แม้ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะดีขึ้นแล้ว และหลายๆ อุตสาหกรรมกลับมาฟื้นตัวขึ้น เช่นเดียวกันกับอุตสหากรรมการบินที่ได้รับผลกระทบจากการปิดประเทศและการท่องเที่ยวที่ลดลงส่งผลให้นับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด การฟื้นตัวนี้แม้จะไม่คืนเทียบเท่ากับก่อนหน้านี้ ทว่าก็มียังอีกหลายสายการบินที่ยังคงความสามารถและครองตำแหน่งสายการบินที่มีมูลค่าสูงที่สุดไว้อยู่ได้
Delta สายการบินที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
Delta Air lines สายการบินสัญชาติอเมริกันที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลกด้วยการให้บริการเส้นทางการบินกว่า 400 เส้นทางการบิน ซึ่งปัจจุบันก็ได้เพิ่มสายการบินข้ามแอตแลนติกมากขึ้นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มูลค่าแบรนด์เติบโตขึ้นถึง 27% จากปีค.ศ. 2021 และมีมูลค่าแบรนด์กว่า 7.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง Delta Air lines ยังคงครองอันดับ 1 จากการจัดอันดับแบรนด์สายการบินที่มีมูลค่ามากที่สุดของ Brand Finance ตลอดมา
เผยกลยุทธ์ Delta สายการบินระดับโลก
บริการด้วยสายการบินระดับพรีเมี่ยม
ถึงแม้ว่าตลาดสายการบินต้นทุนต่ำ (ULCCs) จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เดลต้าก็ยังคงยึดมั่นในกลยุทธ์ของการเป็นสายการบินในระดับพรีเมี่ยม โดยเจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้เลือกเที่ยวบินตามราคา แต่เป็นการเลือกจากบริการที่พวกเขาจะได้รับ ด้วยบริการเสริมต่างๆไม่ว่าจะเป็น WiFi ความเร็วสูง จอให้ความบันเทิงหลังเบาะที่นั่ง และของว่างพร้อมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์
แตกต่างจาก ULCCs อื่นๆที่ขายค่าโดยสารแบบแยกส่วนระหว่าง ค่าโดยสาร ค่าของว่าง ค่าสัมภาระ ซึ่งเดลต้าก็ได้มีการใช้กลยุทธ์เพื่อเอาชนะสายการบินแบบ ULCCs ด้วยการเสนอเที่ยวบินแบบประหยัดในบางเส้นทาง แต่ยังคงบริการถือสัมภาระขึ้นเครื่องฟรี และของว่างพร้อมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ฟรีเช่นเดิม
Royalty Program
เหตุผลหลักๆที่เดลต้าใช้กลยุทธ์เที่ยวบินแบบประหยัดที่ขัดต่อกลยุทธ์สายการบินระดับพรีเมี่ยม นั่นก็เพียงเพราะว่าต้องการแย่งส่วนตลาดจากสายการบิน ULCCs เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มนี้เกิดการทดลองใช้ และให้เกิดความประทับใจจากบริการที่เดลต้ามอบให้ จากนั้นเดลต้าจึงจะนำเสนอโปรแกรม SkyMiles ที่ลูกค้าจะได้สะสมระยะทางในการบิน เพื่อให้ได้รับสถานะสมาชิกที่ดียิ่งขึ้น และผลักดันให้พวกเขายึดติดกับสายการบินในระยะยาว
การลงทุนในสายการบินอื่น
อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญของการเป็นสานการบินระดับโลก คือการตัดจำหน่ายเงินลงทุนในสายการบินทั่วโลกในระยะสั้น โดยได้มีส่วนแบ่งจากสายการในละตินอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เพื่อที่จะเข้าถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในตลาดที่ไม่สามารถให้บริการได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่คู่แข่งรายใหญ่อื่นๆมักให้ความสำคัญกับการเป็นพันธมิตรและเป็นหุ้นส่วนกับสายการบินอื่นๆ ด้วยกลยุทธ์การใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน หรือ code-share ซึ่งก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้เดลต้าที่ใช้กลยุทธ์ระยะยาวและความเป็นสากลนี้ มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้มากกว่า
สรุป : เส้นทางในอนาคตของ Delta
แม้อุตสาหกรรมการบินจะผ่านพ้นจากวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคได้ และน่านฟ้าเปิดได้เมื่อไม่นานมานี้ นอกเหนือจากกลยุทธ์สร้างความแตกต่างด้วยความพรีเมียมและการลงทุน สิ่งหนึ่งที่ต้องเผชิญคือ ความท้าทายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนที่นับเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยออกมามากที่สุดอันดับต้นๆ Delta จึงร่วมมือกับ Airbus บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินในการวิจัยเพื่อใช้พลังงานไฮโดรเจนในการลดการปล่อยคาร์บอนได้มากขึ้น ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของความยั่งยืนที่ Delta ต้องการก้าวเดินไปข้างหน้า
………………………………………….
ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
https://brandirectory.com/rankings/airlines/
https://simpleflying.com/delta-premium-strategy-ulccs/