ทำไมการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์จึงสำคัญมาก
แบรนด์แฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จถูกสร้างขึ้นด้วยการบริหารประสบการณ์แบรนด์อย่างต่อเนื่อง และสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของแบรนด์ ได้เป็นอย่างดี มาดูมูลค่าแบรนด์แฟรนไชน์ในระดับโลกกันดูนะครับ
1. McDonald’s ถือเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่ใหญ่และประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก จึงไม่แปลกที่จะถูกจัดอันดับเป็นที่หนึ่งของธุรกิจแฟรนไชส์ที่สามารถทำยอดขายได้มากกว่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี บริษัทยังคงมีขยายสาขาและสร้างการเติบโตในด้านของรายได้อย่างต่อเนื่องทุกปี แม้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันจากคู่แข่งแบรนด์แฟรนไชส์รายใหม่
2. Dairy Queen ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ไอศกรีมเช่นเดียวกับร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ปัจจุบันมีการขยายแฟรนไชส์แล้วกว่า 5,000 แห่งในสหรัฐอเมริกา และมีการขยายสาขาแฟรนไชส์ไปในต่างประเทศกว่า 3,000 แห่ง แต่ละปีสามารถทำรายได้มากกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงเป็นอีกหนึ่งแบรนด์แฟรนไชส์ที่ติดอันดับ 8 ที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลก
3. Dunkin Donut เปลี่ยนเป็น Dunkin เฉยๆ เพราะไม่ได้ขายเพียงแค่โดนัทเท่านั้น มีรายได้จากการขายกาแฟมากกว่าโดนัทด้วยซ้ำ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ Dunkin Brands Group Inc. (NASDAQ: DNKN) ได้รับการขนานนามว่าเป็นร้านโดนัทระดับพรีเมี่ยมของอเมริกา นับว่าเป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ที่ทำกำไรได้มากที่สุดในโลก ปัจจุบันมีจำนวนสาขากว่า 12,000 แห่งใน 36 ประเทศ ปัจจุบันแฟรนไชส์ Dunkin เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา สามารถสร้างยอดขายได้มากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
4. KFC แฟรนไชส์ร้านไก่ทอดชื่อดังของโลก มีจำนวนสาขากว่า 15,000 แห่งทั่วโลก เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์ที่ทำรายได้สูงสุดในปี 2019 และเป็นแฟรนไชส์ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ให้บริการลูกค้ากว่า 12 ล้านคนต่อวันใน 100 ประเทศ มีรายได้กว่า 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี นับว่าเป็นหนึ่งแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก และมีการประมาณการณ์ว่า มีจำนวนผู้คนทั่วโลกกว่า 100 ล้านคน ที่ได้เห็นโฆษณาของ KFC อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ลองตั้งคำถามนะครับว่าแล้วทำไมแบรนด์แฟรนไชน์ในประเทศไทยถึงแทบไม่มีแบรนด์ไหนที่ก้าวไปสู่การเป็น International แบรนด์ได้เลย !! เรามาดูกันนะครับว่าถ้าเราเป็นธุรกิตแฟรนำชน์แล้วต้องการมีแบรนด์ที่แข็งแรงในตลาดท่านทำครบตามมิติตามกลยุทธ์เหล่านี้ไหม ?
กลยุทธ์หลักในการสร้างแบรนด์สำหรับธุรกิจแฟรนไชน์
ทำ 6 อย่างนี้ได้ดี และพัฒนาให้เหนือคู่แข่งตลอดเวลารับรองว่าแบรนด์ของแฟรนไชน์คุณจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
1. สร้างแบรนด์ให้มีสินค้าหลัก (Core Product) ที่โดนใจผู้บริโภค
การสร้างแบรนด์ไม่ใช่เรื่องการสร้างภาพลักษณ์หรือการทำโฆษณาให้เป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่การสร้างแบรนด์ต้องสร้างประสบการณ์ในทุกๆด้านที่ลูกค้าสัมผัส ให้โดนใจลูกค้า โดยเฉพาะในธุรกิจแฟรนไชน์นั้นสิ่งสำคัญที่ทุกๆแบรนด์ต้องผ่านไปให้ได้คือการสร้าง สินค้าหลัก (Core Product) ที่เป็นพระเอกสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดยอดขายและทำให้เกิดลูกค้าประจำขึ้นมา
กลยุทธ์การสร้างสินค้าหลัก (Core Product)
ทำให้แบรนด์เรามีโฟกัสที่ชัดเจนในการทุ่มทรัพยากรที่มีทำให้เกิดความโดดเด่น (Outstanding) การโฟกัสสินค้าหลักให้เกิดนั้นมีผลมากต่อความแข็งแรงของแบรนด์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว และแน่นอนมันคือยอดขายที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย- การสร้างสินค้าหลัก (Core Product) ต้องโดนใจลูกค้า !
สิ่งที่ต้องเข้าใจคือคำว่าโดนใจ คือ การทำให้ประทับใจจนอยากบอกต่อ ไม่ใช่แค่การทำให้ได้มาตรฐานปกติหรือเหมือนๆคู่แข่งการทำสิ่งที่โดนใจลูกค้านั้นเราอาศัยสัญชาตญาณ (Instict) ไม่เพียงพออย่างแน่นอน เราควรมีการทำความเข้าใจกับ Insight หรือ ความต้องการของลูกค้า ถ้าในกระบวนการ Design Thinking มักเรียกว่า กระบวนการ Empathize ( เข้าอกเข้าใจลูกค้า ) หลักสำคัญมาก ที่มักเข้าใจผิดในการกระบสนการนี้ คือ การไปถามลูกค้าโดยที่เราไม่มีไอเดียหลักไปทำการทดสอบ เพราะการไปถามปากเปล่าหรือมีแต่ชุดคำถามนั้นลูกค้าของท่านจะนึกไม่ออกและไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องอนาคตได้
ทำให้คำตอบที่ได้นั้นไม่พ้นเรื่องความต้องการด้านราคา คุณภาพ โปรโมชั่น หรือต้องการบริการที่ดีเท่านั้น ทำให้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการพัฒนาสินค้าหลักเรานั้นไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ให้โดนใจลูกค้า
หัวใจสำคัญของการทำสินค้าให้โดนใจนั้นมีหัวใจสำคัญ 2 ประเด็นใหญ่ ๆ
1. การพัฒนาสินค้าหลักควรมีแบบจำลองที่หลากหลายมากกว่า 2 แบบและนำไปทดสอบรับฟังความต้องการของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาต่อไป
2. การพัฒนาสินค้าหลักให้โดนใจลูกค้าก็ต้องวัดผลว่าลูกค้าประทับใจจนอยากบอกต่อและกลับมาซื้อซ้ำไหม ?
มาดูตัวอย่างแบรนด์แฟรนไชน์ที่มีสินค้าหลักที่โดดเด่น ทำให้ลูกค้าปากต่อปากและกลับมาซื้อซ้ำด้วยความประทับใจในสินค้าหลัก ดังนี้
Brand : Dairy Queen
Core Product 1 : Soft-serve
ที่มาของ Dairy Queen เกิดขึ้นในปี 1938 เมื่อผู้ก่อตั้งแดรี่ควีน Sheb Noble และเพื่อนๆของเขา ทำไอศครีม soft-serve ขาย และสามารถขายได้ 1,600 serving ภายในสองชั่วโมง นั่นทำให้เขาและเพื่อนๆเกิดไอเดียทันทีว่าต้องทำอะไรบางอย่างแล้วล่ะ ผ่านไป 2 ปี แดรี่ควีนสาขาแรกก็กำเนิดขึ้นเกิดขึ้นร้านแรกในปี 1940
เมื่อสินค้าหลักตัวแรกสำเร็จจึงพัฒนาสินค้าหลักตัวที่สองออกมา
Core Product 2 : Blizzard ( บริซซาร์ด )
บริซซาร์ดถ้วยแรกเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 1985
จะเห็นได้ว่าความสำเร็จของแบรนด์แฟรนไชน์ระดับโลกคือการมีสินค้าหลักที่ชัดเจนแต่ปรับเข้ากับ Local market อาทิ
‘ชาเขียวบริซซาร์ด’ เป็นไอศครีมแดรี่ควีนที่ขายดีที่สุดในจีน ส่วน ‘โอริโอบริซซาร์ด’
ขายดีที่สุดในอเมริกา
เมื่อมีสินค้าเมนูหลักก็ต้องมีวิธีนำเสนอที่ทำให้เกิดการจดจำและเกิดการบอดต่อ
โดยทุกสาขาในโลกต้องคว่ำถ้วยก่อนเสริฟไอศครีมให้ลูกค้าทุกครั้ง เป็นกฎเหล็กที่ห้ามลืมเด็ดขาด จริงๆแล้วมันคือกิมมิคทางการตลาด และมีนโยบายเฉพาะสำหรับบางสาขาเลยว่า ‘หากพนักงานไม่คว่ำถ้วยก่อนเสิร์ฟลูกค้าจะได้รับไอศครีมฟรี’
2. ออกแบบแบรนด์ ( Brand Design ) ที่โดดเด่นและแตกต่าง
การสร้างแบรนด์ที่แตกต่างในที่นี้ผมจะหมายถึง Brand Design ที่โดดเด่นและแตกต่าง
การออกแบบแบรนด์ให้เป็นธุรกิจแฟรนไชน์ที่มีแบรนด์ที่แข็งแรงซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถ้าเป้าหมายของเราต้องการเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในตลาดนั้นๆ สิ่งสำคัญคือ หลักง่ายๆนะครับ ท่านควรใช้มืออาชีพในการออกแบบเท่านั้น
เพราะอะไรทำไมงานออกแบบแบรนด์ต้องใช้มืออาชีพ ?
ออกแบบ Brand Identity ที่ทรงพลังนั้นต้องอาศัยสุนทรียศาสตร์ หรือจะเรียกได้ว่าเป็น การใช้ศิลปะในการจัดการมาเป็นหลักในการบริหารจัดการให้แบรนด์เรามีความโดเด่นและลงตัวสร้างสุนทรียภาพที่ดีในทุกๆ Touchpoints แบรนด์
เราจะเห็นแบรนด์ที่มีความโดดเด่นและใช้ศิลปะในเรื่องนี้ทำให้เป็นแบรนด์ที่แข็งแรงในระดับโลกคือ Apple ตั้งแต่ความใส่ใจในการออกแบบตัวอักษร , การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างและร้าน Apple Store ที่มีความโดดเด่นด้วยความเรียบง่าย และ การจัดโชว์สินค้าที่คำนึงถึง Customer Expereince
หลักการออกแบบแบรนด์ที่ควรต้องคำนึงถึง
1. ท่านใช้มืออาชีพ มาออกแบบหรือไม่ ?
2. แบรนด์ของท่านมี Identity ที่ทรงพลังแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น การออกแบบโลโก้, สีหลัก, ตัวอักษรและองค์ประกอบทางกราฟฟิค
3. มี Symbolic ที่ชัดเจนจดจำได้ง่าย
4. มีการเลือกใช้วัสดุที่สามารถดูแล รักษาได้ง่าย
จากตัวอย่างแบรนด์แฟรนไชน์ที่มีมูลค่าทางการตลาดมากที่สุดในโลกอย่าง แมคโดนัล เขาออกแบบแบรนด์กันอย่างไร
- สร้างระบบในการบริหารแบรนด์ที่ควบคุมได้ง่าย
ชัด + รายละเอียดที่เข้าใจง่าย + มีระบบการสื่อสารที่ดีกับแฟรนไชน์ซี (Franchisee) - คู่มือแบรนด์ที่ดี
- สื่อสารกับแฟรนไชน์ซี รับฟัง สร้างความมีส่วนร่วม
- ออกแบบระบบบริหารแบรนด์ที่ดี บรีฟงาน คุมงานออกแบบ
3. สร้างระบบในการบริหารแบรนด์ที่ควบคุมได้ง่าย
- Brand Manual
ต้องมีคู่มือสำหรับการบริหารแบรนด์ที่มีรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจน - Brand Management Training
ต้องมีระบบเทรนนิ่งการบริหารแบรนด์ผู้ที่ซื้อแฟรนไชน์อย่างมีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอ - Feedback System
ต้องมีระบบรับฟิตแบกที่ดีในการสื่อสารระหว่างเจ้าของแฟรนไชน์และผู้ซื้อแฟรนไชน์
การมีคู่มือการบริหารแบรนด์ (Brand Manual) เป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ของธุรกิจแฟรนไชน์ ซึ่งเนื้อหานั้นจะต่างไปตามประเภทสินค้าและบริการ โดยเนื้อหาต้องมีความครอบคลุมตั้งแต่
1. การทำให้เข้าใจตัวตนของแบรนด์
- คุณค่าหลักของแบรนด์
- จุดยืนแบรนด์
- บุคลิกภาพแบรนด์
2. การบริหารและควบคุมการออกแบบอัตลักษณ์แบรนด์ (Brand Identity)
- การใช้งานโลโก้
- สีหลัก สีรอง
- การใช้ลวดลายกราฟฟิค เป็นต้น
4. การจดลิขสิทธิ์ให้มีความคุ้มครองป้องกันการลอกเลียนแบบ
กรณีศึกษา เสือ / หมี พ่นไฟ
การ Copy Cat คือ การสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้บริโภคบางกลุ่มบนรายได้จากการลอกเลียนแบบซึ่งสร้างความเสียหายต่อธุรกิจ
การยื่นฟ้องครั้งนั้น ศาลสั่งให้ เสือพ่นไฟ ชนะคดีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 และหมีพ่นไฟต้องชดใช้เงิน 10 ล้านบาท ฐานละเมิดเครื่องหมายการค้า
เสือพ่นไฟได้โพสต์ในเฟซบุ๊กเพจ Fire Tiger by Seoulcial Club ว่ามีการจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกอย่างมาตั้งแต่ต้น รวมถึงทุก ๆ แบรนด์ในเครือ
ความคล้ายคลึงที่หมีพ่นไฟ คล้ายเสือพ่นไฟที่เห็นได้ชัด จนเกิดความเข้าใจผิดของผู้บริโภคได้คือ
1. ทำธุรกิจชานมไข่มุกเหมือนกัน และใช้ชื่อ หมีพ่นไฟ หรือชื่อภาษาอังกฤษ The Fire Bear เป็นชื่อร้านค้า ซึ่งเป็นชื่อที่มีความคล้ายกับร้าน เสือพ่นไฟ ที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า Fire Tiger
2. ทำประติมากรรมหัวหมีพ่นไฟ ที่มีลักษณะอ้าปากเพื่อเป็นช่องส่งชานมไข่มุกให้กับลูกค้า คล้ายกับของเสือพ่นไฟที่ทำเป็นประติมากรรมเสืออ้าปากเป็นช่องส่งชานมไข่มุกให้กับลูกค้า
กรณีศึกษา : ซอสศรีราชา
ซอสพริกศรีราชาพานิช ถือกำเนิดมาก่อน ซอสพริกศรีราชาตราไก่ ราว 50 ปี
สำหรับซอสพริกศรีราชาพานิชนั้นแม้ว่าตั้งมาก่อนมากกว่า 50 ปี แต่ไม่ได้จดการคุ้มครองเรื่องลิขสิทธิ์แบรนด์ให้ครอบคลุมทั่วโลก หรือมีความรัดกุมในเรื่องลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้านั้น
เกิดความเสียหายกับธุรกิจ หลักๆสองประเด็น
1. ทำให้ต้องสูญเสียโอกาสมหาศาลในตลาดอเมริการ และตลาดอื่นที่ศรีราชาตราไก่เข้าไปและจดความคุ้มครองไว้
2. ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนอีกด้วย
ซอสศรีราชา ตราไก่ ที่วางจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ซอสสุดฮิตอันดับ 2 ของชาวอเมริกัน จำหน่ายมากกว่า 20 ล้านขวด หรือ รายได้มากกว่า 2,500 ล้านบาทต่อปี
การสร้างแบรนด์ของซอสศรีราชา ตราไก่ ที่อเมริกา
เนื่องจากเขาชื่นชอบซอส และต้องการจะทำซอสไว้กินกับเฝอ (ก๋วยเตี๋ยวสไตล์เวียดนาม) ที่ไม่มีขายในอเมริกา เดวิดจึงเริ่มต้นผลิตซอสรสชาติเผ็ดร้อนขึ้นในปี ค.ศ.1980 โดยมีแรงบันดาลใจมาจาก ‘ซอสพริกศรีราชา’ ที่นิยมทานกันในอำเภอศรีราชา ประเทศไทย ซึ่งเดวิดก็ได้ยอมรับว่า ซอสของเขามีต้นตำรับมาจากประเทศไทย แต่เขาต้องการผลิตซอสที่มีรสชาติเผ็ดร้อนกว่าเดิมเพื่อให้ชาวเวียดนามในอเมริกาทาน “ผมรู้ว่า มันไม่ใช่ซอสศรีราชาของไทย แต่มันเป็นซอสศรีราชาของผม”
5. ต้องมีตัวชี้วัดความแข็งแรงของแบรนด์ที่ทันสมัย
การทำให้เแบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ
การวัดแต่ Brand Awareness นั้นไม่สอดคล้องกับยุคสมัยเพราะ
การทำแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักเราอาจมองแค่การซื้อสื่อเยอะๆ
รู้จักแต่ไม่รักแบรนด์ท่านก็เป็นการสร้างแบรนด์ที่ไร้ประโยชน์