แบรนด์ในอนาคต ต้องเป็นมากกว่าแค่โลโก้และเปลือกนอก

 

แคปเปอร์นิก ถูกมองว่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มต่อต้านการเหยียดสีผิว ทำให้เพื่อนร่วมงานปฏิเสธจะเล่นกับเค้าและยังโดน Donald Trump ทวีตโจมตีระหว่างแคมเปญเลือกตั้งครั้งล่าสุด

แม้แบรนด์อื่นๆ จะถอนตัวจากเขา แต่ไนกี้ที่ให้การสนับสนุนเขามาตั้งแต่ปี 2011 ก็ยังเป็นแบรนด์ที่ยังคงให้การสนับสนุนเขาอยู่แบบเงียบๆ

 

 

Nike “Dream Crazy”

จัดทำขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของ แคมเปญ Just Do It โดยมีกำหนดแพร่ภาพครั้งแรกทางโทรทัศน์ ในเกมนัดเปิดสนาม NFL ระหว่าง ฟิลาเดลเฟีย อีเกิลส์ กับ แอตแลนตา ฟอลคอนส์ จึงทำให้เกิดกระแสครั้งใหญ่กับแคมเปญนี้

 

 

เกิดกระแสต่อต้านจากคนที่คิดตรงข้ามออกมาโจมตีแบรนด์ Nike กันอย่างรุนแรง เช่น ใน Twitter มีการใช้

#Nikeboycott

มากกว่า 188.4 ล้านครั้ง จากการวิเคราห์ข้อมูลของ Brandwatch

 

 

แม้การเลือกข้างในครั้งนี้ของ Nike อาจจะได้รับผลกระทบในแง่ลบ แต่จริงๆ แล้วหลังแคมเปญ 10 วัน ราคาหุ้นของ Nike ขึ้นไปถึง 83.47 ดอลลาร์สหรัฐ/หุ้น และยอดขายของ NIKE ผ่านทางออนไลน์ในช่วงวันหยุดแรงงานปีนี้ เติบโตขึ้น 31% จาก 17%

 

 

“Believe in something. Even if it means sacrificing everything.”

การแสดงจุดยืนในครั้งนี้ของไนกี้ถือว่าเป็นการขายแรงบันดาลใจที่เชื่อมั่นในศักยภาพของคน ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นใคร เป็นคำขวัญและจุดยืนที่จะแตกต่างของบริษัท เพราะ Nike ไม่สามารถสื่อสารแบบ Mass ที่จะเข้าถึงทุกคนได้เหมือนเดิมอีกต่อไป