เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 ทางบริษัท Baramizi Lab ได้จัดงาน Future Lab Forum 2018 โดยมีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่พูดถึงข้อมูลวิจัยเทรนด์ชุด Xperience Design Future Trend 2019-20 สำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ โดยข้อมูลวิจัยเทรนด์ชุดนี้จะกล่าวถึงแนวโน้มการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่เป็นโอกาสใหม่ๆ ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยที่สอดรับกับแนวโน้มพฤติกรรมและความต้องการของคนไทย
กระบวนการวิจัยนี้ผสมผสานการทำงานด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากเชื่อมโยงกับพฤติกรรม วิถีชีวิต และทัศนคติของคนไทยที่กำลังต้องการซื้อที่อยู่อาศัย รวมถึงมีการจัดทำ Trend Lab Test กับผู้บริโภคชาวไทยโดยตรงว่า มีแนวโน้มสนใจแนวคิดแบบใดมากที่สุดในการมองหาที่อยู่อาศัยของพวกเขาทำให้เราได้ข้อมูลวิจัยเทรนด์ที่มีมิติในทุกแง่มุมทั้งจากแนวโน้มทั่วโลก จากมุมมองผู้เชี่ยวชาญ และจากความต้องการของกลุ่มเป้าหมายคนไทย
ผลการวิจัยทั้งหมด ทำให้เราพบแนวโน้มของการออกแบบประสบการณ์อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด จำนวน 27 เทรนด์ (ครอบคลุมทุกมิติของ Key Imapct ทางด้าน Mega Trend ที่เข้ามากระทบกับทัศนคติการอยู่อาศัยของผู้คน) โดยภายในงานวิทยากรได้หยิบยกเอา 9 เทรนด์ที่น่าสนใจมาเล่าให้ผู้เข้าร่วมงานฟัง ซึ่งมีรายละเอียดังต่อไปนี้
1. Interlock Life : Combine & Separate Space เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์
คือ แนวโน้มการออกแบบพื้นที่พักอาศัยที่สามารถรองรับครอบครัวที่มีสมาชิกหลาย Generation หรือที่เรียกว่า (Multi-Generation Family) ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัวในพื้นที่เดียวกัน ด้วยอิทธิพลของ Ageing Society นี่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่กลุ่มผู้สูงอายุสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวได้ในบ้าน โดยไม่ต้องแยกที่พักอาศัย ซึ่งในประเทศไทยมีแนวโน้มจะอยู่ร่วมกันในลักษณะนี้อยู่แล้ว ด้วยค่านิยมของไทยที่ลูกต้องดูแลพ่อแม่ แต่ความน่าสนใจคือเทรนด์นี้เติบโตขึ้นในกลุ่มประเทศที่มีวัฒนธรรมของการแยกครอบครัว สาเหตุหลักเกิดจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (Economy Depress) ที่ทำให้คนวัย Millennial เลือกที่จะอาศัยอยู่กับพ่อแม่ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า
หัวใจหลักในการออกแบบประสบการณ์นี้คือ การสร้างสรรค์ Function แบบ ‘Combine’ (ใช้เวลาร่วมกันได้พร้อมหน้าพร้อมตา) และ ‘Separate’ (พื้นที่ส่วนตัว) ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งสองส่วน
2. Hybrid : ผสมผสานการใช้งานที่สร้างมิติให้ชีวิต
Hybrid คือแนวคิดการแก้ปัญหาการใช้พื้นที่ที่มีอย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนรูปแบบพื้นที่ให้สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของผู้อยู่อาศัยในทุกกิจกรรมภายในพื้นที่ที่จำกัด และสามารถรองรับ Lifestyle ที่หลากหลายผสมผสานของผู้ใช้งานได้
ในประเทศไทยเราเห็นแนวคิดลักษณะนี้ใน Luxury Segment เพื่อสร้าง Value ให้โครงการ ความท้าทายก็คือจะทำอย่างไรให้เทรนด์นี้สามารถเข้าถึงผู้อยู่อาศัยคนไทยได้ทุกระดับ โดยเฉพาะที่พักอาศัยที่ราคาไม่สูงและมีพื้นที่จำกัด เพื่อสามารถแก้ไข Pain Point ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย
3. Elsewhere : ที่ไหนสักแห่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ
คือแนวคิดความหรูหราด้วยแนวทางใหม่ ที่ไม่ได้แสดงออกเพียงการตกแต่งภายใน แต่เป็นการสร้างความรู้สึก หรือประสบการณ์ที่พิเศษ, แตกต่าง และเกินความคาดหมาย แม้จะอยู่ในที่พักอาศัยแต่เหมือนได้ออกไปที่ไหนซักแห่งเพื่อช่วยแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต
จากประสบการณ์การทำวิจัยในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ คำตอบที่เราพบบ่อยๆจากกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาที่พักอาศัยก็คือ อยากได้ที่พักอาศัยที่ “ให้รู้สึกเหมือนอยู่รีสอร์ท” ซึ่งสะท้อน Insight ด้าน Escape ความอยากหลีกหนี ไปที่ไหนซักแห่ง + Status สามารถสะท้อนตัวตอน และได้รับการยอมรับ
4. AI Friend : เพื่อนคนใหม่ ผู้ช่วยส่วนตัว
คือแนวคิดในการควบคุม ดูแล ระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน ผ่านระบบ A.I. (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเรียนรู้จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรม, อารมณ์, รูปแบบการใช้งานของผู้พักอาศัย และแนะนำ หรือปรับระบบต่างๆ ภายในบ้านเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้กับผู้อยู่อาศัย
เป็นที่รู้กันว่า AI กำลังมาและมันจะเปลี่ยนแปลงโลกทุกวงการ เช่นเดียวกันในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี A.I. เรียกได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนในการยกระดับประสบการณ์การอยู่อาศัย ให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างง่ายขึ้น เร็วขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
5. Live Life Servable Tech : เทคโนโลยีสายบริการเพื่อการใช้ชีวิต
คือการใช้เทคโนโลยีของ Digital Platform ที่เข้ามาช่วยด้าน…
“Live” การอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย เช่น การซ่อมบำรุง, การทำความสะอาดต่างๆ และการอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตต่างๆ
“Life” การบริการเพื่อสร้างความสะดวกให้การใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกาย, การดูแลตัวเอง เพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มความพึงพอใจให้กับผู้พักอาศัย
เทคโนโลยี Digital Platform ได้เข้ามาปฏิวัติธุรกิจในทุกวงการ เช่นเดียวกับในวงการอสังหาริมทรัพย์ซึ่งก็มี Pain Point ที่สำคัญอย่างปัญหาการตรวจซ่อมก่อนการส่งมอบโครงการ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่สร้างความไม่พึงพอใจให้กับผู้พักอาศัย รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ส่วนกลางที่มีจำกัดก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา Classic และยังมีความสะดวกในการใช้ชีวิตอีกมากมายที่ Digital Platform สามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้
ปัจจัยเร่งที่สำคัญคือ Delveloper ได้ประโยชน์ ครอบครองเครือข่ายผู้บริโภค เพื่อเป็น Chanel ใหม่ๆ ในการสื่อสาร, และทำให้แบรนด์ได้ Big Data ข้อมูลการใช้ชีวิตของลูกบ้าน และยังสามารถต่อยอดไปเป็น Payment Gateway ใหม่ๆ ได้
จากการทดสอบเทรนด์นี้กับกลุ่มเป้าหมายคนไทย Live Life Servable Tech ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 1 จาก 27 เทรนด์ทั้งหมด
6. Self – Energerate : ผลิตใช้เอง ปลูกกินเอง
คือแนวคิดของการผลิตพลังงาน ทั้งพลังงานไฟฟ้า, รวมถึงอาหาร ขึ้นใช้เองภายในที่พักอาศัยส่วนบุคคล หรือชุมชนนี่เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดการพัฒนาอย่างอย่างยั่งยืนหรือ Sustainable Development เมื่อแนวโน้มการบริโภคพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด และวิกฤตอาหารที่กำลังจะมาถึงจากผลกระทบของสภาพอากาศที่แปรปรวน
จากการทำวิจัย Local Movement ในกลุ่มผู้บริโภคคนไทยไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ที่เราเลือกเทรนด์นี้มาเล่าให้ฟังเพราะเราคิดว่ามันเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ที่ในบทบาทของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ควรจะต้องเริ่มที่จะมีมันอยู่ในกระบวนการคิดเพื่อพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆออกมาสู่ตลาด ซึ่งยังมีเทรนด์อีกหลายตัวภายใต้ 27 เทรนด์ที่เกี่ยวของกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
7. Well-Living Tech : เทคโนโลยีและ Gadget
เพื่อสุขภาพและความสมดุล
คือการผสมผสานระหว่าง 3 คำ คือ Well-being (สุขภาวะที่ดี) + Living (การอยู่อาศัย) + Tech (เทคโนโลยีและ Gadget ต่าง)
โดยรวม Well-Living Tech คือ Gadget และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ถูกใช้ในที่พักอาศัย เพื่อช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย
แนวโน้มด้านการดูแลสุขภาพกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง อุตสาหกรรม Wellness มีสูงถึง 3.7 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐ และ Healthtech เติบโตสูงถึง 20% ต่อปี
นอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายที่ Concern เรื่องสุขภาพอย่างจริงจังและเลือกใช้ Health Gadget อยู่แล้ว แต่คนธรรมดาๆ ที่ยังขี้เกียจออกกำลังกาย ยังตามใจปากตัวเองอยู่ เทคโนโลยีนี้จะเข้ามาให้เค้าสามารถเข้าถึง “สุขภาพที่ดีอย่างสำเร็จรูป” เพราะผู้บริโภคกระแสหลักมีแนวโน้มเปิดรับเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยทำให้ชีวิตของพวกเขามีสุขภาพดีมากขึ้น เห็นได้จากผล Local Movement ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคนไทยนิยมเทรนด์นี้สูงเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด
8. Absolutely Relax : จิตวิญญาณแห่งการพักผ่อนอย่างที่สุด
คือ การออกแบบพื้นที่สำหรับการพักผ่อนอย่างมีคุณภาพเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัย
จากผลกระทบด้าน Urbanization เมืองขยายตัว ทำให้คนเมืองต้องเจอกับผลด้านลบต่างๆ มากมาย การแข่งขันสูงนำมาซึ่งความเครียด และเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ, พื้นที่พักอาศัยที่จำกัดทำให้แทบไม่มีพื้นที่สำหรับพักผ่อน คุณภาพชีวิตโดยภาพรวมจึงมีแนวโน้มต่ำลง เกิดเป็นปัญหาด้านสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ จึงเป็นที่มาที่ทำให้คนโหยหาความผ่อนคลายที่ทำให้พวกเขาสามารถพักผ่อนได้อย่างแท้จริง
9. We-Tribe : ชนเผ่าของเรา
คือพื้นที่เฉพาะกลุ่มของคนที่มีจุดร่วมเดียวกัน มีอะไรเหมือนกัน แชร์ความสนใจร่วมกัน เพื่อที่จะเข้าอกเข้าใจกัน รวมกลุ่มกันเพื่อร่วมกันจัดสรรผลประโยชน์ต่างๆ ในกลุ่ม หรือเพื่อแสดงพลังอะไรบางอย่างออกมา ซึ่งโดยปกติเราพบการรวมกลุ่มของคนที่มีความสนใจเหมือนกันอยู่บ้างในช่องทาง Online, Event, Hospitality แต่ความท้าทายก็คือ จะเป็นไปได้ไหมหากจะมีการออกแบบพื้นที่แบบบนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของที่พักอาศัยระยะยาว โดยอาจอยู่ในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง หรืออาจปรากฏในรูปแบบของ Online Platform ต่างๆ ที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้พัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวมลูกบ้านที่จุดร่วมเดียวกันให้สามารถหากันเจอ
และทั้งหมดนี้ก็เป็น 9 เทรนด์ ที่ทาง Baramizi Lab ศูนย์วิจัยคอนเสปแห่งอนาคต ได้หยิบยกเอามาเล่าให้ทุกท่านฟัง แต่นอกเหนือไปจากนี้เรายังมีเทรนด์อื่นๆ อีกที่จะอยู่ใน 27 เทรนด์ของข้อมูลวิจัยเทรนด์ XPERIENCE DESIGN FUTURE TREND 2019-20 ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาธุรกิจ การใช้งานข้อมูลวิจัยเทรนด์อย่างถูกต้องจึงควรเป็นการใช้ข้อมูลวิจัยเทรนด์เป็นภาษากลางในการบูรณาการทีมทุกฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อคลอดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นแบบฉบับขององค์กรเอง ผ่านกระบวนการ Trend Gymnasium Workshop
หากท่านใดสนใจสามารถติดตามข้อมูลรายละเอียดชุดข้อมูลวิจัยได้ที่ Link ด้านล่างนี้