สวัสดีครับ พบกับรายการ Podcast ของชาว Baramizi อีกเช่นเคยนะครับ
ในรายการ Brand Future หรือ แบรนด์แห่งอนาคต
ผมจุลเกียรติ CEO และ Founder ของ Baramizi วันนี้ก็จะนำพาทุกท่านมาพูดคุยกันแบบสบายๆ แต่ได้สาระเช่นเดิม ว่าการสร้างแบรนด์ที่ทำให้แบรนด์ของท่านมีมูลค่า และวัดผลได้จริง เราต้องคิดอย่างไร ต้องทำอย่างไรนะครับ
ซึ่งในตอนแรกเราได้พูดถึงวิธีคิดกว้างๆ ว่า การทำแบรนด์แห่งอนาคต ต้องคิดยังไง และมันมี movement ของมันไปยังไง ทุกท่านก็คงได้ติดตามไปในตอนแรกแล้ว มาในตอนนี้ถ้าพูดถึงการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับธุรกิจเนี่ย เราจะพูดคุยกันในเรื่องที่ว่า ทำยังไงให้เรารู้นะว่าวันนี้เราอยู่ในยุค 4.0 แล้วยุค 1.0 มันเริ่มมายังไง 2.0 เป็นยังไง 3.0 เป็นยังไง และ 4.0 มันมีอะไรเหมือน มันมีอะไรต่างนะครับ ดังนั้นในตอนนี้เนี่ย เราจะตั้งหัวข้อว่า การเปลี่ยนธุรกิจให้ทันโลกยุค 4.0 เพราะฉะนั้นตัวหัวข้อวันนี้เนี่ย จะเป็นหัวข้อที่จะเล่าในยุคอดีตสู่ยุคปัจจุบันเลยนะฮะ เพื่อให้ทุกท่านเห็น movement เห็นการเปลี่ยนแปลงว่า สิ่งที่เราออกแบบธุรกิจและสร้างแบรนด์เนี่ย มันถูกต้องมั้ย มันตามยุคสมัยมั้ยนะครับ
ยุค 1.0
คือถ้าเราย้อนกลับไปเลยในยุคก่อนศตวรรษที่ 18 อีก ยุคนั้นเนี่ย ทั่วโลกก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นยุคอุตสาหกรรมครั้งแรกๆ เลยของโลกในยุค 1.0 ตอนนั้นในภาคอุสาหกรรมมันถูกปฏิวัติด้วยเครื่องจักรไอน้ำที่เข้ามามีบทบาทในการผลิต ดังนั้นในส่วนของการทำให้ธุรกิจมันไปได้ยุคนั้นจึงเน้นทำให้สินค้าที่มันถูกผลิตออกมา มีคุณภาพ หรือ Quality is the best ก็เลยเป็นเรื่องที่จำเป็นตั้งแต่ยุคนั้น และจนถึงในปัจจุบันก็ยังจำเป็นอยู่ แต่ในยุค 1.0 เค้าแทบจะไม่มีการทำการตลาด ไม่ต้องทำโบรชัวร์ ไม่ต้องทำสื่ออะไรทั้งสิ้นเลย เน้นผลิตสินค้ามีคุณภาพ มีเซลล์แมนไปขายของ ธุรกิจก็ประสบความสำเร็จได้แล้วในยุคนั้น เพราะอะไร เพราะว่าในยุคนั้นต้องยอมรับว่า ใครมีเครื่องจักรคนนั้นรวย ใครผลิต มีเทคโนโลยี มีโรงงาน คนนั้นประสบความสำเร็จ อำนาจของตลาดอยู่ในมือของผู้ผลิต หลังจากนั้นโลกมันก็วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ
ยุค 2.0
เทคโนโลยีการผลิตมันก็ถูกปฏิวัติเข้าสู่ยุคที่ 2 คือยุคที่เป็นการผลิตแบบจำนวนมากๆ หรือ mass production ซึ่งตอนนั้นโลกใบนี้ก็ผลิตสินค้ามาเป็นจำนวนมาก ฝั่ง demand เริ่มมีความต้องการที่มากขึ้นเรื่อยๆ Supply ผลิตออกมาล้น เกิน Demand สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ต้องมาแข่งกันขายของ ขายสินค้า แบรนด์นั้นก็อวดอ้างสรรพคุณว่าชั้นคุณภาพดี อันนี้ก็บอกว่าดีกว่า มากไปกว่านั้น กลไกของการขายก็เปลี่ยนไปเน้นเป็นคุณค่าทางด้านอารมณ์ ที่เรียกว่าการสร้างภาพลักษณ์สินค้า การทำกิจกรรมทางการตลาด เริ่มมีโบรชัวร์ มีแคตตาล็อก มีการทำเรื่องของกิจกรรมทางการตลาด และในสินค้าที่เหมือนๆ กัน เริ่มสร้างความแตกต่างด้วยภาพลักษณ์ที่แตกต่างกัน เป็นต้น
สมมุติเราใส่เสื้อผ้าอยู่ยี่ห้อนึง เราก็บอกว่า ทำไมทุกครั้งที่เราใช้แบรนด์นี้เราจะรู้สึกว่า เราเป็นคนทันสมัย เป็นคนหนุ่มสาวเสมอ แต่ทำไมเราใส่แบรนด์นี้ ทั้งๆ ที่เสื้อผ้าบางทีมันก็ไม่ได้ต่างกันมาก ให้ความรู้สึกว่าเราเป็นคนหลุดโลก เราเป็นคนมีชีวิตที่สนุกสนาน เร้าใจ ตื่นเต้น อย่างยี่ห้อที่เมื่อก่อนวัยรุ่นใส่กันเยอะๆ อย่าง Quick Silver ก็เป็นแบรนด์นึงที่ให้ความรู้สึกเสื้อผ้าเหมือนเด็กบอร์ด มีความเร้าใจ สนุกสนาน การดีไซน์ผลิตภัณฑ์ แพคเกจจิ้ง ภาพลักษณ์ก็จะมุ่งเน้นไปทางนั้น ซึ่งในอุตสาหกรรม 2.0 เราจะเห็นการสร้างภาพลักษณ์ลงไปที่อุตสาหกรรมประเภทรถยนต์เป็นจำนวนมาก รถ Mercedes Benz ก็มีภาพลักษณ์ดูเป็นคนหรู ทันสมัย, รถยนต์ Mini ก็ดูเป็นคนเก๋ๆ Coolๆ หน่อย, รถยนต์ BMW ก็จะให้ความรู้สึกถึงความโฉบเฉี่ยว เป็นคนรุ่นใหม่, รถลุยป่า อย่างรถ Jeep อย่างรถยี่ห้อ Ford เป็นต้น ก็จะให้ความรู้สึกบึกบึน ลุยๆ นั่นคือเป็นผลจากการสร้างภาพลักษณ์ทั้งสิ้น
แล้วไปยังไงต่อโลกใบนี้ พอผลิตสินค้ามากขึ้น แบรนด์นั้นก็มีภาพลักษณ์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 มี character ต่างๆ ออกมาเต็มไปหมดมากมาย คำถามมาเหมือนเดิมเลยครับ ขายของยังไง จะขายยังไง ฉันจะทำอย่างไรให้คนมาซื้อสินค้าฉัน
ยุค 3.0
ในยุค 3.0 มันก็เป็นยุคการปฏิวัติ การผลิตแบบ mass production ด้วยระบบ automation หรือหุ่นยนต์เข้าไปอยู่ในโรงงาน เป็นการผลิตที่รวดเร็วขึ้น สามารถทำสินค้า mass production ได้ตรงความต้องการของตลาดได้รวดเร็ว นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า เป็นยุคปฏิวิติ 3.0 กลไกที่มันเปลี่ยนไปในยุคนี้ในการสร้างแบรนด์และการตลาดไม่เพียงพอที่เราจะสร้างแค่ภาพลักษณ์ เพราะอะไร คุณค่าบางประเภทและแบรนด์บางประเภทแค่สร้างภาพลักษณ์แต่ไม่มีคุณค่าคนก็ไม่ซื้อแล้ว ผู้คน หรือผู้บริโภคเอง เริ่มเข้าถึงข้อมูลในยุคข่าวสาร ยุค 3.0 ไอทีเกิดขึ้นแล้วครับ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนทเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ดังนั้นผู้บริโภคเองฉลาดขึ้น มีข้อมูล มีความรู้มากขึ้น เค้าก็จะตัดสินใจซื้อสินค้า หรือซื้อแบรนด์นั้นๆ ด้วยความรู้สึกว่าแบรนด์นี้มันช่างดีจังเลย ไม่ใช่แค่ character มันช่างดีจังเลย มันช่างเป็นแบรนด์ที่มีชีวิต มีจิตวิญญาณ ดังนั้นแบรนด์เริ่มมีจิตวิญญาณตั้งแต่ยุค 3.0 แล้วนะครับ เพราะอะไร เพราะว่าแบรนด์เหล่านี้ต้องการสร้างสายสัมพันธ์ในระยะยาวให้เกิดขึ้นกับผู้บริโภค หรือว่าลูกค้าของเค้า ก็เลยทำให้แบรนด์ต่างๆ เริ่มมีการสร้าง ทำ CRM การทำ relationship management ซึ่งการจะสร้าง relationship กับลูกค้าได้เนี่ย มันต้องอาศัยกลไกที่แบรนด์ผูกพันธ์กับลูกค้า ผูกพันธ์กับคน ดังนั้นมันเลยต้องมีจิตวิญญาณ มีการกำหนด spiritual value ตั้งแต่ในยุค 3.0
วันนี้ในเมืองไทยเท่าที่ผมเองเป็นที่ปรึกษามาก็จะพบว่า ในยุค 3.0 เนี่ย ถ้าแบรนด์ไหนไปได้เค้าก็จะกอบโกยแล้ว และก็จะเป็นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยได้เลยทีเดียว ในระดับโลก แบรนด์ยุค 3.0 เช่นอะไรบ้าง แบรนด์ที่พูดถึงจิตวิญญาณได้โดดเด่น และมูลค่าแบรนด์ก็ยังเติบโตอยู่ อย่างในปีที่แล้วเติบโตสูงถึง 11% อย่างเช่น Nike พวกนี้ไม่ได้มีความหวือหวาในแง่ของเทคโนโลยีมากนัก แต่แบรนด์ถูกสร้างมาอย่างถูกต้องและมีจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง Coca Cola, Walz Disney, Mercedez Benz พวกนี้โมเดลธุรกิจเค้าไม่ได้เปลี่ยนมาก แต่กลไลการสร้างแบรนด์มันถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัย และมีจิตวิญญาณอย่างแท้จริง หรือแม้กระทั่ง IKEA ก็ถือว่าเป็นธุรกิจที่สำเร็จในยุคที่ 2 และ 3
ยุค 4.0
พอมายุคที่ 4 ทุกคนก็คงอยากรู้แล้วว่า ยุคที่ 4 มันเป็นยุคที่มีความแตกต่างยังไงกับ 3 ยุคที่ 3 อย่างที่ผมบอกว่ามันถูกใช้โรบอทในการผลิต แต่พอมายุคที่ 4 มันเข้าสู่ยุคที่ทุกอย่างถูกควบคุมและเข้าถึงด้วย internet หรือที่เรียกว่า internet of thing เทคโนโลยีทางด้าน internet ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มี Super Computer คำนวนทุกสิ่งทุกอย่างด้วย AI หรือ artificial intelligence ได้อย่างรวดเร็วแทนมนุษย์ หรือปัญญาประดิษฐ์เกิดขึ้นมาในยุคนี้ เมื่อมันเกิดขึ้นมาในยุค 4.0 หรือยุคที่พวกเราอยู่ มันสร้างกลไกทางการขยายธุรกิจและการสร้างแบรนด์ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเลย ยุค 4.0 เป็นยุคที่น่ากลัวสำหรับบางธุรกิจ แล้วก็เป็นยุคที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่ องค์กรเล็กๆ รุ่นใหม่ มีโอกาสในการเติบโตแซงหน้ายักษ์ใหญ่ได้ เราจะสังเกตุว่า แบรนด์อย่าง Nokia แบรนด์อย่าง Kodak ที่เคยยิ่งใหญ่ในยุคอดีตล้มหายไปก็คือยุคนี้ทั้งสิ้น
ยุค 4.0 มันคือการสร้าง experience สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ บนพื้นฐานของการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ทั้งหมดโดย AI เข้ามามีบทบาท ผมยกตัวอย่างให้เห็นธุรกิจในยุคนี้ ถ้าไปดู ranking มูลค่าแบรนด์อันดับต้นๆ ของโลก Apple, Google, Facebook, Alibaba, Huawei, Spotify, Netflix, Amazon พวกนี้เป็นอาณาจักรยุคใหม่ทั้งสิ้นที่มาพร้อมธุรกิจโมเดลใหม่ มาพร้อมการใช้ AI เข้าไปจัดการธุรกิจที่สามารถขยายได้อย่างไรขอบเขต นี่คือยุค 4.0 ดังนั้นการสร้างธุรกิจหรือการสร้างแบรนด์ยุค 4.0 มันจึงปฏิเสธไม่ได้ที่ว่า เราสร้างภาพลักษณ์อย่างเดียวไม่รอด ภาพลักษณ์ยังต้องดีอยู่ คุณค่าต้องมีอยู่ แต่ทุกท่านครับ ผมทำวิจัย ผมทำแบรนด์มาตลอดชีวิตผม ผมเห็นการเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของแบรนด์จำนวนมาก ต้องบอกว่า 4.0 จำไว้เรื่องเดียวเลย ทุกท่านที่ฟัง podcast ตอนนี้แล้วอาจจะมีธุรกิจที่อยู่มานาน มีลูกค้า มียอดขาย ผมขอเรื่องนึงให้ลองไปทำดู
ไปทบทวนโมเดลธุรกิจท่านใหม่ว่ามันสอดคล้องกับยุค 4.0 มั้ย จะทราบว่า business model สอดคล้องอย่างไรได้จากการสำรวจว่าช่องทางการสร้างรายได้ของท่านเนี่ย มันใช้เทคโนโลยีรึยัง มันใช้เรื่องของความทันสมัยทางอินเตอร์เนต มันใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะ AI, IOT หรือแม้กระทั่งทีมงานที่มีความเข้าใจมีความชำนาญเรื่องนี้ เข้ามา involve ในธุรกิจทุกท่านหรือยังใน ยุค 4.0
ผมชอบเล่า case study ให้น้องๆ ฟังเสมอ หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องที่ว่าทำไม Netflix ถึงขยายอาณาเขตคนดูเนี่ยได้เป็นหลักร้อยล้านคน มากขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่เห็นว่าจะสิ้นสุดที่ตรงไหน คือ business model เค้าในการทำ video streaming ที่ให้ทุกคนเข้าถึงและดูได้มันไม่ได้เป็น business model ที่ใหม่มาก เพราะเว็บไซต์หลายๆ เว็บก็มีหนังออนไลน์ฟรี หรือเสียสตางค์ให้ดู แต่สิ่งที่ Netflix แตกต่างคือเค้าใช้เทคโนโลยีพวกปัญาประดิษฐ์ในการคำนวน เค้าเรียก AI Internet เพื่อทำให้ภาพมันคมชัด ทำให้การ upload video ที่ดูผ่านจอทีวีที่บ้านทุกท่านเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้คือความเข้าใจที่ลึกซึ้งว่า AI คืออะไร เทคโนโลยีทางอินเตอร์เนตคืออะไร เป็นสิ่งที่วันนี้คนไทยด้วยกันต้องรีบเรียนรู้โดยด่วน ไม่ใช่แค่เข้าใจว่า AI ต้องทำ แต่วันนี้ต้องลงภาคสนามจริงแล้ว ต้องพัฒนา AI ที่มาใช้ต่อยอดธุรกิจจริงได้แล้ว ไม่งั้นเราจะช้าเกินไปแล้ว นั่นคือข้อแตกต่าง อย่างที่เมื่อกี้ขอย้อนกลับไป การดู Netflix ไปดูเทียบกับหนังออนไลน์ในเว็บไซต์ต่างๆ จะสังเกตุเห็นคุณภาพของภาพ การอัพโหลด ทั้งๆ ที่เราใช้อินเตอร์เน็ตบ้านเหมือนกันแต่ทำไมมันถึงช้าหรือภาพคมชัดแตกต่างกัน นี่แหละคือคำตอบ เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ เมื่อเราใช้เทคโนโลยีเข้ามาในองค์กร หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาขยาย business model เนี่ย มันทำให้ user ต่อหน่วยจ่ายลดลง แต่ขยายได้ทั่วโลก และนี่คือยุค 4.0
การเปลี่ยนธุรกิจในแต่ละยุคสมัยก็ต้องมองให้ออกว่าเราจะต้องมีอะไรที่เป็น input เพิ่มเข้าไปเป็นกลยุทธ์ตัวใหม่ๆ ทำไมบริษัทชั้นนำสังเกตุเห็นมั้ยครับว่าลงงบพัฒนาธุรกิจเป็นเปอร์เซ็นที่สูงขึ้นเรื่อยๆ วันนี้การเปลี่ยนธุรกิจให้ทันโลกยุค 4.0 นอกจากไปทบทวน business model แล้วท่านต้องเพิ่มสัดส่วนของการทำ R&D ของบริษัท นี่คือคำตอบเลย ไม่ใช่เพิ่มงบการตลาด แต่งบการตลาดก็ต้องมี และมีมากมันก็ดีถ้ามันก็ไปเพิ่มการหารายได้ของท่าน แต่อย่าลืมไปทบทวนว่าเราแบ่งงบ R&D มาพัฒนาธุรกิจแค่ไหน และที่สำคัญคือต้องรู้ด้วยว่า พัฒนาอย่างไร และเอางบนั้นไปทำอะไร มันไปสอดคล้องอย่างไรกับยุคสมัยใน 4.0 ที่ใช้เรื่องของเทคโนโลยีทาง AI, ปัญญาประดิษฐ์, internet of thing หรือไม่ และทำให้ธุรกิจงท่านมีช่องทางรายได้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นรึเปล่า
ดังนั้นก็ในช่วงท้ายสรุปกันซักนิดนึง ว่าการเปลี่ยนถ่ายธุรกิจให้ทันยุค 4.0 เนี่ย ถ้าสังเกตุนะครับ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ในวันนี้ในฐานะไม่ว่าจะเป็น top management, CEO, ผู้ก่อตั้ง หรือ founder ทางธุกิจเนี่ย จะใช้วิธีชี้นิ้วสั่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะอะไร
เพราะวันนี้โลกมันเปลี่ยนแรง และเร็ว สิ่งที่ต้องเปลี่ยนเป็นอย่างแรกก็คือ mindset ของ CEO, เจ้าของธุรกิจ ที่ต้องมี mindset และมีการ reskill ใหม่เพื่อให้ทันยุคการเปลี่ยนแปลงของโลกยุค 4.0
วันนี้ Podcast ตอนที่ 2 ของ Baramizi ก็ขอจบเพียงเท่านี้ แล้วพบกันในตอนหน้า สวัสดีครับ