Segmentation

Segmentation ช่วยหาลูกค้าได้ Segmentation ของคน 4 แบบ ที่เป็น New Normal Segmentation

Segmentation ช่วยหาลูกค้าได้

หลายๆ ท่านอาจจะรู้ว่าถ้าหากเราจะมีการออกสินค้า/ บริการอะไรสักอย่าง สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ การกำหนด Target (กลุ่มเป้าหมาย) ซึ่งเราอาจจะได้ในเชิงของการกำหนดแบบ Demographic (เพศ/ อายุ/ อาชีพ/ รายได้) แต่หากผู้ประกอบการต้องการเข้าใจถึงวิถีชีวิต ไลฟ์สไตล์ หรือแม้กระทั่งทัศนคติ จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องกำหนด Segmentation ที่เราจะเข้าใจถึง Psychological (ระดับจิตวิทยา)

และสำหรับยุคนี้หากไม่พูดถึง Covid ก็คงไม่ได้ ทีมวิจัยของศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ ได้ทำการเก็บข้อมูลผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ เพื่อได้ผลลัพธ์ว่าเมื่อเข้าสู้สภาวการณ์ปกตินั้นพฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ซึ่งเราได้เจอ Segmentation ของคน 4 แบบ ที่เป็น New Normal Segmentation*

New Normal Segmentation
New Normal Segmentation_Baramizi Lab

 

Persona ที่ 1  Return & Balance มีจำนวน 19%  คนนี้จะพยายามกลับไปใช้ชีวิตปกติ แต่ระมัดระวังมากขึ้น อยากเพิ่ม Work From Home และเข้มข้นกับการวางแผนการเงิน 

Return & Balance
Persona ที่ 1 Return & Balance

ซึ่งเค้าจะมี  Demographic ดังนี้

    • ผู้หญิงมีสัดส่วนในกลุ่มน้ีมากกว่าค่าเฉลี่ย
    • อายุ 26-35 ปี, เกือบทั้งหมดเป็น Generation Y
    • สมรสแต่ยังไม่มีบุตร มีแนวโน้มอยู่เป็นครอบครัว ใหญ่มากกว่ากลุ่มอื่น
    • ธุรกิจส่วน ค้าขาย ฟรีแลนซ์อยู่ในกลุ่มน้ี
    • ส่วนใหญ่การศึกษาปริญญาโทข้ึนไป
    • รายได้ 60,000-90,000 บาท

Persona ที่ 2 Resilience มีจำนวน 52.8% ถือว่าสูงที่สุดใน 4 แบนี้เลยครับ คนนี้เค้าจะปรับตัวใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ในทุกมิติ อยู่บ้านมากขึ้น ใช้ออนไลน์ดำเนินชีวิต วางแผนการเงินและอนาคต

Resilience
Persona ที่ 2 Resilience

ซึ่งเค้าจะมี  Demographic ดังนี้

    • กลุ่มสมรสและมีลูกเล็กโดดเด่นในกลุ่มนี้
    • Gen X โดดเด่น
    • รับราชการ, พนักงานบริษัทเอกชน
    • ส่วนใหญ่รายได้ 30,001-60,000 บาท และ กลุ่ม 90,001-150,000 บาทโดดเด่นในกลุ่มน้ี

Persona ที่ 3 Fearless & Return มีจำนวน 13.1% คนนี้เค้าไม่กังวลด้านสุขภาพ พร้อมกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ อาจเพิ่ม Work From Home และวางแผนการเงินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 

Fearless & Return
Persona ที่ 3 Fearless & Return

ซึ่งเค้าจะมี  Demographic ดังนี้

    • เพศชายโดดเด่นในกลุ่มน้ี
    • ส่วนใหญ่ท่อียู่ร่วมบ้านกับบิดา/มารดาและมีพี่น้อง
    • ช่วงอายุ 26-35 ปี, Generation Y และ Baby Boomer โดดเด่น
    • ส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
    • ส่วนใหญ่รายได้ระดับ 30,001-60,000 บาท และกลุ่ม150,001 บาทข้ึนไปโดดเด่น
    • คนกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มน้ีมากกว่าคนอยู่ต่างจังหวัด

Persona ที่ 4 Disconnected มีจำนวน 15.1% คนนี้เค้าจะกังวลกับโรคภัย อยู่ติดบ้านมากขึ้นดูแลสุขภาพมากขึ้น แต่ไม่ค่อยเข้าถึงเทคโนโลยีและเทรนด์ ชีวิตไม่ค่อยออนไลน์  

Disconnected
Persona ที่ 4 Disconnected

ซึ่งเค้าจะมี  Demographic ดังนี้

    • ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง
    • กลุ่มอายุน้อย 18-25 ปี (Gen Z) และ 36-65 ปี (Gen X และ Baby Boomer) อยู่ในกลุ่มน้ี
    • ส่วนใหญ่โสด และกลุ่มหย่าร้างโดดเด่นในกลุ่มน้ี ส่วนใหญ่ อยู่กับบิดา มารดา และกลุ่มมีบุตรอายุ 6-17 ปีอยู่กลุ่มน้ี
    • กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และอาชีพ Freelance เด่นในกลุ่มน้ี
    • ส่วนใหญ่ปริญญาตรี
    • กลุ่มรายได้น้อยโดดเด่นในกลุ่มน้ี

สิ่งเหล่านี้ถ้าคุณเข้าใจ คุณจะเห็นโอกาสอีกมากมายที่เป็นไปได้สำหรับธุรกิจคุณ โดยข้อมูลชุดนี้จะมีทิศทางที่เป็นโอกาสสำหรับแต่ละอุตสาหกรรมทั้งหมด 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์/ กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร/ กลุ่มค้าปลีกและห้างสรรพสินค้า/ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว/ กลุ่มธุรกิจเพื่อสุขภาพ/ กลุ่มพัฒนาความสามารถใหม่

ซื้อข้อมูลวิจัยได้ที่ https://www.baramizi.co.th/shop/ebook/the-day-after-crisis-full-report/ 

อ่านข้อมูลฉบับย่อได้ที่ https://www.baramizi.co.th/shop/ebook/ข้อมูลวิจัย-the-day-after-crisis-เมื่อ-covid-19-สิ/

 

*(คำอธิบายเพิ่มเติมสำหรับชุดข้อมูลนี้)

ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab ร่วมกับรศ.ดร.ณัฐพล อัสสะรัตน์ ประธานหลักสูตร MBA Executive คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมกันจัดทำงานวิจัยชุด “The Day After Crisis” ขึ้น เพื่อถอดรหัสและคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคแห่งอนาคตที่จะส่งผลต่อการเฝ้าระวังและการเตรียมการรับมือของภาคธุรกิจ

โดยวิธีการวิจัยคือการเก็บแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 443 ตัวอย่าง (ช่วงเวลาการเก็บข้อมูล 23 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2563)โดยชุดคำถามที่ทีมวิจัยสร้างขึ้นนี้ตั้งอยู่พื้นฐานที่เราทราบเงื่อนไขดีว่า ช่วงเวลาขณะนี้อาจจะยังเร็วเกินไปที่จะฟันธงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนเนื่องจากผู้บริโภคเองก็อาจไม่สามารถมองเห็นอนาคตที่ชัดเจนได้ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเราทุกคนในช่วงเวลาที่ทำแบบสอบถามนั้นล้วนแล้วแต่ได้เผชิญสภาวะวิกฤตที่เราถูกบีบให้ต้องรับมือกับมันมาเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้ว เราตั้งสมมติฐานว่าเป็นช่วงเวลาที่นานพอที่เราจะเรียนรู้ผลกระทบ และซึมซับและวัดผลพฤติกรรมใหม่ที่เข้ามาในชีวิตเรา และพอจะเลือกได้แล้วว่าอะไรเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่มันดีขึ้น ที่เราอยากจะตัดสินใจให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราต่อไปแม้จะจบวิกฤตครั้งนี้ไปแล้วก็ตาม ชุดคำถามทั้งหมดจึงค่อนข้างเน้นย้ำไปที่การเชิญชวนให้ผู้ร่วมทำวิจัยตอบคำถามโดยพิจารณาถึงการใช้ชีวิตของตัวเองเป็นหลักว่าอะไรคือสิ่งที่พวกเขาเลือกแล้วว่าจะทำต่อไป หรือเลิกทำเปรียบเทียบปริมาณระหว่างช่วงหลังจากคลาย Lock Down กับช่วงเวลาปกติก่อนเกิด COVID-19