AttitudeAfterCovid19_BaramiziLab_ResearchReport

Future Lab Research:New Attitude After COVID-19 ทัศนคติของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังจาก COVID-19 สิ้นสุดลง

Attitude Trends ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังจาก COVID-19 สิ้นสุดลง

ความปกติใหม่ (New Normal) ที่เกิดจาก COVID-19  ไม่เพียงส่งผลกระทบในระดับพฤติกรรมเท่านั้น  แต่มันยังได้สร้างความเปลี่ยนแปลงลึกลงไปในระดับทัศนคติของผู้บริโภค

ศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ มีการเผยแพร่งานวิจัยด้าน Attitude Trends หรือ ทัศนคติของผู้บริโภคที่แบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 5 กลุ่ม ที่มีทัศนคติ และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน นำไปสู่แนวคิดในการบริโภคสินค้าที่แตกต่างกัน เราตั้งคำถามว่ากลุ่มคนที่มีทัศนคติที่แตกต่างกันนี้ เมื่อโดนกระทบจากวิกฤติ โควิด-19 พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติไปเป็นอย่างไร? ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย 443 ตัวอย่าง เราพบสัดส่วนของ Attitude Trends ก่อนและหลัง COVID-19 ดังนี้

AttitudeTrend_BaramiziLab
AttitudeTrend_BaramiziLab

1) Serenergy เรียบง่าย กลมกลืนกับธรรมชาติ สงบ ผ่อนคลาย  ก่อน COVID-19 มีสัดส่วน 34.1% หลัง COVID-19 มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 44.2%

2) Utopioneer ต้องการเห็นโลกในอุดมคติ สังคมที่แบ่งปัน ชอบทดลอง และเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว  ก่อน COVID-19 มีสัดส่วน 20.8% หลัง COVID-19 มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 30.2%

3) Dreamavant-garde เชื่อในอนาคต จินตนาการล้ำสมัย มุ่งเป้าหมายชัดเจน ก่อน COVID-19 มีสัดส่วน 14% หลัง COVID-19 มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 12.6%

4) Precidealist พิถีพิถัน โดดเด่น เป็นคนมีรสนิยม เปี่ยมอุดมการณ์ ก่อน COVID-19 มีสัดส่วน 9.9% หลัง COVID-19 มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 3.2%

5) Alchandemic แตกต่าง รักอิสระ สร้างอัตลักษณ์ ชอบแลก- เปลี่ยนเรียนรู้ ก่อน COVID-19 มีสัดส่วน 21.2% หลัง COVID-19 

เราพบว่าสัดส่วน Attitude Trends หรือแนวโน้มด้านทัศนคติของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป เมื่อเทียบก่อน และหลัง COVID-19  ที่เห็นได้ชัดคือกลุ่ม Serenergy ผู้นิยม ความเรียบง่าย กลมกลืนกับธรรมชาติ สงบ ผ่อนคลาย Utopioneer ต้องการเห็นโลกในอุดมคติ สังคมที่แบ่งปัน ชอบทดลอง และเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในอดีตที่พบว่า ในทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ ผู้คนจะโหยหา “Authencity” และกลับมาหาความต้องการขั้นพื้นฐานอีกครั้ง

นอกจากนี้เรายังพบทัศนคติที่เกิดขึ้นใหม่อีก 4 ด้าน ดังนี้

1. Social Distance (การเว้นระยะทางสังคม) มีคะแนน Weighted Score สูงถึง 78.4%

ถึงแม้โควิด-19 จะหายไปจากชีวิตของเรา แต่การตระหนักในเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยจะยังคงอยู่ ความกลัวเจ้าไวรัสที่มองไม่เห็นมีแนวโน้มจะยังคงฝังลึกอยู่ในจิตใจของผู้คน  สะท้อนผ่านความไม่สบายใจถ้าต้องอยู่ในที่สาธารณะที่มีความเบียดเสียด  และอยากไปใช้ชีวิตห่างออกจากเมืองใหญ่ที่มีความหนาแน่นสูง

2. Social Concern (คิดถึงส่วนรวม) มีคะแนน Weighted Score รองลงมาคือ 68.3%
วิกฤติครั้งนี้กระทบธุรกิจในทุกภาคส่วน และคนทุกกลุ่ม ทั้งภาคธุรกิจและภาคประชาชนต่างเดือดร้อนกันถ้วนหน้า สะท้อนผ่าน การคิดถึงการช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้น คำนึงถึงผลกระทบต่อส่วนรวม, ไม่ให้คนอื่น สังคม หรือประเทศเดือดร้อนมากขึ้น คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีแนวโน้มอยากบริโภคสินค้าที่ผลิตในพื้นที่ใกล้ตัว/ สินค้าที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น รวมถึงต้องการความจริงใจ โปร่งใสและตรวจสอบย้อนกลับได้

3. Leadership (ต้องการภาวะการเป็นผู้นำ) ได้คะแนน Weighted Score 56.4%

โควิด-19 เป็นเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่ท้าท้ายความสามารถในการบริหารจัดการของผู้นำในทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับประเทศที่ภาคประชาชนย่อมต้องคาดหวัง และเรียกร้องการตรวจสอบ ประเด็นที่เพิ่มขึ้นเริ่มต้นจากการตระหนักว่าการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความสำคัญ ไปจนถึงต้องการผู้นำที่คิดรอบด้าน สื่อสารมีประสิทธิภาพ เด็ดขาด แก้ปัญหาได้ ซึ่งในที่นี้หมายความรวมถึงผู้นำในทุกระดับ

4. Privacy Consent (การยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัว) ได้ Weighted Score ที่ 28.4%

การตระหนักในสุขภาพและความปลอดภัยที่มากขึ้น อาจส่งผลให้ผู้บริโภค “ยอมแลก” บางสิ่งที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยหวงแหนนั่นคือ ข้อมูลส่วนบุคคลด้านสุขภาพ ซึ่งถึงแม้ Weighted Score จะยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับทัศนคติด้านอื่นๆ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ ทั้งนี้ตัวเลขชี้ว่า ผู้บริโภคยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลด้านสุขภาพกับบริษัท, องค์กร เพื่อสุขภาพส่วนบุคคลของตนเอง และสุขภาพของส่วนรวม

เพราะที่ผ่านมาทัศนคติของมนุษย์ไม่เคยหยุดนิ่ง หากแต่ผันแปรไปตามบริบทที่เปลี่ยน สิ่งสำคัญคือทัศนคติส่งผลต่อการกระทำเสมอ

ข้อมูลแนวโน้มทัศนคติที่เกิดขึ้นใหม่นี้จึงควรค่าแก่การนำไปตีความ เพื่อทำความเข้าใจแนวโน้ม และพร้อมปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง.

สำหรับท่านใดที่ต้องการชุดช้อมูลวิจัยสามารถซื้อได้ที่ https://www.baramizi.co.th/shop/ebook/the-day-after-crisis-full-report/

หรือต้องการทราบ Package สำหรับทำวิจัยสามารถติดต่อได้ที่ คุณแพน 093-6429355