INNOVATION UPDATE : Space need 1G: “แรงโน้มถ่วง” ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต บนอาณานิคมใหม่ในอวกาศ

Space need 1G: “แรงโน้มถ่วง” ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต บนอาณานิคมใหม่ในอวกาศ

หนึ่งวาระสำคัญครั้งใหญ่ของมนุษยชาติคือแผนสำรองที่จะหาบ้านหลังใหม่ในอวกาศ ทุกภาคส่วนต่างวิจัยและพัฒนาความเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตนอกโลกได้ มีความเป็นไปได้ 3 รูปแบบ คือ

      ⛰ สิ่งมีชีวิตและที่อยู่อาศัยทั้งหมดแยกออกอย่างสมบูรณ์จากสภาพแวดล้อมภายนอก มีระบบพยุงชีพของตัวเอง อาจจะเป็นการอาศัยในสถานีอวกาศหรือบนพื้นผิวดาวเคราะห์ 

      ⛰ ทำการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการที่สิ่งมีชีวิตจะอยู่อาศัยได้ เรียกว่า เทอร์ราฟอร์มมิง (terraforming) 

     ⛰ เปลี่ยนสิ่งมีชีวิตเองให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้มากขึ้น เช่นการทำวิศวพันธุกรรม

นอกจากความต้องการพื้นฐานของระบบพยุงชีพเช่น อากาศ อาหาร อุณหภูมิที่เหมาะสม อีกปัจจัยสำคัญคือ “แรงโน้มถ่วง” จากการวิจัยของ NASA ได้กำหนดว่าแรงโน้มถ่วงเป็นประเด็นหลักในการพัมนาการอยู่อาศัยบนอวกาศแต่ยังมีกรอบจำกัดอยู่ในเรื่องการบำรุงรักษามวลร่างกายเท่านั้น ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบต่อการกำเนิดและการเติบโตของเด็ก มีข้อสังเกตว่าหากไม่มีแรงโน้มถ่วง สิ่งมีชีวิตอย่างเช่นมนุษย์ จะมีความลำบากในการเจริญเติบโตหนึ่งในนั้นคือการใช้ชีวิตบนโลกได้ลำบากมากขึ้น หากมีการเดินทางไปมาระหว่างดาว อาณานิคมใหม่บนอวกาศจึงจำเป็นต้องคิดถึงเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างของโครงการอาณานิคมใหม่ที่แกนหลังของการออกแบบเป็นแรงโน้มถ่วง คือ โครงการ “The Glass” ของมหาวิทยาลัยเกียวโตและบริษัท Kajima Construction Co., Ltd. ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยทรงกระบอกขนาดรัศมีประมาณ 100 ม. ความสูง 400 ม. ที่มีแรงโน้มถ่วงเทียมที่สร้างขึ้นในอวกาศจากการหมุนรอบตัวเองโดยใช้เวลา 20 วินาทีต่อการหมุนหนึ่งรอบ ซึ่งจะทำให้ได้มาซึ่งแรงโน้มถ่วงขนาด 1G ที่มีคล้ายคลึงกับโลกของเรา การออกแบบการอยู่อาศัยของโครงการ “The Glass” สะท้อนจากการอยู่อาศัยบนโลกมามากที่สุด ทั้งพื้นที่สีเขียว แหล่งน้ำ และท้องฟ้าเปิด ซึ่งมาจากมุมมองทีมพัฒนาที่เห็นประเด็นว่า มนุษย์มีความต้องการที่จะอาศัยบนผืนดินของดาวเคราะห์มากกว่าจการอยู่บนสถานีอวกาศ และแรงโน้มถ่วงเทียมยังมีการใช้ในระบบการขนส่งระหว่างดาวในชื่อ ระบบ “Hexatrack” ซึ่งเป็นระบบขนส่งระหว่างดาวเคราะห์สำหรับโลก ดวงจันทร์ และดาวอังคารที่รักษา 1G ไว้แม้ในระหว่างการเดินทางระยะไกล ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงาน ประชากรใหม่ รวมถึงการท่องเที่ยวอวกาศในอนาคตอีกด้วย

ขอบคุณที่มา :

https://www.designboom.com/technology/the-glass-artificial-gravity-facility-kyoto-university-07-11-2022/

https://www2.mtec.or.th/th/e-magazine/admin/upload/235_35-42.pdf

______________________________________________________

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ช่องทางด้านล่างนี้ :

📲 FACEBOOK : ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab

📲 LINE OA : Baramizi_lab

✉️ Email : contact@baramizi.co.th

______________________________________________________

ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab – องค์กรที่ทำหน้าที่จับตามองเทรนด์ที่น่าสนใจเพื่อภาคธุรกิจและจัดทำวิจัยเพื่อดูว่าผู้บริโภคคนไทยยอมรับเทรนด์ไหนมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจของท่านสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้กำหนดแนวทางการสร้างแบรนด์ตัวเอง หรือใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสบการณ์สินค้าได้ต่อไป