จากประสบการณ์การทำงานแต่ละท่านที่คร่ำหวอดในวงการงานหัตถศิลป์ หรืองาน Craft ที่แต่ละท่านได้นำเรื่องราวมาถ่ายทอดให้เราได้เห็นตั้งแต่แนวคิด วิธีการทำงาน และเห็นถึงคุณค่าสิ่งที่เรียกว่า ‘หัตถศิลป์’ การจัดงานนี้ต้องขอขอบคุณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT โดยขอนำสรุปเนื้อหาของ Keynote Speaker แต่ละท่านมาให้ได้อ่านดังนี้
Keynote Speaker : Rolf von Bueren
Topic : “Preserving the heritage”
คุณรอล์ฟเป็นชาวต่างชาติที่อยู่เมืองไทยมา 57 ปี ในวัยหนุ่มได้เดินทางไปหลายประเทศ เมื่อมาถึงประเทศไทย ชอบเมืองไทยมาก จึงตัดสินใจอาศัยอยู่ที่ไทย
รู้สึกชื่นชมหน่วยงาน SACICT และดีใจมากที่มีหน่วยงานที่เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมกับการพัฒนา
– คุณรอล์ฟเดินทางบ่อยมากมากเพื่อค้นหาแรงบันดาลใจจากศิลปะวัฒนธรรมและวัสดุใหม่ที่แตกต่างกันทั่วโลก อีกทั้งยังได้รับรู้มาตราการของรัฐ และสถานการณ์ด้านหัตถศิลป์ในประเทศต่าง ๆ จึงให้มุมมองเปรียบเทียบแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่นอนุรักษ์และให้การยกย่องความเชี่ยวชาญของช่างฝีมือประเทศจีนมีการอนุรักษ์น้อย มีการก๊อปปี้กันเอง จะเห็นงานหัตถศิลป์ที่ดีถูกทำก๊อปปี้โดยคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว เพื่อหวังผลในการขายจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาถูกลงมาก อินโดนีเซียไม่มีการสนับสนุนแต่ยังมีช่างฝีมืออยู่ ซึ่งกำลังค่อยๆหายไป อินเดียเคยโดดเด่นเรื่องสิ่งทอ เช่น งานสิ่งทอประเภทผ้าลายอย่างของไทยในสมัยก่อน ต้องส่งไปให้ช่างฝีมือในประเทศอินเดียทำการแกะไม้และพิมพ์บนผ้าด้วยความเชี่ยวชาญ ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่บ้างแต่น้อยลงมาก ประเทศไทยเราโชคดีมากที่มีหน่วยงานอย่างศิลปาชีพ และ SACICT ที่ให้ความสำคัญให้การสนับสนุนทุกสาขาอย่างต่อเนื่อง
ข้อคิดที่คุณ Rolf ให้แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา
- กระแส Globalization เป็น Linear world ที่คนวิ่งไล่ตามกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ โดยปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับ Experience-Based แทน Shopping Base ซึ่งพฤติกรรม Shopping-Based ของคนรุ่นก่อนเป็นพฤติกรรมการสะสม Asset ให้ความสำคัญกับการเป็นเจ้าของสินทรัพย์ ส่วน Experience-based ไม่เน้นความเป็นเจ้าของ จึงมีแนวโน้มที่ซื้อเพื่อครอบครองงานศิลปะหัตถกรรมลดลง รัฐบาลจึงเป็นกลไกสำคัญที่ควรต้องสนับสนุน ด้วยมาตรการต่างๆ
- Perfection vs Soul : คุณ Rolf ยกตัวอย่างโรงแรมแห่งหนึ่งซึ่งมีการออกแบบตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสมบูรณ์แบบ แต่เมื่อใช้เวลาอยู่ในบรรยากาศนั้น พบว่าภายนอกมันดู Perfect แต่ข้างในมันไม่มี Soul มัน Empthy จึงมีคำถามขึ้นว่า จะทำอย่างไรให้จิตวิญญาณกลับมาอยู่ในงานออกแบบได้ คำตอบคือการนำวัฒนธรรมท้องถิ่นกลับมาเติมเต็มให้กับเทคโนโลยี โดยดึงอัตลักษณ์ซึ่งเป็นส่วนผสมของภาษาและวัฒนธรรมมาเสริมกัน
- การส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒนธรรมนานาชาติ : มีความสำคัญต่อการสืบสานวัฒนธรรม เกิดการแลกเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น การจัดงานเทศกาล Ramayana Festival ซึ่งเคยมีการจัดแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากหลายประเทศที่มีวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์เหมือนกัน แต่รายละเอียดแตกต่างกันตามเชื้อชาติ
- การท่องเที่ยว : คือการเดินทางไปที่อื่นเพื่อดูสิ่งที่บ้านตัวเองไม่มี นักท่องเที่ยวมาเที่ยวไทยคาดหวังว่าจะเจอกับ Exotic City คาดหวังความพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้ ความเป็นเอกลักษณ์เช่น ปากคลองตลาด ตลาดน้ำ street food เริ่มหายไป ทำให้ความพิเศษหายไปด้วย แต่ปัจจุบันไทยมีของไม่ต่างจากเมืองใหญ่ทั่วๆไป การดำเนินการควรเป็นการ Regulate (จัดระเบียบ) ไม่ใช่การ (Band) สั่งห้าม
น่าดีใจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ได้รื้อฟื้นประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งมีหลายอย่างที่หน่วยงานนี้ (SACICT) ทำได้ เราทุกคนควรต้องช่วยกัน เพราะ Culture has the Value
Keynote Speaker : Alexander Lamont
Topic : “Craftsmanship matters – One Story from Thailand”
งานหัตถศิลป์มีความสำคัญมาก และพร้อมกันนั้นก็มีความท้าทายในเรื่องการทำเป็นธุรกิจให้เติบโตด้วยเช่นกัน ทั้งความท้าทายจากสภาพตลาด การใช้วัสดุใหม่ๆ การค้นหาอัตลักษณ์ของวัสดุที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่ไม่หยุดนิ่ง ความตื่นตาตื่นใจกับความเป็นศิลปะ ตลอดจนความแม่นยำของงานฝีมือ (precision) ที่สร้างให้ผลงานเป็นของล้ำค่า (precious)
คุณ Lamont เล่าประวัติในวัยเด็กของตนเองที่ส่งผลถึงแนวทางการสร้างงานในปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับประสบการณ์ตรงที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความคิดและทักษะฝีมือ คุณพ่อของคุณ Lamont ทำงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะทำให้เขาได้ติตตามไปในหลายประเทศ อีกทั้งยังได้ทำงานเป็นพนักงานขายในร้านขายวัตถุโบราณตอนวัยหนุ่ม จึงมีโอกาสเห็น ได้จับ ได้ดมกลิ่นงานศิลปะหัตถธรรมของหลายชนชาติทั่วโลก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ประสบการณ์ตรงเหล่านี้สะสมเป็นคลังข้อมูลงานหัตถศิลป์ที่ฝังอยู่ลึกในตัว (deep library) ทำให้เกิดความเข้าใจและดื่มด่ำในงานศิลปะ เขาสนใจในมนุษยศาสตร์ เพื่อศึกษาความเชื่อและวัฒนธรรมที่มีรายละเอียดต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับงานหัตถศิลป์ วิถีชีวิตของคนคือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ทั้งการกิน แต่งตัว การเกิด และการตาย ทำให้เขาพบว่าวัสดุต่างๆนั้นเป็นวัฒนธรรม (Material Culture) บอกเล่าเรื่องราวของคนว่ามาจากที่ไหน
Accident beauty – คุณ Lamont กล่าวถึงประสบการณ์การสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ซึ่งมักเกิดจากเหตุบังเอิญที่ไม่คาดคิดของการทำชิ้นงานซ้ำแล้วซ้ำอีกกับวัสดุ จนกลายเป็นเหตุบังเอิญที่สวยงาม งานมือที่ทำซ้ำๆ แตกต่างจากงานอุตสาหกรรม มือเป็นที่มาของความคิดสร้างสรรค์ของคน งานมือที่เพียรทำซ้ำๆสืบต่อกันมาก่อเกิดพื้นผิววัสดุและชั้นของวัสดุที่แตกต่างบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นบุคลิกที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ
Hands vs Industrialize – การขยายตัวของธุรกิจทำให้ การขนส่งรวดเร็ว มีการสื่อสาร เกิด Trade Fair ต่างๆ ขึ้น ความต้องการสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกัน ทุกชิ้นเหมือนๆกันในปริมาณมากเป็นความท้าทายอย่างมากของผู้ทำงานหัตถกรรม เพราะวัสดุและวัตถุดิบแต่ละชิ้นที่นำมาใช้สร้างงานมีลักษณะเดิมที่แตกต่างกันตามฤดูกาล ประกอบกับการนำเทคนิคใหม่ๆและเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ทักษะฝีมือสูญหายไป การรักษางานหัตถศิลป์จึงเป็นการส่งเสริมจิตวิญญาณและแนวคิดใหม่ๆ ผ่านทักษะการใช้มือ
Thailand rich in style – คุณ Lamont พบความท้าทายเมื่อมาถึงประเทศไทย มีความรักในประเทศไทย แต่เลือกแนวทางการพัฒนางานฝีมือในประเทศไทยโดยไม่ต้อง “ดูไทยไทย” (Look Thai) แต่เป็นงานที่มีคุณภาพสูงและงดงามในสายตาและการสัมผัสของเขา ทำให้ชิ้นงานเข้ากันได้กับชีวิตคน (Relevent to life) มีความร่วมสมัยในวัสดุดั้งเดิม
Learning craft skill take a lifetime แนวคิดการพัฒนาของคุณ Lamont เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาแล้วพัฒนาอีก การสอนงานจากรุ่นสู่รุ่นให้ดีขึ้นเรื่อยๆ การเรียนการสอนงานหัตถศิลป์ ไม่ใช่การยืนดูครูอาจารยทำให้ดู และเป็นการลงมือทำ
คำแนะนำให้แก่คนทำงานหัตถกรรม ให้เลือกทำงานที่รัก ฝึกฝนความเชี่ยวชาญในวัสดุ ทุ่มเท อ่านทุกอย่าง ทดลองทุกอย่าง จนมีหลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ ให้ Craft เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ใช้มือ ใช้สายตา เชื่อมโยงกับธรรมชาติ เรียนรู้ประสบการณ์ต่อด้วยประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง จนเกิดนวัตกรรม และสามารถสร้างสรรค์งาน Masterpiece ของตนเองได้
Chen Liang
Topic : “Enhancing the cultural Identity through craft”
การนำความดั้งเดิมมาสร้างเป็นแรงบันดาลใจซึ่งเป็นการที่เราจะศึกษาวิจัยองค์ประกอบต่างๆมาสร้างเป็นแรงบันดาลใจ เช่น การศึกษาเรื่องราวของมังกร แนวคิดวัฒนธรรม และวิธีการผลิตดั้งเดิมมาต่อยอดเป็นแนวทางในการออกแบบสมัยใหม่ ดังนั้นวิธีการที่เราจะรักษาองค์ประกอบและใช้องค์ประกอบวัฒนธรรมดั้งเดิมให้กลายเป็นของใหม่ได้อย่างไรนั้น สามารถทำได้ ดังนี้
- การให้ความสำคัญกับคุณค่าทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก เช่น ชาวจีนจะมาความเชื่อว่าตนเองเป็นลูกหลานจากมังกร จึงจะให้ความสำคัญเป็นแนวคิดนี้ที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ถ้าสมัยใหม่จะเป็นแนวคิดการนำหมีแพนด้าที่สื่อถึงการเชื่อมความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรซึ่งเป็นแนวคิดในยุคสมัยใหม่
- การควบคุมออกกฎหมายและการวางมาตรการในการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม ดังเช่นที่ จีนมีสถาบันที่มองเห็นและให้ความสำคัญกับคุณค่าของวัฒนธรรมจีนมาช่วยในการกำกับดูแลในเรื่องนี้
- การหาคนมาสืบทอดการทำงานด้านวัฒนธรรมและการให้พื้นที่ในการแสดงออก ศิลปินได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล การให้ความรู้ที่มีฐานการฝึกอบรมเพื่อสืบทอดให้กับคนรุ่นใหม่ และคนหนุ่มสาว อีกทั้งรัฐบาลยังสร้างเครือข่ายที่ทำให้คนกลุ่มนี้ได้มีพื้นที่ในการแสดงออก เช่น การสร้างเครือข่าย E-Commerce เป็นต้น
- องค์กรเอกชนต่างๆต้องร่วมให้ความสำคัญและสนับสนุนการอนุรักษ์งานหัตถกรรมดั้งเดิมให้คงอยู่
- การใช้เทคโนโลยีมาสร้าง Data base ในการเก็บข้อมูลงานหัตถศิลป์ให้คงอยู่ ทำเป็นฐานข้อมูลให้สามารถเข้าไปศึกษา เช่น การใช้เทคโนโลยี VR 360 องศา ที่ทำให้ทุกคนสามารถมาศึกษารูปแบบและลักษณะงานได้ด้วยตนเอง
- การสร้างช่องทางแบบ O2O (Offline to Online) ซึ่งในจีนบางร้านได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งบางเว็บไซต์จะเป็นเวทีที่ให้ศิลปินมาโปรโมท ในการขาย หรือเป็นช่องทางในการพบปะที่จะพูดคุยเรื่องงานหัตถศิลป์
โดยสรุปแล้วการนำเสนองานหัตกรรมแบบดั้งเดิมแสดงถึงรากวัฒนธรรม แสดงถึงความเป็นหัวใจของประเทศ ทุกคนจึงควรให้คุณค่า เพราะไม่สามารถหาอะไรอย่างอื่นมาแทนที่ในหัวใจของเราได้
Namhee Lee
Topic : “Millennials’ consumption of arts and craft in Korea : New ways of thinking”
ลักษณะของคน Gen Millenial ของเกาหลี คนเกาหลีจะมีความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ เริ่มที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ เช่น การเป็นเจ้าของรถ เป็นเจ้าของบ้าน เริ่มที่จะเดินทางไปต่างประเทศอย่างเสรี มีความเป็นครอบครัวเดี่ยว ไม่มีลูก ครองความเป็นโสด หรืออยู่เป็นครอบครัวเล็กๆที่ดูแลพ่อแม่ของตนเอง จะเป็นคนมองโลกในความเป้นจริง มองโลกอย่างยืดหยุ่น ด้วยการอยู่ในยุคดิจิตอล ทำให้คนกลุ่มนี้เน้นการทำงานอยู่ที่บ้าน อยากทำงาน Parttime หรืองาน Freelance มากกว่างาน Fulltime ทางด้านทัศนคติจะให้ความสำคัญกับตนเอง มีความเป็นปัจเจค และมองรสนิยมเป็นสิ่งสำคัญ
ด้วยเหตุนี้ Trend เกาหลีตอนนี้จึงเน้นการให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตแบบคนเดียวเป็นหลัก ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหม่ของเกาหลีที่คนชอบการอยู่บ้าน ไปเที่ยวไหนคนเดียว จึงทำให้หลาย ๆ บริษัทคิดริเริ่มในการออกผลิตภัณฑ์ที่เน้นการใช้งานคนเดียวมากขึ้น อีกทั้งการใช้ชีวิตของคน Gen Millenial เริ่มการมองหาความสมดุลระหว่างการทำงานและการงานอดิเรกจึงทำให้เกิดหลักสูตร Online มากขึ้น ในราคาประหยัดที่เน้นการผสมผสานกับเทคโนโลยีที่เน้นความสามารถในการใช้งานด้วยตนเอง ใช้งานคนเดียวมากขึ้น จึงทำให้ธุรกิจลักษณะนี้เกิดขึ้นในหลายๆ Studio
Mega Trend ที่เกิดขึ้นในเกาหลี
Yolo life (You only live one) คือการใช้ชีวิตได้แค่ครั้งเดียว Trend นี้ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวเติบโตมากขึ้น เกิด Platform ที่พัก กิจกรรม และแนะนำในการเที่ยวโดยมียอดขายเติบโตมากขึ้น เกิดการร่วมมือกันสร้าง Experience ให้คนออกมาเที่ยวมากขึ้น
Home Ludens ในเกาหลีขนานนาม Trend นี้โดยให้ความหมายว่าเป็นคนที่อยากอยู่บ้านเล่น ๆ ซึ่งผลวิจัยพบว่าคนกลุ่มนี้รักความสบายในการอยู่บ้าน อยากลดค่าใช้จ่าย อยากหลีกหนีจากการติดต่อกับผู้คน ทำให้เกิดแนวคิด Home Escape หนีจากนอกบ้านมาอยู่ในบ้าน เติบโตมากขึ้นในเกาหลี ทำให้เกิดธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ให้คนสามารถอยู่ติดบ้านได้เติบโตมากขึ้น เช่น ธุรกิจการส่งอาหารที่แต่ละแบรนด์สร้างรู้แบบความน่าสนใจ สร้างวัฒนธรรมด้วยอารมณ์ขันและการสื่อสารมากขึ้น
Petconomy เป็นการเกิดเศรษฐกิจใหม่ที่ธุรกิจสัตว์เลี้ยงกำลังเติบโดอย่างมากในเกาหลี ทำให้เกิดรูปแบบของธุรกิจที่รองรับคนที่เลี้ยงสัตว์ เช่น ธุรกิจการออกแบบของเล่นให้สัตว์เลี้ยง สร้างความแตกต่างของการออกแบบในแต่ละเดือนโดยให้นักออกแบบได้ใช้ Platform crowdfunding ที่แชร์แนวคิดการออกแบบร่วม กัน หรือ Platform Comestay ที่ให้ข้อมูลและแนะนำร้านค้าโรงแรมที่สามารถนำสัตว์เลี้ยงได้
Newtro แนวคิดการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมมาผสมผสานกับยุคสมัยใหม่ นำเทคนิคดั้งเดิมมาปรับใช้ในรูปแบบที่ทันสมัย นำแนวคิดเก่าของคนยุคก่อนมาทำให้เกิดความหวนรำลึก เชื่อมโยงอดีตเข้าไปสู่ปัจจุบัน และนำเอามูลค่าของวัฒนธรรมกลับคืนมาเช่น การออกแบบร้าน Cafe ที่ใช้บ้านแบบโบราณ และการใช้ 3d Printing ที่ออกแบบของเล่นดั้งเดิม
Customized การออกแบบที่จะต้องสอดคล้องกับความต้องการเฉพาะบุคคล สร้างความรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์นี้เป็นของที่ออกแบบมาให้เฉพาะคนๆนั้นโดยเฉพาะ
Mega Trend ที่กล่าวมานั้นเป็น Trend ที่เกิดขึ้น แต่จะทำอย่างไรให้ที่จะทำให้งานหัตถศิลป์เข้ากับคน Gen Millenial ได้
1 การใช้ Crowdfunding ให้เกิดประโยชน์สำหรับการแชร์ไอเดียสร้างสรรค์
2 การสังเกตุปัญหาในสังคมโดยเริ่มต้นจากปัญหาที่สำคัญและสร้างเป็นไอเดียที่จับต้องได้จริง
3 การใช้ Channel Online หรือ การใช้ SMS ในการพูดคุยกับลูกค้า เช่น การใช้ Youtube โปรโมทสินค้าของตนเองอย่างน่าสนใจ
4 การออกแบบให้น่าสนใจจะต้องดึงดูดใจได้
5 การเป็น Influencer ที่แสดงความจริงใจจะสามารถสร้าง Impact และเข้าถึงคน Gen Millenial ได้มากขึ้น
6 การสร้าง Brand ต้องเกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ที่ไม่ใช่ได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว
7 การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาผสมผสานกับความดั้งเดิม เอามรดกทางวัฒนธรรมมาใช้ในการออกแบบจะสร้างความแปลกใหม่และคงความยั่งยืน
8 คน Gen Millenial เป็นคนที่มีรสนิยมสูง การออกแบบจะต้องปรับให้เข้ากับคนกลุ่มนี้ให้เหมาะสมตามรสนิยมของแต่ละคน
คำแนะนำ
- Crowdfunding เป็นแหล่งทุนที่ดี และความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับแนวคิดของศิลปินที่ยังไม่มีทุน
- Internet ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร และขยายธุรกิจของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และต้องทำอย่างจริงใจ
- Authentic สร้างงานที่เป็นของต้นฉบับ เป็นของแท้ของตัวเองอย่าไปลอกเลียนใคร
- Needs around you ศึกษาความต้องการจากคนใกล้ ๆ ตัว ทำความเข้าใจความต้องการที่แท้จริง และสร้างงานที่เป็นคำตอบให้คน
Natalia Bredin
Topic : “Thai Arts & Crafts at a Crossroads”
ทุกวันนี้เราเผชิญกับ Crisis 3 ด้าน ทั้ง
– Identity Crisis จาก Demographic ที่เปลี่ยนแปลงไป เพศสภาพเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กับการยอมรับของสังคม
– Economical Crisis เทคโนโลยี AI ที่เข้ามา Disrupt ชีวิต ทำให้วิธีการทำงานเปลี่ยนแปลงไป
– Environmental Crisis สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นวิกฤติกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก
Consumer Context กลุ่มเป้าหมายแต่ละช่วงวัยที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน
– Gen Z คนรุ่นใหม่ที่มีความเชื่อมโยงถึงกัน ตื่นตัวกับความห่วงใยด้านสิ่งแวดล้อม และศีลธรรม ค่านิยมที่ต่างออกไป มีความต้องการที่แตกต่างออกไป
– Gen M กระจายไปทั่วโลก มองเห็นความเป็นตัวเอง ต้องการความโปร่งใส ความไว้ใจ
– Gen Boomer มีอยู่ทั่วโลก ไม่ควรเมินเฉย เพราะมีรายได้มากกว่าทุกกลุ่ม
เหตุผลที่ผู้บริโภคซื้องาน Craft มีหลายเหตุผล ทั้งความต้องการ Authentic ความมีวัตถุประสงค์ มีความยั่งยืน
From Local to Global แนวโน้มจากท้องถิ่นขยายไประดับโลกกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว สินค้าเหล่านี้เติบโตมากในยุโรป ความน่าเชื่อถือเป็นมาตรฐานใหม่ที่คนต้องการ
บัญญัติ 5 ประการของการอยู่รอด
- Desirability ทำให้มีความปรารถนา ใส่ Creativity Inspiration และ Singularity เข้าไป
- Agility ความคล่องตัว สร้างความเชื่อมโยงระหว่างงานหัตถกรรกับเทคโนโลยี การพัฒนางานแบบที่ customized เข้าหาลูกค้า ให้บริการเป็นรายบุคคล รวมถึงการใช้เครือข่าย Social Network เพื่อโต้ตอบกับลูกค้าแบบฉับพลัน รวมถึงการเครือข่ายผู้นำทางความคิดและสังคม
- Commitment การสร้างคำมั่นสัญญาเพราะลูกค้ากำลังมองหาสิ่งนี้ โดยการปฏิบัติจริง การกระทำดีกว่าแค่คำพูด รวมถึงการเป็นผู้ให้ความรู้ ถ่ายทอดสิ่งดีๆอย่างจริงใจ
- Transparency ต้องการความโปร่งใส ใคร ทำอะไร ทำจากอะไร ที่ไหน สิ่งเหล่านี้สำคัญมาก รวมไปถึงการตามหาร่องรอยได้ สามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อแบ่งปันและส่งต่อได้
- Experimental การสร้างประสบการณ์ที่สร้าง Connection ไม่มีขอบเขต ไม่จำกัดเวลา ด้วยการใช้ VR รวมถึงการสร้างภาวะ Immersive เข้าไปมีประสบการณ์ร่วม สร้างความทรงจำและความฝันต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมจริงๆ ได้ ทั้งหมดนี้ช่วยส่งเสริมประสบการณ์ของผู้ซื้อ
New World, New Rules for Crafts
หัตถกรรมของไทยก็มีโลกใหม่ ที่สามารถเชื่อมโยงกับผู้ชมและผู้ซื้อทั่วโลกได้ ที่สำคัญคือต้องระมัดระวังในการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่
และนี้คือบทสรุปที่เราได้จากผู้เชี่ยวชาญและคร่ำหวอดในวงการหัตถศิลป์ระดับโลก
ท่านใดสนใจ SACICT Craft Trend Book 2020 สำหรับเนื้อหาฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดไฟล์ e-book SACICT Craft Trend Book 2020 ได้แล้ววันนี้ที่ https://www.sacict.or.th/th/listitem/2150
หรือดาวน์โหลดไฟล์ e-book โดยเข้าที่ https://www.sacict.or.th/th ไปที่คลังข้อมูลหัตถศิลป์ และเลือกทิศทางหัตถศิลป์
หากต้องการเข้าเยี่ยมชมสินค้าต้นแบบที่สอดรับกับทิศทางเทรนด์ SACICT Craft Trend 2020 สามารเข้าชมได้ที่ Innovation Craft Gallery ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ชั้น 2