เราเรียนรู้อะไรในการแก้ปัญหาวิกฤติของผู้นำในแต่ละประเทศ Crisis Management !
จากเหตุการระบาดของ Covid-19 เราจะได้เห็นการแก้ปัญหาและความสารถในการจัดการวิกฤติของผู้นำในแต่ละประเทศ ซึ่งบางประเทศสามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีและรวดเร็วทำให้เศรษฐกิจพอทีจะขับเคลื่อนไปได้ คนติดเชื้อน้อย และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วสร้างความเชื่อมั่นให้คนในประเทศ มาลองมองในมุมการเรียนรู้ร่วมกันนะครับ เพราะสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้อย่างแน่นอนครับ
ผู้นำคนที่ 1 Xi Jinping (สีจิ้นผิง) ของจีนซึ่งตอนนี้สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้สำเร็จภายใน 2 เดือนเป็นที่เรียบร้อย
ผู้นำคนที่ 2 ประธานาธิบดี ไต้หวัน Tsai Ing-wen (ไช่ อิง-เหวิน) จากพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายซึ่งชูนโยบาย “เป็นอิสระ” รักษาตำแหน่งผู้นำไต้หวันเป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน โดยคว้าชัยชนะด้วยคะแนนเสียงมากที่สุดในรอบ 24 ปี ทำให้ไต้หวันสามารถควบคุมการระบาดได้ทันท่วงทีและสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศต่อไปได้อย่างรวดเร็ว
ผู้นำคนที่ 3 ประเทศเดนมาร์ก นายกรัฐมนตรีหญิง Mette Frederiksen (เมตเต เฟรเดอริกเซน) วัย 41 ผู้นำพรรคสังคมประชาธิปไตยเดนมาร์ก (Socialdemokraterne) ที่สามารถทำให้เดนมาร์กเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุดและไม่มีผู้เสียชีวิต
ผมได้ติดตามจากสื่อและบทสัมภาษณ์ต่างๆ พอจะเรียบเรียงสรุปออกมาเป็นคุณสมบัติเด่นๆ 4 ข้อในการแก้ปัญหาวิกฤติหรือ Crisis management ดังนี้
4 คุณสมบัติของผู้นำองค์กรที่บริหารวิกฤติหรือ Crisis Management
1. Siren Attitude : ทัศนคติแห่งความไม่ประมาทให้สัญญาณเตือนภัยอย่างรวดเร็วกับประชาชนเมื่อมีสัญญาณวิกฤติหรือความสุ่มเสี่ยงเข้ามาจะมีความไม่ประมาทและมีความตื่นตัวในการป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามมากกว่ารอให้เกิดแล้วค่อยแก้ปัญหา ซึ่งในอดีตธุรกิจที่ล่มสลายไปไม่ว่าจะเป็น โนเกีย, โกดัก ก็เกิดจากความประมาททั้งสิ้นด้วยคำพูดที่ว่า “ไม่เป็นไรหรอก” ทั้งสิ้น ใรข้อนี้สิ่งที่เราได้เรียนรู้คือผู้นำที่ดีต้องส่งสัญญาณเตือนให้ทุกคนไม่ประมาทแล้วพร้อมกันแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน !
2. Goal Oriented : การเอาเป้าหมายนำในการแก้ปัญหามากกว่าจะบอกว่าทำไม่ได้หรอก !!! กลัวนั่นกลัวนี่จะกระทบโดยเอาแต่ปัญหานำ ซึ่งทำให้การตัดสินใจล่าช้าและมักทำให้ปัญหาลุกลาม โดยมากมักจะกลัวกระทบเศรษฐกิจแต่ที่ผู้นำตามที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 3 ท่าน ไม่กลัวเพราะว่าเอาเป้าหมายนำโดยมองว่าถ้าปล่อยปัญหาลุกลามเศรษฐกิจจะยิ่งแย่และเจ็บหนักกว่า ดังนั้นจึงสั่งรีบล็อคดาวน์ตั้งแต่แรก!! โดยในข้อนี้ต้องประกาศเป้าหมายเชิงผลลัพธ์หรือ Key results ออกมาชัดๆ ว่าจะทำอะไร? เมื่อไร? ผลลัพธ์คืออะไร? แบบชัดๆ
3. Wisdom : ใช้ปัญญาและทีมงานที่เก่ง มีความสามารถในการแก้ปัญหา คือ มาตรการที่ออกมารองรับทั้ง
3.1) ด้านสังคมที่เป็น Social Distancing คือการให้ประชาชนป้องกันตัวเองโดยรัฐส่งหน้ากากให้ถึงบ้านและให้ความรู้อย่างต่อเนื่องในการดูแลตัวเองไม่ให้เชื้อกระจายออกไป
3.2) ด้านเศรษฐกิจ ที่ต้องลดอัตราการตกงานให้ได้และลดภาระของภาคธุรกิจไม่ให้เกิดการปิดตัวโดยรัฐเข้ามาแทรกแซงทันทีโดยใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาลมาช่วยในยามวิกฤตินี้ หรืออย่างไต้หวันให้คูปองซื้ออาหารเพื่ออุดหนุนร้านอาหารขนาดเล็ก SME ให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียน
3.3) ด้านการสื่อสาร ที่ผู้นำเองมีความรู้จริง เข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้และทำให้คนเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาของรัฐด้วยความจริงใจ
3.4) ด้านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ในไต้หวันมีการใช้ App ที่ให้ข้อมูลทุกอย่างแบบ Real time ตั้งแต่จุดเสี่ยง, จำนวนผู้ติดเชื้อ, หน้ากากซื้อที่ไหน
4. Speed : รวดเร็ว มุ่งมั่นแข่งกับเวลาโดยมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดและต้องจัดการให้จบโดยเร็วและผู้นำทำเป็นแบบอย่าง ตั้ง War room บัญชาการเองทุกวันและนำกม. ในสภาวะฉุกเฉินออกมาใช้เพื่อให้มาตรการทุกอย่างเห็นผลในทางปฏิบัติอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้นำคนที่ 1 Xi Jinping (สี จิ้นผิง) ของจีนตอนนี้สามารถหยุดยั้งการแพร่ระบาดของ Covid-19 ได้สำเร็จภายใน 2 เดือนเป็นที่เรียบร้อยจากคำว่าสปีดนี่แหละครับ
วิกฤติมันเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ดังนั้นการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาผ่านผู้นำที่มีความสามารถระดับโลกนั้นผมว่าเป็นประโยชน์มากทีเดียวครับ