ทำไมต้องกำหนดความสามารถหลักองค์กร (Core competency)

กลยุทธ์การออกแบบความสามารถหลักองค์กร เพื่อพัฒนาสิ่งที่องค์กรนั้นๆ จะส่งมอบสินค้าและบริการสู่ตลาดได้เหนือกว่าหรือเป็นสิ่งที่เราเลือกโฟกัสที่จะทำเพื่อให้ยอดเยี่ยมเหนือคู่แข่ง

โดยความสามารถหลักนั้นต้องสามารถผลักดันให้เกิดผลลัพธ์เป็นสินค้า, บริการ และประสบการณ์แบรนด์ สู่ลูกค้าในตลาด ที่ทำให้เรามีความแตกต่างเหนือคู่แข่งในตลาด

Core competency ประกอบไปด้วย

  1. Capability : Human skill + Culture + KM
    คือ สมรรถณะของการใช้ทักษะ (Skill) ที่ได้มาจากกระบวนการทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์กรผ่านวัฒนธรรมองค์กร (Culture) และการบริหารทรัพยากรด้านความรู้ (Knowledge management)
  2. Process : Workflow + Operation system
    คือ การจัดการระบบกระบวนการภายในที่สามารถทำให้เกิดกระบวนการที่มีความพิเศษเหนือคู่แข่ง
  3. Customer experience management
    คือ การออกแบบประสบการณ์ลูกค้าที่เหนือกว่าคู่แข่งในตลาด
  4. Technologies
    คือ เทคโนโลยีที่เราสามารถพัฒนาให้เหนือคู่แข่งในตลาดโดยแต่ละธุรกิจมีประเภทของเทคโนโลยีที่แตกต่างกันโดยจะต้องมีพิมพ์เขียวด้านนวัตกรรม (Innovation blueprint) ที่ชัดเจน
  5. Marketing
    คือ การเข้าสู่ตลาดที่รวดเร็ว เหมาะสมกับช่วงเวลา และสามารถพัฒนาการตลาดได้ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป 

Core competency strategy มีประโยชน์อย่างไร ? 

  1. ด้านการตัดสินใจ  (Decision making) 
    ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเพื่อสกัดจุดเด่นหรือจุดแข็งที่เราต้องการโฟกัสในการบริหารงานให้จุดที่สามารถทำได้เหนือคู่แข่งในตลาด
  2. ด้านกลยุทธ์แบรนด์ (Brand strategy)
    ช่วยทำให้เราเข้าใจธุรกิจของเราเองว่าเราควรสร้างความแตกต่างของธุรกิจด้วยอะไร ? 
    โดยการตัดสินใจเลือก Core competency ที่ชัดเจนแล้วนั้นจะทำให้การสร้างแบรนด์สามารถกำหนด

      • กลยุทธ์ด้าน Brand vision & mission
      • กลยุทธ์ด้าน Brand experience management ที่ชัดเจน
    • ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยทำให้เราสร้าง RTB (Reason to belief) ไปสู่ลูกค้าที่แตกต่าง โดนใจ และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของตัดสินใจซื้อสินค้าต่อไป
  3. ด้านกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร HRD (Human resource development)
    การทราบว่าจุดโฟกัสด้าน Core competency ที่ชัดเจนนั้นจะทำให้เราสามารถออกแบบแผนการคัดเลือกและพัฒนาบุคลากรซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรได้คมชัดยิ่งขึ้น
  4. ด้านการพัฒนานวัตกรรม (Innovation blueprint)
    การรู้ว่าเราจะพัฒนาขีดความสามารถหลักของเราทำให้เราสามารถวางแผนนวัตกรรมที่ชัดเจนในแต่ละช่วงเวลาได้ดีขึ้น และมีการลงทุนที่ชัดเจนไม่ลงทุนตามกระแสในตลาด แต่ตัดสินใจพัฒนานวัตกรรมนั้นๆ ขึ้นมาเพื่อพัฒนาความสามารถหลักขององค์กรนั่นเอง