5 Impact IP Centric Strategies of Dolby กฏ 5 ข้อที่ Dolby สร้างแบรนด์พันล้านด้วยกลยุทธ์ IP Centric

กฏ 5 ข้อที่ Dolby สร้างแบรนด์พันล้านด้วยกลยุทธ์ IP Centric

IP Centric หน่ึงในกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ที่ไม่เหมือนใคร แต่สร้างแบรนด์ได้มูลค่าหลายพันล้านเหรียญ อีกทั้งสร้างส่วนต่างกำไรอีกมหาศาล วันนี้เราจะมาพูดถึงแบรนด์ชื่อ “Dolby” แบรนด์ผู้พัฒนาระบบเสียงต่างๆ ที่ใช้ในโรงภาพยนต์ ห้องอัด โทรทัศน์ หรือกระทั่งระบบเสียงในบ้านทั่วไป
.
เริ่มต้นต้องขอเล่าประวัติบริษัทนี้กันซักนิด Dolby Laboratories เกิดขึ้นเมื่อปี 1965 โดยนักประดิษฐ์และวิจัยชื่อ Ray Dolby ที่สามารถทำ Broadcast-Quality Videotape Recorder ร่วมกันเพื่อนอีกคนได้เป็นครั้งแรก และได้จดสิทธิบัตร ซึ่งนี่ถือเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ Ray เห็นความสำคัญของการมีสิทธิบัตร โดยเค้าได้เคยกล่าวไว้ว่า “I don’t go into any area that I can’t get a patent on.” ซึ่งกลายเป็นหลักสำคัญของ Dolby ในยุคต่อมา
.
วันนี้หากเราต้องมาเล่าว่า Dolby ทำอะไรมาบ้าง และประสบความสำเร็จได้อย่างไรคงต้องเขียนกันอีกหลายตอน เราสรุปสั้นๆ เป็น 5 จุดเปลี่ยนและหลักยึดสำคัญที่ทำให้ Dolby ก้าวมายิ่งใหญ่ในทุกวันนี้
.
1.Focus ไปที่ความสามารถหลักขององค์กร ที่สร้างคุณค่าและมูลค่ามากที่สุดให้แก่เรา
– Dolby เริ่มตนจากนักประดิษฐ์และวิจัยด้านระบบเสียง จึงทำให้ Dolby ยึด Core Competency นี้มาโดยตลอด เมื่อเค้าคิดค้นเทคโลโยีอะไรใหม่ๆ เค้าจะไม่สนใจที่จะลงมือผลิต จัดจำหน่ายใดๆ แต่เลือกที่จะขายสิทธิบัตรให้แก่โรงงานอื่นๆ ไปผลิตแทน
.
2. สร้างระบบนิเวศให้ครบทุกด้านที่เราจะสามารถส่งมอบคุณค่าและประโยชน์ให้แก่ทุกคนในระบบ
– Dolby เลือกเจาะกลุ่มเป้าหมายคือ Hollywood โดยเน้นการขาย Licences ในการบริการที่ครบวงจรและทุกความต้องการตั้งแต่ผู้ผลิตภาพยนตร์ สตูดิโอ โดยมีการลดราคาให้คนกลุ่มนี้ แลกกับการเอาตรา Dolby ฉายขึ้นจอ เพื่อเป็นตราการันตีว่าผู้ชมจะได้รับประสบการณ์ที่เหนือกว่า
.
3. ยืดหยุ่นกลยุทธ์ IP ให้เหมาะกับธุรกิจที่เปลี่ยนไป
– ในยุค 1980’s มีผลิตภัณฑ์ Consumer Electronic เกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็น Sony Walkman, VHS Video หรือ Cassette Tape โดย Dolby ได้ปรับตัวเองให้เข้ากับธุรกิจมากขึ้นโดยแบ่ง License เป็น 2 แบบ คือ แบบสำหรับโรงงานนำเทคโนโลยี Dolby ไปผลิตเป็นชิ้นส่วนชิป และแบบผลิตชิ้นส่วนประกอบภายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
.
4. ปรับตัวให้ไว รีบเข้าสู่โลก Digital ให้เร็วที่สุด
– จากความรุ่งเรืองในอดีต Dolby ก็ไม่ได้นอนใจ ยังคงพัฒนาอย่างไม่หยุด จนปี 1990s เริ่มเข้าสู่ยุคดิจิตอล Dolby เองก็พัฒนาระบบใหม่ เช่นการเก็บไฟล์เสียงแบบดิจิตอลไปที่ร่องหนามเตยของฟิลม์ และมีการพัฒนาระบบเสียงแบบ AC3 ที่กลายเป็น 1 ใน License หลักที่สร้างรายได้มากมายให้แก่ Dolby
.
5. ในตลาดที่มีความซับซ้อนสูง การร่วมจับมือกันอาจจะดีกว่า (Patent Pool)
– โลกยุคปัจจุบันที่ไทม่ว่าใครก็เข้าถึง และพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง จนมี Patent จากบริษัทคู่แข่งมากมายทั่วโลก Dolby ก็ถือโอกาสนี้จับมือร่วมกันผ่านระบบการทำ Patent Pool หรือ การใช้ระบบร่วมใช้สิทธิ์ในสิทธิบัตร เพื่อให้ทุกคนได้มาร่วมพัฒนา และได้ผลประโยชน์ไปด้วยกัน
.
และจาก 5 ข้อข้างต้นนี้ ก็ทำให้ Dolby กลายเป็นแบรนด์ที่ขับเคลื่อนแบรนด์ผ่านการ R&D จนเกิด IP มากมายที่สร้างรายรับกลับมากว่า 90% ของรายได้ทั้งหมด และกลายเป็นแบรนด์เอกลักษณ์ที่ใครๆ ก็ต้องคิดถึงเมื่อกล่าวถึงระบบเสียงคุณภาพที่ไว้วางใจได้