Tinder แอพพลิเคชั่นหาคู่ยอดนิยมมีที่ผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการทำให้คนมั่นใจในการเดทที่จะได้คุยกับคนที่อยากจะคุยด้วย มีรสนิยมและทัศนคติที่ตรงกันมากที่สุด จนแอพนี้ทำความนิยมมหาศาล กลายเป็นการสร้างพฤติกรรมใหม่ในการปัดซ้าย ปัดขวา match คนที่ใช่แล้ว แต่แท้จริงแล้ว อีกปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Tinder ก็คือการหารายได้ หรือ Revenue Model ที่น่าสนใจในรูปแบบที่เรียกว่า Freemium
Freemium คืออะไร ต้องเกริ่นก่อนว่าแท้จริงแล้ว Freemium ไม่ได้เป็นรูปการหารายได้ใหม่ เพราะระบบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุค 1980 ในการขาย Software ให้ผู้ใช้ได้ลองใช้แบบฟรีๆ กันก่อน แต่จำกัดบริการบางส่วนให้ลูกค้าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม จนผู้ใช้บริการสามารถนานพอที่จะตัดสินใจซื้อบริการเพิ่มเติม
Tinder ก็ใช้ระบบนี้เช่นกัน โดยเน้นการให้บริการฟรีอย่างมีข้อจำกัด แต่มีบริการเพิ่มอย่าง Tinder Plus และ Tinder Gold ซึ่งอนาคตกำลังจะมีแผนทำ Tinder Platinium ซึ่งการให้บริการ Feature พิเศษที่พัฒนาล้วนแต่มาจากความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น ในช่วงแรก Tinder มีรายได้จากโฆษณาเท่านั้น แต่เมื่อพบว่าผู้ใช้มักจะปัดพลาด ไปเผลอปัดคนที่ตนเองสนใจทิ้งไป Tinder จึงทำ Rewind ขึ้นมาเพื่อให้เรากลับไปกดคืนได้ หรือการ Boost เพื่อให้คนอื่นๆ ได้เห็น Profile ของเรามากขึ้น ซึ่งหากไม่ซื้อแพ็คเกจก็จะไม่ได้รับสิทธินี้
แต่นอกจาก Feature ที่คิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานแล้ว ยังมีเรื่องของการ “จำกัด” การใช้งาน เพื่อให้คนใช้งานรู้สึกอยากเข้าแอพทุกๆ วัน หรือวันละหลายๆ ครั้ง ก็ต้องยอมเสียเงินเพียงเล็กน้อย เพื่อให้ตนเองได้รับประสบการณ์ที่มากกว่าเดิม
ความสำเร็จของระบบ Premium Features นี้ สามารถเห็นได้จากปริมาณผู้ Subscripe ที่จ่ายเงินเพิ่มมีเพียง 20 % ของผู้ใช้งานทั้งหมด หรือประมาณ 5.9 ล้านคนเท่านั้น แต่สามารถสร้างรายได้มากกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด หากลองคิดเล่นๆ ปี 2019 Tinder มีรายได้กว่า 1.15 พันล้านเหรียญ แสดงว่ายอด Subscripe สร้างรายได้กว่า 690 ล้านเหรียญให้แก่บริษัท
นี่จึงแสดงให้เห็นได้ว่าการหารายได้รูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดจากการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคอย่างถี่ถ้วน การใส่ความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ลงไปในรูปแบบของการหารายได้ จนเกิดเป็นความสำเร็จที่พร้อมจะเติบโตในยุค 4.0