Burger King (เบอร์เกอร์ คิง) ก่อตั้งขึ้น ในปีค.ศ.1954 ที่ไมอามี่ รัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย เจมส์ แมคเรมอน และเดวิด เอ็ดเวอร์ตันซึ่งทั้งคู่ซื้อกิจการมาจากร้าน Insta-Burger King อีกที อย่างไรก็ดี Burger King ไม่ได้ประสบความสำเร็จตั้งแต่แรกเริ่มล้มลุกคลุกคลานเปลี่ยนมือหลายครั้งจนในปี 2010 บริษัท ทรีจี แคปิทอล (3G Capital) ได้ซื้อกิจการ Burger King และสามารถซื้อหุ้น Burger King คืนกลับมาจากตลาดหุ้นได้ทั้งหมด และได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง วางแผนกลยุทธ์ใหม่ทำให้ Burger King สามารถฟื้นคืนชีพได้อีกครั้ง Burger King ถือเป็นอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ด ที่มีมากกว่า 50 รัฐ และมากกว่า 55 ประเทศทั่วโลก ปัจจุบัน Burger King มีรายได้จัดเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มธุรกิจอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด มีสาขามากกว่า 15,700 สาขาทั่วโลก และมีลูกค้ามากกว่า 11 ล้านคนต่อวัน นับเป็นก้าวแห่งความสำเร็จที่กว่าจะเดินมาถึงจุดนี้ได้ต้องใช้เวลานานนับสิบปี
และในปี 2021 Burger King ได้ตัดสินใจพลิกโฉมองค์ประกอบทุกอย่างที่เกี่ยวกับแบรนด์เพื่อสะท้อนถึง Identity ใหม่ ภายใต้แนวคิด New brand perception : ลดความรู้สึกเกี่ยวกับการอาหารสังเคราะห์และมีราคาถูก + ทดแทนด้วยความจริงที่และความอร่อยที่มากขึ้น
โดยที่โลโก้ใหม่นี้เป็นการนำโลโก้เก่าช่วงปี 1969-1999 มาใช้อีกครั้งหนึ่ง โดยเน้นความเรียบง่าย มินิมอล ลดรายละเอียด และตัดสีน้ำเงินล้อมรอบออกไป เหลือเพียง 2 สีหลักๆ
“ต้องการสร้างความรู้สึกให้คนอยากจะลองกัดดูสักคำ” – ราฟาเอล เอบรือ” หัวหน้าฝ่ายออกแบบสากลของ Restaurant brands international
และชุดยูนิฟอร์มของพนักงานปรับให้มีความทันสมัยขึ้น สวมใส่สบาย มาพร้อมกับกราฟฟิกที่เป็นสีสด เป็นการระลึกถึงมรดกของแบรนด์นี้ที่ส่งต่อกันมา ไม่ว่าจะเป็นความเป็นเอกลักษณ์ มั่นใจ เรียบง่าย สนุกสนาน และเป็นมิตร
“การออกแบบคือหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารที่สำคัญที่สุด เพื่อแสดงออกว่าเราคือใครและเราให้คุณค่ากับอะไร รวมถึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างความอยากอาหาร และสร้างประสบการณ์สูงสุดให้กับลูกค้าของเรา” – เอบรือ
ทำไม Burger King ถึงต้องรีแบรนด์
1. Brand identity ที่สอดคล้องกับแบรนด์ : เมื่อตัวตนของแบรนด์และความเป็นแบรนด์แบบเดิมที่แสดงออกไม่ตอบโจทย์ความเป็นแบรนด์อีกต่อไป การรีแบรนด์ หรือ การปรับแบรนด์ให้สอดคล้องกับตัวตนที่แท้จริงเป็นสิ่งที่สำคัญ Burger King จึงเริ่มสร้างประสบการณ์รับรู้ใหม่ทั้งทางสายตาและประสบการณ์ในร้านให้ตอบโจทย์กัยตัวตนใหม่ให้มากที่สุด เพื่อสื่อสารว่า Burger King เป็นใครและให้ความสำคัญกับอะไร สัญลักษณ์ใหม่จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างและเพิ่มประสบการณ์สูงสุดให้กับลูกค้า อีกทั้งเพื่อเป็นการยืนยันจุดยืนในเรื่องของ Sustainability ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมาในปัจจุบัน
2. Add value through rebranding :
- การรีแบรนด์สื่อถึงความเป็นแบรนด์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- สร้างภาพลักษณ์เชิงบวก ลบภาพอาหารสังเคราะห์ เพิ่มความรู้สึกมินิมอลเหมือนอาหารจากธรรมชาติ
- ถือเป็นการยกย่องประวัติศาสตร์อันยาวนาน 64 ปีของแบรนด์ด้วยการเลียนแบบโลโก้เก่าที่ใช้มาตั้งแต่ปี 1969
3. สร้าง Talk ใน Social media : เมื่อแบรนด์ทำการรีแบรนด์โดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่อย่าง Burger King แน่นอนว่าย่อมสร้างการพูดถึงและการพูดคุยเกี่ยวกับแบรนด์ ซึ่งการพูดคุยการค้นหาเหล่านี้เองถือเป็นการเพิ่ม Brand awareness ให้กับแบรนด์ไปในตัว ถือได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว
4. Rebrand “A tip of an iceberg” : ทุกครั้งที่มีการรีแบรนด์มักเป็นสัญญาณที่แบรนด์หรือบริษัท ทำการสื่อสารสู่ Public ถึงทิศทางที่เปลี่ยนแปลงในอนาคตของพวกเขา สำหรับ Burger King การรีแบรนด์จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่เชื้อเชิญให้ Public จับตามองถึงแนวทางในอนาคตของแบรนด์ สำหรับ Burger King นั้น สิ่งที่แน่นอนตอนนี้คือทางแบรนด์เริ่มหันเข้าสู่ Future trend แล้วทั้งในแง่ของ Sustainability และการอยากย้ำในเรื่องของ Healthy food ตามที่เห็นได้ผ่าน Logo, Uniform เป็นต้น สำหรับกลยุทธ์และแนวทางการตลาดที่ลึกกว่านี้นั้นน่าจับตามองผ่านกิจกรรมของแบรนด์ที่จะออกมาในอนาคตในอีก 1-2 ปีจากนี้
สรุปการปรับโฉมใหม่ของ Burger King ในปี 2021
- การรักษา Brand essencse หรือสาระสำคัญอันเป็นตัวตนของแบรนด์ผ่าน Brand character และ Brand identity ในปี 1969 ในอดีตกลับมาใช้เพื่อสร้างความรู้สึกว่าเป็นแบรนด์ที่มีตำนานเก่าแก่ ที่มีประวัติมายาวนาน
- การสะท้อนทิศทางของธุรกิจการมุ่งสู่ Future food หรือกระแสอาหารในอนาคตที่มุ่งเน้นความยั่งยืน และการรักสุขภาพผ่านความรู้สึกที่เรียบง่ายแต่มีชีวิตชีวา
- การสร้าง Viral หลังรีแบรนด์ช่วยเป็น Sign ให้คนจับตามองและเอื้อในการเปลี่ยน Direction ของบริษัทโดยการใช้สื่อสมัยใหม่พูดต่อกันออกไปในวงกว้างจนเกิดกระแสที่สร้างความน่าสนใจให้สังคม