“Interlock Life”
เป็น 1 ใน 27 เทรนด์การออกแบบประสบการณ์ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ (Experience Design Future Trend 2019-20 for Property Sector) ที่ได้รับผลกระทบจาก Key Impact ด้าน Ageing Society
ประสบการณ์แบบ Interlock คืออะไร ?
Interlock คือแนวโน้มการออกแบบพื้นที่พักอาศัยที่สามารถรองรับครอบครัวที่มีสมาชิกหลายรุ่น (Multi-Generation Family) สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัวในพื้นที่เดียวกัน กลุ่มเป้าหมายของประสบการณ์นี้จะตรงกันข้ามกับประสบการณ์แบบ Senior Hub คือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่กับครอบครัวมีลูกมีหลานที่เติบโตสร้างครอบครัวขนาดเล็กๆ หลายครอบครัวและมีความสุขที่จะอยู่ร่วมกัน ซึ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มจะอยู่ร่วมกันในลักษณะนี้อยู่แล้วแต่ความน่าสนใจของปี 2019-20 แนวโน้มเช่นนี้กลับเติบโตขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีวัฒนธรรมของการแยกครอบครัวซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากสภาวะทางเศรษฐกิจตกต่ำที่ทำให้คนวัย Millennial เลือกที่จะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
ประสบการณ์นี้ถูกคิดมาเพื่อรองรับครอบครัวในหลายๆ ขนาด ทั้งครอบครัวที่มี 2 วัย (วัยทำงานอยู่ร่วมกับพ่อแม่), 3 วัย (มีทั้งรุ่นพ่อแม่และลูกๆ) หรือครอบครัวที่ใหญ่กว่านั้น หัวใจหลักในการออกแบบประสบการณ์นี้คือ การสร้างสรรค์ Function แบบ ‘Combine’ and ‘Separate’ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งสองส่วน โดยที่…
1) Combine Space คือพื้นที่ที่สมาชิกในครอบครัวสามารถใช้ชีวิตและใช้เวลาร่วมกันได้พร้อมหน้าพร้อมตา อาทิ ห้องครัว, ห้องทานอาหาร, สวนหลังบ้าน, พื้นที่เปิดโล่งอื่นๆ
2) Separate Space คือพื้นที่ส่วนตัว ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดคือห้องนอน นอกเหนือจากนั้นอาจเป็นห้องทำงาน, ห้องเล่นเกมส์, ห้องเรียนหนังสือ หรือห้องที่มีการใช้งานเฉพาะอื่นๆ หรือกรณีเป็นครอบครัวอาจต้องมีห้องรับแขกและห้องนั่งเล่นส่วนตัวของครอบครัว
“ความเป็นส่วนตัว” คือปัจจัยสำคัญที่สุด และเป็นความท้าทายของที่พักอาศัยที่มีสมาชิกหลายครอบครัวมาอยู่รวมกัน แต่ละวัยที่อาศัยอยู่ในบ้านต้องการพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง ทั้งคู่สามีภรรยาที่ต้องการมี
เวลาโรแมนติกหรือพูดคุยเรื่องส่วนตัว และลูกๆ ก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัวสำหรับการคุยกับเพื่อน, ทำการบ้าน หรือเล่นเกมส์ การสร้างความเป็นส่วนตัวสามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่การออกแบบระบบกันเสียง,
ระบบล็อค, หรือการตั้งกฏสำหรับครอบครัว
Key Experience ในประสบการณ์แบบ Interlock คืออะไร ?
ในโจทย์ของการสร้างประสบการณ์ให้ครอบครัวผู้อยู่อาศัยได้ใช้ชีวิตได้ทั้ง 2 โหมดคือ โหมดอบอุ่นครอบครัวใหญ่ และโหมดส่วนตัวของครอบครัวเล็กตลอดจนส่วนตัวของคนแต่ละคน เป็นความท้าทายที่สถาปนิกนักออกแบบต้องพบเจอในทุกยุคทุกสมัย และบ้านแต่ละหลังก็มีการออกแบบให้ตอบโจทย์นี้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เทคนิคการสร้างประสบการณ์ที่เราพบความน่าสนใจสำหรับปีนี้แบ่งได้เป็น 3 เทคนิคหลักๆ
1) ‘Free’ Space
เพิ่มพื้นที่อิสระ เพิ่มโอกาสรูปแบบการใช้ชีวิตให้สมาชิกครอบครัว ปกติบ้านหลังหนึ่งจะมีพื้นที่ส่วนกลาง (Common Area) และพื้นที่ส่วนตัว (Private Area) แนวคิดการมี Free Space เป็นการเพิ่มพื้นที่ว่างบริเวณกลางบ้านที่เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่าง Common Area & Private Area เข้าด้วยกันซึ่งพื้นที่ที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะเอื้อประโยชน์ให้เกิดพื้นที่ส่วนตัวเฉพาะรูปแบบของสมาชิกภายในบ้านที่นอกเหนือจากห้องนอน และทำให้เกิดความอิสระของสมาชิกภายใต้การอยู่ร่วมกันในบ้านหนังใหญ่
2) Interlock Space
การแยกพื้นที่บ้านออกเป็นส่วนตามจำนวนครอบครัวเล็กๆ ที่เป็นสมาชิกของบ้านและเชื่อมกันด้วยพื้นที่ Common Area สำหรับการใช้ชีวิตร่วมกันเช่น การสร้างรูปทรงของบ้านเป็นรูปแบบ Z-shaped ซึ่งเป็นรูปทรงที่ตรงไปตรงมาในการมีพื้นที่ของแต่ละครอบครัวที่ส่วนหางทั้ง 2 ฝั่งของตัว Z และส่วนลำตัวของ Z ก็คือพื้นที่ Interlock ที่ทุกครอบครัวจะมาร่วมวงกันในเวลาที่กำหนด
3) Multi-living Unit
สร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยในแบบฉบับของตนเองเสมือนเป็น Unit ย่อยมารวมกันเป็นบ้านของครอบครัวหลังใหญ่ จุดสำคัญของประสบการณ์ที่เกิดขึ้นคือ การทอนสเกลของตัวสถาปัตยกรรมให้ดูเหมือนบ้านหลังเล็กหลายๆ หลังแทนที่จะเป็นหลังใหญ่ที่ดูโอ่อ่าอลังการ และการออกแบบประสบการณ์ที่รูปด้านของบ้านแต่ละหลังมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและการจัดภายในที่บ้านพร้อมจะเติบโตไปกับชีวิตทุกช่วงวัยของครอบครัว
ประสบการณ์แบบ Interlock Life จะประสบความสำเร็จในประเทศไทยหรือไม่ ?
Baramizi Lab เลือกเทรนด์นี้ให้เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจลำดับต้นๆ เนื่องจากตรงกับจริตครอบครัวคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนชนชั้นกลางขึ้นไปที่อยู่ในเมือง เมื่อถึงวัยที่พ่อแม่ต้องการการดูแลที่มากขึ้น กลุ่มคนเหล่านี้จะค้นหา Solution ที่เป็นคำตอบของครอบครัว ประสบการณ์แบบ Interlock Life จึงเป็นคำตอบของพวกเขาได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การปรับปรุงบ้านหลังเดิมให้ตอบโจทย์ครอบครัวที่ขยายใหญ่ขึ้นก็น่ามีแนวโน้มเติบโตขึ้นเช่นเดียวกัน
ประสบการณ์แบบ Interlock Life นำไปต่อยอดอะไรได้บ้าง ?
หากมองแบบผิวเผินประสบการณ์แบบ Interlock Life ดูจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกแบบตัวบ้านเป็นหลัก แต่การต่อยอดโดยเกิดจากการเข้าใจ Insight ของกลุ่มเป้าหมายเช่นนี้ เราสามารถแตกไอเดียออกได้เป็นโอกาสในหลายๆ ประสบการณ์ เช่น
1) ประสบการณ์ด้านสินค้า – สามารถนำ Interlock Life ไปใช้กับการคิดคอนเซปท์ของโครงการ ตัวบ้านทั้งหลัง กระทั่ง Space บางส่วนของบ้าน เช่น
– โครงการสำหรับครอบครัวหลายวัย (Multi-generation) โดยเฉพาะ ซึ่งอาจมีแบบบ้านที่ตอบโจทย์ครอบครัวที่มีจำนวนครอบครัวย่อยแต่ละรูปแบบ เช่น 3 ครอบครัวในบ้านเดียว, 2 ครอบครัวในบ้านเดียว เป็นต้น
– การสร้างสรรค์ Space ภายในที่พื้นที่ Interlock Life ให้เปี่ยมไปด้วยความหมาย และเพิ่มพื้นที่ ‘Free’ Space สำหรับสมาชิกในครอบครัว
– ทางเลือกของการ Combine Unit เช่น เสนอซื้อ 2 หลังที่ติดกันให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่โดยเพิ่มทางเลือกของไอเดียการต่อเติมที่ทำให้เกิด Multi-Living Unit
– ไอเดียของบ้านที่เติบโตไปพร้อมกับครอบครัว
– Universal Design การออกแบบที่ลงถึงรายละเอียดของการใช้งาน และความปลอดภัยสำหรับการมีผู้สูงอายุในบ้าน
2) ประสบการณ์ด้านการบริการ – เมื่อเราเข้าใจใน Insight ของกลุ่มนี้ที่เกิดขึ้นต่อยอดไปยังประสบการณ์อื่นๆ ได้ เช่น การสร้างเทคโนโลยีหรือ Platform ที่เชื่อมโยงคนในครอบครัวเข้าด้วยกัน เหมือนสร้างสภาวะ Interlock Lifeให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ในออนไลน์เพื่อขยายเวลาแห่งการ Interlock Life ของครอบครัวให้เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน, เทคโนโลยีที่ช่วยดูแลความปลอดภัยและการช่วยเหลือที่ทันท่วงทีของผู้สูงอายุที่อยู่บ้านลำพัง
3) ประสบการณ์ด้านบรรยากาศ – ควรคำนึงถึงบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยทั้งวันของผู้สูงอายุ และอาจมีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับการดูแลสุขภาพร่างกายของพวกเขา
4) ประสบการณ์ด้านการสื่อสาร – ความอบอุ่นของครอบครัวเป็นประเด็นที่จับใจคนไทยเป็นอย่างมาก เมื่อเราคิดและสร้างสรรค์ประสบการณ์ด้านต่างๆ ที่ตอบโจทย์เป็นอย่างมากแล้ว ไอเดียการสื่อสารที่เป็นไปได้ เช่น การกระตุ้นความรู้สึกโหยหาในการได้อยู่ร่วมกัน หรือการได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับพ่อและแม่เพื่อตอบแทน เป็นต้น
ตัวอย่าง Case Study ที่น่าสนใจของ Interlock Life ได้แก่
A Multi-Generational Home In Maebashi
Architect : Shinta Hamada Architects
Location : Japan
Brand Experience : Product
- Insight : เจ้าของบ้านอยากได้บ้านที่แตกต่างและเติมเต็มบริบทโดยรอบที่เป็นธรรมชาติ และอีกความท้าทายสำหรับสถาปนิกคือความต้องการใช้ชีวิตแบบ multi-generation space ภายใต้พื้นที่ที่จำกัด
- Idea : การสร้างให้ครอบครัวที่มีความหลากหลายที่มีทั้ง วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสะดวกสบาย ในพื้นที่จำกัด
- Execution : ด้วยโจทย์ของผู้พักอาศัยซึ่งเป็น Multi Generation Family นักออกแบบจึงการออกแบบพื้นที่ให้ครอบครัวมีพื้นที่ว่างส่วนตัวที่เป็นอิสระ และสร้างพื้นที่สำหรับให้ทุกคนสามารถ รวมตัวทำกิจกรรมร่วมกันได้ พื้นที่ส่วนตัวจะแยกออกไปทางตอนเหนือสุดของบ้าน ในขณะที่พื้นที่ส่วนกลางซึ่งเป็นที่ตั้งของครัว, และห้องนั่งเล่น ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบ้าน. เพื่อให้พื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลางของบ้านสามารถเชื่อมต่อหากันได้ พื้นที่ตรงกลางถูกนิยามว่า “free”space พื้นที่อิสระที่สามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ เช่น พื้นที่ทำงาน, แกลลอรี่ หรือห้องสมุด
ที่มา: https://www.ignant.com/2018/03/29/a-multi-generational-home-in-maebashi/
The Hillhurst laneway house
Architect : Studio North
Location : Canada
Brand Experience : Product
- Insight : เจ้าของบ้านต้องการการออกแบบบ้านเดี่ยวสำหรับคนสองรุ่น, ทั้งเด็กเล็ก, คนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ
- Idea : บ้านเดี่ยวที่ส่งเสริมให้ครอบครัวสามารถขยายได้โดยอยู่ในบ้านเดิม
- Execution : The laneway house ตั้งอยู่บริเวณมุมถนน มีระเบียงหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสามารถมองเห็นถนนสายหลัก ตัวบ้านตั้งอยู่ทางทิศใต้หันหน้าไปทางสวน ในขณะที่โรงจอดรถสามารถเข้าสู่สวนบนชั้นดาดฟ้าที่สามารถเข้าถึงได้จากห้องใต้หลังคาเช่นกัน บ้านหลังนี้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการที่จะใช้ชีวิตเกษียณอยู่ในบ้าน เพื่อใช้ชีวิตกับครอบครัว และยังมีความคล่องตัว ทางด้านเหนือของบ้านลานว่างที่ใช้ร่วมกันจะช่วยให้สามารถจัดกิจกรรมสังสรรค์ในครอบครัวได้ พื้นที่อยู่อาศัยจะอยู่ในตำแหน่งชั้นล่างซึ่งเป็นชั้นหลัก ไม่จำเป็นต้องใช้บันไดทำให้มั่นใจได้ว่าผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้สะดวก การออกแบบผังเป็นเแนวยาวโดยมีพื้นที่ส่วนบริการ (Service Core ประกอบไปด้วยห้องท่อ, ห้องปั๊ม, ห้องทำความร้อน) เป็นแกนกลางในการใช้แยกพื้นที่ส่วนรวมและพื้นที่ส่วนตัว
ที่มา: https://www.archdaily.com/805565/hillhurst-laneway-house-studio-north
Caring Wood Home
Architect : Macdonald Wright Architects Rural Office for Architecture
Location : United Kingdom
Brand Experience : Product
- Insight : บ้านที่ออกแบบให้สามชั่วอายุคนอาศัยอยู่ใต้หลังคาเดียวกันได้
- Idea : ออกแบบให้คนหลากหลายรุ่นสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน และคงไว้ซึ่งความงดงามของชนบท
- Execution : Caring Wood Home เป็นบ้านในชนบทสำหรับให้คนสามชั่วอายุคนในครอบครัวเดียวกันอาศัยอยู่ภายใต้แนวคิดแบบ Multi Generational โดยการออกแบบได้ผสมผสานพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ส่วนกลางเข้าไว้ด้วยกัน Caring Wood Home มีเนื้อที่ 84 เอเคอร์ ได้รวบรวมจิตวิญญาณของบ้านและความเป็นอังกฤษเข้าใว้ในการออกแบบซึ่งจะครอบคลุมบริบทและภูมิทัศน์ของพื้นชุมชน ในขณะเดียวกันก็ให้การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย
ที่มา: http://macdonaldwright.com/?portfolio=caring-wood
Charles House
Architect : Austin Maynard Architects
Location : Australia
Brand Experience : Product
- Insight : เจ้าของต้องบ้านที่อยู่จะไปได้อีก 25 ปี เป็นบ้านที่พร้อมจะเติบโตไปพร้อมกับครอบครัวและรองรับความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละช่วง ซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการของเด็กๆ เมื่อพวกเขาโตขึ้น และรองรับผู้สูงอายุ พวกเขาอยากได้บ้านที่ใช้งานได้จริง ตัวบ้านและสวนดูแลรักษาง่าย
- Idea : Multigeneration House ที่สามารถเติบโตไปพร้อมกับครอบครัวเพื่อรองรับสมาชิกทุกคนในแต่ละช่วงของชีวิต
- Execution : บ้านหลังนี้มี 5 ครอบครัวอาศัยอยู่ด้วยกัน แต่บ้านถูกออกแบบให้ดูเล็กกว่าบ้านของเพื่อนบ้าน รูปทรงของบ้านแต่ละหลังใส่ตัวตนลงไปในแต่ละรูปแบบที่ต่างกัน ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยเส้นสายของสะพานเชื่อม ถูกออกแบบไว้เพื่อให้สามารถไปหากันได้ และช่วยทอนขนาดของรูปทรงบ้านไม่ให้ใหญ่จนเกินไป
ที่มา: https://www.archdaily.com/869713/charles-house-austin-maynard-architects
Z-shaped home
Architect : Estudio A0
Location : Ecuador
Brand Experience : Product
- Insight : เจ้าของอยากได้บ้านที่รองรับเขา ภรรยา ลูกๆ รวมถึงพ่อแม่ของเขาด้วย
- Idea : บ้านรูปทรงตัว Z ที่รองรับคน 2 วัยออกแบบบ้านที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่ภรรยาและลูกๆ รวมไปถึงพ่อแม่ที่สูงอายุให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างอบอุ่น
- Execution : Z-shaped home ออกให้บ้านสองหลังให้ดูภาพรวมแล้วเป็นบ้านหลังเดียว บ้านที่ถูกแบ่งเป็น 2 หลัง รองรับครอบครัวของเจ้าของบ้าน และอีกหลังหนึ่งรองรับพ่อแม่ของเขาด้วยโครงสร้างที่เป็นอิสระรูปตัว Z ตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้ทั้งสองครอบครัวสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและยังคงรักษาความรู้สึกเป็นส่วนตัวไว้ได้อย่างดีอาคารรูปตัว Z จะสร้างพื้นที่ภายนอกรูปตัว C ทั้งสองด้าน ที่ทำให้สองครอบครัวสามารถรวมตัวกันทำกิจกรรมได้หรือจะใช้พื้นที่แยกกันทำกิจกรรมก็ได้เช่นกัน
ตัวบ้านมีพื้นที่ที่น่าสนใจอย่างห้องสมุดที่สามารถเป็นพื้นที่ให้ใช้ชีวิตร่วมกันได้
ที่มา: https://www.dwell.com/article/a-family-lives-harmoniously-together-in-this-captivating-multi-generational-home-deefe83b
Iron Maiden House
Architect : CplusC Architectural Workshop
Location : Australia
Brand Experience : Product
- Insight : เจ้าของบ้านที่ครอบครัวมีสมาชิก 5 คน
- Idea : บ้านที่ให้สมาชิกทุกคนสามารถทำกิจกรรมได้ร่วมกันได้ในทุกวัน
- Execution : Iron Maiden House ตั้งอยู่ในเมืองซิดนีย์ ซึ่งถูกออกแบบให้เข้ากันกับบริบทโดยรอบและประวัติศาสตร์เพื่อสร้างบ้านที่มีความร่วมสมัย ห้องต่างๆ ภายในบ้านเชื่อมต่อกับพื้นที่ภายนอกในบริเวณชั้นล่าง พื้นที่ทางเดินภายนอกเชื่อมต่อห้องนอนเด็ก ทำให้เด็กๆ มีพื้นที่ส่วนตัวและสนุกไปกับพื้นที่สวนส่วนตัว บ้านถูกออกแบบให้สามารถยกระดับกิจกรรมของทุกๆ คนได้ในทุกๆ วัน ผู้อยู่อาศัยสามารถจะหยุดและชื่นชมวิวบริเวณกระจกขนาดใหญ่ใกล้ๆ กับบันไดวน ซึ่งขั้นบันไดที่อยู่ใกล้กับกำแพงสามารถนั่งได้. แต่ละห้องได้วิวสวนซึ่งต่างกันไปในแต่ละห้อง การเล่นระดับในพื้นที่บ้านสามารถสร้างความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันของพื้นที่
ที่มา: https://www.archdaily.com/899534/iron-maiden-house-cplusc-architectural-workshop
- อ่านตัวอย่างเนื้อหา “Ageing Society” 1 ใน 7 Key Impact ที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ท่านสามารถอ่านตัวอย่างเนื้อหาได้ด้านล่างนี้
https://www.baramizi.co.th/trend/ageing-society-1-%E0%B9%83%E0%B8%99-7-key-impact-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%88/