ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกวัน ทั้งด้านเทคโนโลยี สภาวะเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่ิงเหล่านี้เองผลักดันให้ผู้บริโภคมีทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม ภาคธุรกิจจำเป็นต้องเข้าใจและเท่าทันความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น เพื่อสามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่โดนใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย นำมาซึ่งยอดขายและฐานลูกค้าที่เติบโตจากความชื่นชอบในแบรนด์ที่ธุรกิจถ่ายทอดออกมาผ่านทุกประสบการณ์ การทำความเข้าใจผู้บริโภคจึงเป็นหัวใจของการทำธุรกิจและการสร้างแบรนด์
หนึ่งในศาสตร์ของการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการยอมรับในวิชาการตลาดและบริหารธุรกิจเป็นอย่างดี คือศาสตร์ด้านการแบ่งส่วนกลุ่มเป้าหมาย หรือ Segmentation ซึ่งหมายถึงการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็นกลุ่มต่างๆ โดยใช้เงื่อนไขอะไรบางอย่างที่นักการตลาดกำหนดขึ้น เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา เพื่อจะนำกลุ่มเป้าหมายที่แบ่งด้วยเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้เป็นหลักในการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ที่สุดขององค์กร
อย่างไรก็ตามในยุคที่ผู้บริโภคมีความลื่นไหล และมีรายละเอียดที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่มความสนใจ ไม่ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป จึงนำมาซึ่งแนวคิดในการเลือกใช้คุณลักษณะทางจิตวิทยา หรือที่เรียกว่า Psychographic Segmentation มาใช้ในการแบ่งส่วนกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพราะสามารถแบ่งความแตกต่างได้ชัดเจน นำไปใช้เลือกกลุ่มเป้าหมายหลักได้ตรงมากขึ้น และใช้เป็นโจทย์ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่เข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้น
ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซ็ปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab เชื่อในการแบ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วยปัจจัยทางจิตวิทยาจึงได้มีการพัฒนาชุดข้อมูลเทรนด์ “Attitude Trends 2021-22 แนวโน้มทัศนคติผู้บริโภคเพื่อการพัฒนาธุรกิจ” ขึ้นเพื่อใช้เป็นหนึ่งในเครื่องมือให้ภาคธุรกิจใช้ทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าลึกลงไปในระดับทัศนคติ ซึ่งจะสะท้อนผ่านไลฟ์สไตล์ พฤติกรรม และการเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน
Attitude Trends ประจำปี 2021-22 ของ Baramizi Lab แบ่งลูกค้าออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
1. Serenergy
ปรับตัวเข้าหาธรรมชาติเพื่อสร้างความสมดุลให้ชีวิต
Serenergy มาจากคำ 2 คำมารวมกันคือ Serene (ความสงบ) และ Synergy (ประสาน) คนกลุ่มนี้เป็นคนที่ เรียบง่าย ถ่อมตน เชื่อเรื่องจิตวิญญาณ เคารพในธรรมชาติและการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต เชื่อในการรักษาสมดุลระหว่างตนเองและธรรมชาติ โหยหาความสงบ ผ่อนคลาย หลีกหนีความวุ่นวายจากทางโลก เพื่อเข้าถึงจิตใจตนเองแก่นของธรรมชาติ เและ สภาวะแวดล้อม เพื่อเข้าใจและทำตนให้กลมกลืนไปกับมันได้ในทุกๆสัมผัส
มี Keywords ที่สำคัญได้แก่
การมีชีวิต / ความถูกต้อง / ผ่อนคลาย / ความสงบ / การสะท้อนกลับ / ความกลมกืน / สัมผัส / การส่งผ่าน / สมดุล / จิตวิญญาณ / พึ่งพาตนเอง / ทำให้บริสุทธิ์ / เรียบง่าย / ถ่อมตน
Serenergy เป็นกลุ่มทัศนคติที่วิวัฒนาการมาจากกลุ่ม Serene-Wellness ที่มีทัศนคติแบบ สุข สงบ ผ่อนคลาย เพื่อความสมดุลในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ในแนวโน้ม Attitude Trends ในปี 2018-20 แต่ด้วยผลกระทบสำคัญที่มากระทบ ได้แก่ เมืองที่ขยายตัวขึ้น (Urbaniazarion) คนใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น (Wellness Life) ทั้งสุขภาพกาย รวมไปถึงการดูแลใส่ใจสุขภาพจิตใจ (Mental Wealth) ให้ความสำคัญกับความจริงใจ โปร่งใส (Transparent) และความหรูหราอย่างยั่งยืน (Sustainable Luxuary) และประยุกต์เอาเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพ (Biotechnology) ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเพื่อพยายามเอาชนะธรรมชาติ (Nature Hacking) จึงทำให้กลุ่มทัศนคติ Serene-Wellness เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็น Serenergy ในที่สุด
แนวทางการออกแบบประสบการณ์สำหรับกลุ่ม Serenergy มีดังนี้
ประสบการณ์หลัก (Key Experience)
อารมณ์ความรู้สึก และบุคลิกในการออกแบบ (Mood&Tone)
เทคนิคการออกแบบ (Design Technique)
การออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design)
2. Utopioneer
เรียนรู้และทดลองกับธรรมชาติ บุกเบิกเส้นทางสู่โลกในอุดมคติ
Utopioneer มาจากคำ 2 คำมารวมกันคือ
Utopia (ดินแดนในอุดมคติ) และ Pioneer (ผู้บุกเบิก)
คนกลุ่มนี้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมก่อนเสมอ สนใจในเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อให้รู้เท่าทันธรรมชาติ พร้อมรับมือ และใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นในการรักษาสิ่งแวดล้อม และปรับใช้กับวิถีชีวิตแห่งความพอเพียงของตนเอง พวกเขาต้องการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้และสังคมให้ดีขึ้น
มี Keywords ที่สำคัญได้แก่
การมีชีวิต / การทดลอง / ความถูกต้อง / นวัตกรรม / มีส่วนร่วม / เห็นแก่ผู้อื่น / การสะท้อนกลับ / การป้องกัน / ความสามัคคี / การศึกษา / เทคโนโลยีชีวภาพ / พึ่งพาตนเอง / ใจบุญ
Utopioneer เป็นกลุ่มทัศนคติที่วิวัฒนาการมาจากกลุ่ม Utopia Mindset ที่มีทัศนคติ เป็นนักลงมือทำเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่ดีสำหรับคนรุ่นต่อไป จากแนวโน้ม Attitude Trends ในปี 2018-20 แต่ด้วยผลกระทบสำคัญที่มากระทบ ได้แก่ แนวโน้มการแสวงหาโลกในอุดมคติ (Utopia World) ซึ่งประกอบไปด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) ความพร้อมในการปรับตัวเพื่อรับมือกับภัยพิบัติ (Disaster Adaptive) แนวโน้มการปลูกอาหารทานเองในเมือง (Harvested City) ให้ความสำคัญกับความจริงใจ โปร่งใส (Transparent) และความหรูหราอย่างยั่งยืน (Sustainable Luxuary) ประยุกต์เอาเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพ (Biotechnology) ใช้เทคโนโลยีเพื่อพยายามเอาชนะธรรมชาติ (Nature Hacking) และการศึกษาทางเลือก (Educational Alternative) เหล่านี้เองจึงทำให้กลุ่มทัศนคติ Utopia Mindset เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็น Utopioneerในที่สุด
แนวทางการออกแบบประสบการณ์สำหรับกลุ่ม Utopioneer มีดังนี้
ประสบการณ์หลัก (Key Experience)
อารมณ์ความรู้สึก และบุคลิกในการออกแบบ (Mood&Tone)
เทคนิคการออกแบบ (Design Technique)
การออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design)
3. Dreamavant-garde
นักฝันและลงมือทำให้ความฝันนั้นเป็นจริง
Dreamavant-garde มาจากคำ 2 คำมารวมกันคือ
Dream (ความฝัน) และ Avant-garde (กองหน้า)
คนกลุ่มนี้เป็นคนช่างคิด ช่างฝัน ชอบผจญภัยไปในความคิดและเวลา มีจินตนาการที่สดใหม่อยู่เสมอพร้อมลงมือทำเพื่อให้สิ่งที่ฝันนั้นเกิดขึ้นจริงได้ หรือ เพื่อให้ได้เข้าใกล้ฝันของเค้ามากขึ้น เป็นคนอ่อนไหว โรแมนติก และเชื่อในเรื่องของโชคลาภ ดวง สัญชาตญาณ และ การมีอยู่ของตำนานต่างๆ
มี Keywords ที่สำคัญได้แก่
การเพิ่มขึ้น / เปลี่ยนแปลงง่าย / ยืดหยุ่น / ลดความเป็นวัตถุนิยม / ความบริสุทธ์ / ดิจิทัล / สัญชาตญาณ /
ไวต่อความรู้สึก / โรแมนติก / ตำนาน / มีโชค / เร่ร่อน / ขี้เล่น / ความสนุก / ความสดใหม่ / Start-Up / ช่างฝัน / ความรู้สึก / ช่างคิด / การสังเคราะห์
Dreamavant-garde เป็นกลุ่มทัศนคติที่วิวัฒนาการมาจากกลุ่ม Dreamolutioner ที่เป็น นักจินตนาการที่อยากปฏิวัติให้โลกเป็นดั่งใจคิด จากแนวโน้ม Attitude Trends ในปี 2018-20 แต่ด้วยผลกระทบสำคัญที่มากระทบ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) เทคโนโลยีเพื่อสร้างโลกเสมือนจริง (Extended Reality) การบุกเบิกทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ (Space Expansion) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI Quest) ทริปท่องเที่ยวในฝัน (Dreamlike Trip) เหล่านี้จึงทำให้กลุ่มทัศนคติ Dreamolutioner กลายเป็น Dreamavant-garde ในที่สุด
แนวทางการออกแบบประสบการณ์สำหรับกลุ่ม Dreamavant-garde มีดังนี้
ประสบการณ์หลัก (Key Experience)
อารมณ์ความรู้สึก และบุคลิกในการออกแบบ (Mood&Tone)
เทคนิคการออกแบบ (Design Technique)
การออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design)
4. Precidealist
เป็นผู้นำแห่งอุดมการณ์กล้าลงมือทำเพื่อสร้างจุดยืนของตนที่ชัดเจน
Precidealist มาจากคำ 2 คำมารวมกันคือ
Precious (ความสงบ) และ Synergy (ประสาน)
คนกลุ่มนี้เป็นคนฉลาด มีความรู้ เข้าใจในหลักปรัชญาอย่างลึกซึ้ง มีอุดมการณ์และความเชื่อมั่นของตนเองอย่างแรงกล้า มีจุดยืนที่ชัดเจน เป็นผู้นำทางความคิด และ กล้าที่จะออกมาแสดงพลังของตน ทำให้มีคนติดตามเพราะเชื่อในอุดมการณ์เดียวกันอยู่มาก มักเป็นที่รู้จัก หรือ มีเป็นคนชื่อเสียงของสังคม แต่ชื่อเสียงกลับไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาแสวงหา
มี Keywords ที่สำคัญได้แก่
การกระทำ / ชาญฉลาด / ทั่วโลก / หัวรุนแรง / ความดี / มีชื่อเสียง / พลัง / กลไก / ความรู้ / จัดการ / มีเสน่ห์ / กองกำลัง / ไล่ตามทัน / ความมุ่งหวัง / การวิเคราะห์ / ภาคภูมิใจ / เชี่ยวชาญ / การควบคุม / หลักปรัชญา / อุดมคติ
Precidealist เป็นกลุ่มทัศนคติที่วิวัฒนาการมาจากกลุ่ม Precilebrity ที่มีทัศนคติ พิถีพิถัน ช่างเลือก ให้คุณค่ากับเรื่องราว ที่เข้าถึงได้ยากเป็นพิเศษ จาก แนวโน้ม Attitude Trends ในปี 2018-20 แต่ด้วยผลกระทบสำคัญที่มากระทบ ได้แก่ การแสวงหาสถานะและการยอมรับ (Status Seeker) แนวโน้มการแสวงหาโลกในอุดมคติ (Utopia World) โดยเฉพาะด้านสังคม พลังแห่งการยอมรับและเข้าใจในค่านิยมใหม่ (Power of Acknowledgement) จึงทำให้กลุ่มทัศนคติ Precilebrity เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็น Precidealist ในที่สุด
แนวทางการออกแบบประสบการณ์สำหรับกลุ่ม Precidealist มีดังนี้
ประสบการณ์หลัก (Key Experience)
อารมณ์ความรู้สึก และบุคลิกในการออกแบบ (Mood&Tone)
เทคนิคการออกแบบ (Design Technique)
5. Alchandemic
หลอมรวมตัวตนเข้ากับกลุ่มแล้วสร้างเป็นวัฒนธรรมใหม่ที่มีเอกลักษณ์
Alchandemic มาจากคำ 2 คำมารวมกันคือ
Alchemist (นักเล่นแร่แปรธาตุ) และ Pandemic (แพร่กระจาย)
คนกลุ่มนี้เป็นคนที่เป็นคนชอบเข้าสังคมรักพวกพ้องชอบอยู่กับสังคมของคนที่มีความคิดและทัศนคติเดียวกันและจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของกลุ่มมาผสมผสานความเป็นตนเองจนเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่พวกเขาเชื่อในสิทธิเสรีภาพเคารพความแตกต่างและมีความคิดแบบสุขนิยมสนใจในศิลปะและวัฒนธรรมจากหลายๆท้องถิ่นและใช้มันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
มี Keywords ที่สำคัญได้แก่
รื่นเริง / เก่าแก่ / แปลกประหลาด / ตระหนี่ / ดิบเถื่อน / เสรีภาพ / ความแตกต่าง / ความขัดแย้ง / กระตุ้น / สุขนิยม / Do-it Yourself / ปะติดปะต่อ / ความเอื้อเฟื้อ / ผู้ผสมผสาน / ทางโลก / กำมะถัน / เป็นวงกลม / การสังเกต / สมาชิกของสมาคม / ชนเผ่า
Alchandemic เป็นกลุ่มทัศนคติที่วิวัฒนาการมาจากกลุ่ม Expressdemic ที่มีทัศนคติแบบ สุข สงบ ผ่อนคลาย เพื่อความสมดุลในการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน ในแนวโน้ม Attitude Trends ในปี 2018-20 แต่ด้วยผลกระทบสำคัญที่มากระทบ ได้แก่ เมืองที่ขยายตัวขึ้น (Urbaniazarion) การให้ความสำคัญกับการใช้เวลา (Refocus the time spent) เศรษฐกิจของการรวมกลุ่ม (Community Commerce) การย้อนวันวัยเป็นเด็ก (Childhood Revival) พลังของกระแสหลัก (Mass Power) และ Magic Pulse จึงทำให้กลุ่มทัศนคติ Expressdemic เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็น Alchandemic ในที่สุด
แนวทางการออกแบบประสบการณ์สำหรับกลุ่ม Alchandemic มีดังนี้
ประสบการณ์หลัก (Key Experience)
อารมณ์ความรู้สึก และบุคลิกในการออกแบบ (Mood&Tone)
เทคนิคการออกแบบ (Design Technique)
การออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design)