรมชาติ และการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
Corporate Wellness สุขภาวะในที่ทำงาน
Corporate Wellness คือโปรแกรมที่ถูกออกแบบเพื่อสร้างเสริมไลฟ์สไตล์สุขภาพดีในที่ทำงาน
งานวิจัยระบุว่า Corporate Wellness ช่วยลดการขาดงาน เพิ่มผลิตภาพในการทำงานและเสริมสร้างกำลังใจที่ดีในการทำงาน
โดยสามารถจำแนกย่อยเป็นเทรนด์ได้ ดังนี้
- Health Wearables อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาวะที่ดี เพื่อดูแลสุขภาพพนักงานอย่างใกล้ชิด
- Health Wearable คือนวัตกรรมที่ช่วยให้นายจ้างสามารถตรวจสอบสมรรถภาพทางร่างกาย, สถานะทางชีวภาพ, และข้อมูลทางกายภาพต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการค้นหาโรคและป้องกันก่อนที่โรคจะเกิด
- มีแนวโน้มเติบโตด้วยนโยบายดูแลสุขภาพเชิงป้องกันของบริษัท
2. Personalized Wellness ดูแลสุขภาพเฉพาะบุคคล
การแบ่งพนักงานด้วยปัจจัยเชิงจิตวิทยา
- การทำความเข้าใจพนักงานโดยการจัดกลุ่มตามความต้องการเชิงจิตวิทยาช่วยให้สามารถจัดสรรการบริการต่างๆ ให้เข้ากับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย นายจ้างอาจแบ่งพนักงานออกตามความสนใจ อายุ อายุงาน งานอดิเรก เหล่านี้จะช่วยสร้างสรรค์การเทรนนิ่งให้เติมเต็มความต้องการของพนักงานได้
3. Virtual Therapy สุขภาพดีด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง
ตอบโจทย์ข้อจำกัดด้านเวลาของพนักงาน
- พนักงานสามารถเข้าถึงการรับคำปรึกษาด้านสุขภาพจากมืออาชีพผ่านการโทรศัพท์หรือ Video Confernece ช่วยประหยัดงบประมาณของบริษัท และตอบโจทย์ข้อจำกัดด้านเวลาของพนักงาน
- Virtual Therapy App สามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีทันสมัยอย่าง Virtual Reality
และใช้ A.I. ในการเรียนรู้อารมณ์ของคน และปัญหาสุขภาพจิต
Wellness Living สุขภาวะในที่พักอาศัย
Wellness Living ครอบคลุมทั้งที่พักอาศัย และ ชุมชน ตามนิยามของ Global Wellness Institute ได้ให้นิยามคำสำคัญ 2 คำไว้ดังนี้
Wellness lifestyle Real Estate คือ ที่พักอาศัยถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพดีแบบองค์รวมให้กับผู้อยู่อาศัย
Wellness Community คือ กลุ่มคนที่อาศัยในชุมชนเดียวกันและมีเป้าหมาย ความสนใจ และประสบการณ์ร่วมกันเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเชิงป้องกันที่ดีในหลากมิติ
โดยสามารถจำแนกย่อยเป็นเทรนด์ได้ ดังนี้
- Workout @Home Virtual Fitness กลายเป็นความปกติใหม่หลัง COVID-19
- COVID-19 บังคับให้เราต้องออกกำลังกายในร่ม และใช้ Virtual Fitness จึงทำให้ Virtual Fitness กลายเป็นความปกติใหม่ในการออกกำลังกาย
- ผู้บริโภค 59.9% จะออกกำลังกายในที่พักอาศัยเพิ่มขึ้นหลังจาก COVID-19 (The day after crisis Research, Baramizi Lab 2020)
- ยิมและสถานที่ออกกำลังกายหลายแห่งต่างต้องปรับตัวในสถานการณ์โรคระบาด ยิม, โยคะย้ายไปเปิด Online Class ในขณะะเดียวกัน Fitness App ก็มียอดดาวน์โหลดสูงขึ้น
2. Sleep Tech เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพการนอน
คุณภาพการนอนชี้วัดคุณภาพของวันใหม่
- การนอนคือสิ่งสำคัญ การเริ่มต้นวันใหม่ที่ดีต้องเริ่มจากการนอนที่มีคุณภาพ แต่เรามักละเลยการวิเคราะห์ว่าเรานอนนานเพียงพอมั๊ย และนอนแบบมีคุณภาพมากน้อยเพียงไร
- Air Purifier อุปกรณ์เพื่อเพิ่มคุณภาพอากาศ
ฝุ่น PM2.5 ที่ก่อตัวพร้อมฤดูหนาว
- ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหามลภาวะทางอากาศที่สำคัญที่คนในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลต้องเจอมาอย่างต่อเนื่อง
- และดูเหมือนว่านี่จะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น เพราะในช่วงฤดูหนาวของทุกปี สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จะกลับมาอีกครั้ง
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลชุดนี้ ท่านสามารถลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลได้ที่ https://forms.gle/gpDSWUk3xbTxcdit6