TREND FAST TRACK : Digital Transformation Trend Man-machine Relationship : เมื่อเทคโนโลยีกับมนุษย์ถูกผสานเป็นหนึ่งเดียว

ในโลกแห่งการแบ่งปัน “ความฉลาด” ระหว่างความฉลาดของมนุษย์และความฉลาดของเครื่องจักร องค์ความรู้ที่มนุษย์สะสมกันมาตั้งแต่สมัยโบราณและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงยุคปัจจุบันกำลังจะถูกฝากเอาไว้ที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ทั้งหมดของมนุษย์ได้ในเวลาเพียงไม่นาน จนเกิดเป็นการสร้างความสัมพันธ์ขึ้นระหว่างมนุษย์และเครื่องจักร (Man-machine Relationship) ด้วยการผสานกันในเชิงกายภาพ (Hybridization) และการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเครื่องจักรกับมนุษย์  (Interaction) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มั่นคงและต่อเนื่องมากกว่าแค่ความสัมพันธ์ในรูปแบบการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายตามคำสั่ง

ในขณะที่แนวคิดเรื่องการทำร่างกายเสมือน (Augmented Body) เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะเทียม และการทำจิตใจเสมือน (Augmented Mind) เช่น การสร้างและเคลื่อนย้ายความทรงจำ (Hypermemory) ที่เราพบเห็นในหนังนิยายวิทยาศาสตร์นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตมนุษย์ อ้างอิงจากรายงานของ Knowledge Sourcing ระบุว่า ตลาดของ “Connected Brain” จะมีมูลค่าสูงถึง 1.84 บิลเลี่ยนดอลลาร์ในปี 2023 นำโดย Neuralink บริษัทร่วมทุนก่อตั้งโดยอีลอน มัสก์ เจ้าของแบรนด์ Tesla และนวัตกรคนสำคัญของโลกในยุคปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีเชื่อมสมองมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อความก้าวหน้าทางการแพทย์และปัญญาประดิษฐ์
Photo Credit : Neuralink
Image result for neuralinkImage result for neuralink
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด Trend Fast Track ประจำสัปดาห์นี้จึงขอนำเสนอกรณีศึกษาจากทั่วโลกเรื่องการนำเทคโลยีมาเพิ่มศักยภาพในตัวมนุษย์

[สวีเดน] Brainlit สตาร์ทอัพสัญชาติสวีเดนทำ BioCentric Lighting ระบบแสงภายในที่เลียบแบบแสงจากธรรมชาติและปรับให้เข้ากับพฤติกรรมของมนุษย์ผู้ใช้งานในพื้นที่นั้นๆได้ ด้วยการเรียนรู้ผ่านระบบ Sensors และ Algorithm

ปัจจุบันคนเราใช้ชีวิตอยู่ภายในอาคารมากกว่าข้างนอก ทำให้โอกาสในการรับแสงจากธรรมชาติน้อยลง เป็นจุดเริ่มต้นของ Brainlit ที่อยากให้มนุษย์สัมผัสกับแสงธรรมชาติแม้อยู่ในอาคาร โดยแสงที่ใช้เป็นเทคโนโลยี Biocentric Light ที่ปรับเปลี่ยนแสงตามความต้องการและกิจกรรมเฉพาะบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ของแสงนั้นๆ ด้วยการวิเคราะห์ค่าจาก Sensors และ Algorithm ลูกค้าปัจจุบันมีทั้งกงศุลของสวีเดนในฮ่องกงและ Medicon Village ในเมือง Lund ของสวีเดน โดยสตาร์ทอัพรายนี้สามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้มากถึง 350 ล้านบาทโดยประมาณ
Credit : oresundstartups.com

Image result for BrainlitImage result for Brainlit

[เดนมาร์ก] Corti : AI Digital Assistant ที่สามารถช่วยชีวิตคนจากโรคหัวใจเอาไว้ได้ ด้วยการวิเคราะห์เสียงของคนที่โทรเข้ามาทางโทรศัพท์ฉุกเฉินของโรงพยาบาล และประมวลผลแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่อย่างรวดเร็ว

ในปัจจุบัน AI และเทคโนโลยีขั้นสูงถูกเอามาใช้ในกระบวนทางการแพทย์เยอะมาก แต่ในขั้นตอนของการช่วยเหลือฉุกเฉินอย่างสายด่วนเรียกรถพยาบาลหรือสายด่วนแจ้งเหตุฉุกเฉินซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญและมีผลต่อความเป็นความตายมากที่สุดกลับไม่ค่อยมีเทคโนโลยีมาช่วยเหลือมากนัก จึงเกิดเป็นแนวคิดในการออกแบบเจ้า AI Digital Assistant นี้ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาลดเวลาในการส่งทีมเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินที่โทรเข้ามาที่สายด่วน โดยเจ้า Corti จะมีลักษณะเหมือนโคมไฟที่ตั้งอยู่บนโต๊ะทำงานของเจ้าหน้าที่ ให้แสงอ่อนๆ ที่ดูเป็นมิตรและดึงดูด Corti จะช่วยวิเคราะห์น้ำเสียง รูปประโยค การเต้นของหัวใจ และลมหายใจของคนที่โทรเข้ามา จากนั้นแสดงผลให้เจ้าหน้าที่รู้ จากการทดลองใช้พบว่าได้ผลที่แม่นยำกว่าการวิเคราะห์ของมนุษย์ โดย Corti แม่นยำ 93% ส่วนมนุษย์แม่นยำ 73% อย่างไรก็ตามโครงการนี้ยังมีอุปสรรคเรื่องความกลัวของมนุษย์ในการฝากความเป็นความตายไว้กับการวิเคราะห์ของ AI
Credit : corti.ai

Image result for corti aiImage result for corti ai

[สหรัฐฯ]  ฝึกหุ่นยนต์ AI ให้เรียนรู้การรบจากสมองของ “เกมเมอร์”!

ทีมวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จาก University of Buffalo ได้วางแผนที่จะเรียนรู้สมองและการเคลื่อนไหวดวงตาของเกมเมอร์ทั้งหมด 25 คนขณะเล่นเกม จากนั้นนักวิจัยจะใช้ข้อมูลที่ได้มาจากเกมเมอร์เพื่อนำไปฝึก AI ต่อไป สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงด้านการป้องกันประเทศสหรัฐอเมริกาหรือที่รู้จักกันดีในนาม DARPA ได้มอบเงินทุนจำนวน 316,000 เหรียญสหรัฐแก่นักวิจัยจาก Souma Chowdhury ซึ่งนักวิจัยได้สร้างเกมวางแผนการรบแบบเรียลไทม์สำหรับการวิจัยโดยใช้เวลาประมาณ 5 ถึง 10 นาทีในการเล่นให้จบใน 1 เกม โดยนักวิจัยระบุว่า ให้เกมเมอร์เล่นเกมประเภทนี้คนละ 6-7 รอบก็จะได้ข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการฝึก AI นักวิจัยกล่าวว่า “มนุษย์มีความสามารถในการวางกลยุทธ์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่ง AI ไม่สามารถเรียนรู้จากที่ไหนได้ สิ่งที่เราเห็น AI กระทำนั้นค่อนข้างเป็นสภาวะที่แน่นอน แต่หากต้องมีการพลิกแพลงก็ยังสู้มนุษย์ไม่ได้” ท้ายสุด ทีมวิจัยระบุว่าข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ฝึกหุ่นยนต์ทั้งภาคพื้นและอากาศได้
Credit : futurism.com

 

[แอฟริกา] ใช้ AI ในการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ของเด็กๆ ในซิมบับเว

เทคโนโลยี Open-Source จากซิมบับเว “Tress of Knowledge” เกิดจากความตั้งใจของ William Sachiti ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และเจ้าของ Startup สถาบันด้านหุ่นยนต์เพื่อการศึกษาของแอฟริกา อ้างอิงจาก UNESCO เด็กๆใน Sub-saharan Africa ในช่วงวัยปฐมวัยสูงขึ้นสองเท่าตั้งแต่ 1990 และ 1 ใน 5 ของเด็กกลุ่มนี้ต้องอยู่นอกโรงเรียน Sachiti เห็นศักยภาพของ Smartphone ในการเพิ่มการเข้าถึงการศึกษา จากตัวเลข 23% ของคนใน Sub saharan Africa เข้าถึง Smartphone และคาดว่าจะขึ้นไปถึง 39% ในอีก 5 ปี เทคโนโลยีสามารถทำให้ Landmark ในชานเมืองปล่อยสัญญาณ Wifi พร้อม Content การศึกษา ใครก็ตามในระยะ 100 เมตร เข้าถึงข้อมูลได้ฟรี โดยไม่ต้องพึ่งเครือข่ายอินเตอร์เนต และ Landmark นี้ยังใช้เป็นที่ชาร์ตมือถือพลังงานแสงอาทิตย์อีกด้วย
Credit : techinafrica.com

Africa Zimbabwean AI Expert and Entrepreneur Develops Open-sourced Technology to Improve Access to Education

จากกรณีศึกษาที่เรานำมาเล่าทั้งหมดจะเห็นว่า AI ถูกนำไปใช้กับทั้งการฝึกยุทธวิธีทางสงคราม ในขณะเดียวกันก็ถูกใช้ในการช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ รวมถึงภาพความกลัวที่เรามีต่อ AI ว่ามันจะมาแย่งงานมนุษย์ จะรุกขึ้นมาต่อต้านทำสงครามกับมนุษย์ แต่เหรียญมี 2 ด้านเสมอ อยู่ที่มุมมองและวิธีที่เรานำมันไปใช้

 Trend Fast Track เทรนด์สดใหม่เสิร์ฟร้อน  โดย Baramizi Lab ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต เราได้ทำการ Spot กรณีศึกษา (Case Study) จากข่าวสารแหล่งต่างๆ และศึกษาเทรนด์การออกแบบประสบการณ์เด็ดๆ อะไรที่แบรนด์พร้อมใจกันสร้าง และ Launch ออกมาทั่วโลกในแต่ละสัปดาห์

#FutureLabResearch #ResearchForBusiness #FutureTrendResearch#TrendFastTrack2019 #WisdomDrivetheFuture