INNOVATION UPDATE : Carbon Net Zero วันที่ต้องอำลาย่านเก่าสู่เมืองใหม่

Carbon Net Zero วันที่ต้องอำลาย่านเก่าสู่เมืองใหม่และเวลาที่ช้าไปของเราในการถึงเป้าหมายโลก
.
Net-Zero Emissions 2050 เป็นมาตรการในการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี2050 ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายทุกภาคกับทุกองค์กรรวมไปถึงวิถีชีวิตของเราๆ
จะทำอย่างไรให้วงจรต่างๆมีการปล่อยคาร์บอนออกมาได้น้อยที่สุด?
.
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างจึงเกิดขึ้นในทุกส่วน ยกตัวอย่างเช่นในส่วนของเมือง การบริหารจัดการการปล่อยของเสียจากรถยนต์หรืออุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งทีเห็นได้ชัด แต่การพัฒนาย่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เช่นตัวอย่าง the London Wall West เป็นย่านวัฒนธรรมอีกแห่งของลอนดอนซึ่งภายในมีพื้นที่สำคัญๆอยู่หลายแห่งเช่น พิพิธภัณฑ์ลอนดอน (the Museum of London) หรือ อาคาร the Bastion House ที่มีแผนในการเป็น Net-Zero Emissions 2040
.
และชูเป้าหมายใหม่ที่จะเป็นย่านที่มีความยั่งยืน ผู้คนและเรียนรู้ (sustainability community and learning) โดยสิ่งปลูกสร้างเดิมจะถูกย้ายไปยังบ้านใหม่เนื่องจากการเข้าไปปรับเปลี่ยนให้โครงสร้างเอื้อต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
.
โดยเสียงจากการสอบถามประชาชนที่มีส่วนร่วม กว่า 90% ลงความเห็นว่าให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่กว่าการรื้อถอน เช่น พิพิธภัณฑ์ลอนดอนจะย้ายไปยังพื้นที่สมิธฟิลด์ตะวันตก(West Smithfield)แทน พื้นที่ต่างๆถูกปรับให้สามารถใช้งานร่วมกันได้มากขึ้น
.
การปรับตัวกับกฎเกณฑ์การลดการปล่อยคาร์บอนล้วนมีความยาก จะทำอย่างไรให้เรามองเห็นเป็นโอกาสสู่การเปลี่ยนแปลงมากกว่าอุปสรรคจากข้อผูกมัด ซึ่งในหลายประเทศและองค์กรได้เห็นถึงความสำคัญและเริ่มต้นแผนของตัวเองสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ไปบ้างแล้ว เช่น
.
ปี 2030- อุรุกวัย
ปี 2035-ฟินแลนด์
ปี 2040 – ออสเตรีย และ ไอซ์แลนด์
ปี 2045 – สวีเดน และ เยอรมนี
ปี 2050 – ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น แคนาดา สเปน เกาหลีใต้ ฟิจิ ไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ แอฟริกาใต้ คอสตาริกา บราซิล สปป.สาว กัมพูชา และเมียนมา
ปี 2060 – จีน และ อินโดนีเซีย
.
แต่เป้าหมายของประเทศไทยเรา คือปี 2065 ซึ่งช้ากว่าบางประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเสียอีก
ซึ่งถ้าหากเราขยับเวลาให้ถึงเป้าหมายเร็วมากขึ้น เราจะถึงพร้อมเรื่องนวัตกรรม องค์ความรู้ และทรัพยากรณ์พื้นฐานที่เอื้อต่อวงจรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เราสามารถต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นแนวโน้มหลักของโลกมูลค่ากว่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี2021ที่ผ่านมา
.
เสริมความสำคัญของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาในทุกระดับโดยเร็ว หากยังมีการทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น จนอุณหภูมิพุ่งสูงจากเดิม 2 °C จะนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Hothouse Earth หรือภาวะที่โลกร้อนเหมือนอยู่ในเตาอบ ถึงตอนนั้นมนุษย์จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้อีก หรือจุดที่เรียกว่า Point of no return ในการรักษาภาวะโลกร้อนให้ไม่เกิน 1.5 ° C ตามที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีสซึ่งไทยเข้าร่วมเมื่อ 21 กันยายน 2559 และประเทศไทยได้ให้ข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับประชาคมโลก (National Determined Contribution – NDC) ที่ต้องลดการปล่อยมลพิษจะต้องลดลง 45% ภายในปี 2030 และถึงศูนย์สุทธิภายในปี 2050
.
อ้างอิงโดย:
———————————————
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ช่องทางด้านล่างนี้ :
📲 FACEBOOK : ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab
📲 LINE OA : Baramizi_lab
✉️ Email : contact@baramizi.co.th
———————–
ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab – องค์กรที่ทำหน้าที่จับตามองเทรนด์ที่น่าสนใจเพื่อภาคธุรกิจและจัดทำวิจัยเพื่อดูว่าผู้บริโภคคนไทยยอมรับเทรนด์ไหนมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจของท่านสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้กำหนดแนวทางการสร้างแบรนด์ตัวเอง หรือใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสบการณ์สินค้าได้ต่อไป