การเปลี่ยนแปลงจาก แว่นกรุงไทย หรือ KRUNGTHAI Optic สู่ KT Optic

แว่นกรุงไทย หรือ KRUNGTHAI Optic สู่ KT Optic



ปัญหา

– แว่นกรุงไทยเป็นแบรนด์ที่มีชื่อซ้ำกับแบรนด์อื่นๆ
– ไม่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ได้ จากเดิมมีเพียงแต่กลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น
– แว่นกรุงไทยเดิมมีแต่สาขาอยู่ตามตึกแถวและชุมชน ในขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเป็นเข้าห้างสรรพสินค้ามากขึ้น

วิจัยพบอะไร

การรับรู้แบรนด์จากภายนอก
– ลูกค้าเก่ารู้สึกว่าแบรนด์มีความน่าเชื่อถือ
– ลูกค้าใหม่รู้สึกว่าแบรนด์นี้เชย และไม่น่าสนใจ

ความต้องการเมื่อเข้ามาในร้าน
– ลูกค้าไม่ได้ต้องการแก้ไขปัญหาด้านสายตาอย่างเดียว แต่ต้องการเสริมสร้างบุคคิลภาพด้วย
– ลูกค้าไม่ชอบบรรยากาศถูกกดดันจากทีมเซลล์

ใครมีอำนาจตัดสินใจซื้อ ?
– ผู้ที่มาด้วยกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เกิดการปิดการขาย  และเนื่องจากการเลือกซื้อแว่นต่อครั้งใช้เวลานาน จึงต้องให้ผู้ที่มาด้วยรู้สึกสบายใจ ไม่อึดอัด อยากนั่งในร้านนานขึ้น

Brand Strategy

วางกลยุทธ์ตามรูปแบบ STP
Segmentation – ขยับจากกลุ่มลูกค้า Medium Low ไป Medium Up
Target – เปลี่ยนจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่ค่อนข้างมีอายุ เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมชอบเดินห้างสรรพสินค้า
Positioning – เป็นแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์ทันสมัย และมอบประสบการณ์ที่ผ่อนคลายให้ลูกค้า

Brand Value Strategy

– เสริมสร้างภาพลักษณ์ และบุคลิกภาพที่ดีให้ลูกค้า

Brand Experience Strategy

– การทำให้คนรู้สึกว่า เข้ามาแล้วบรรยากาศเป็นมิตร
– ตอบโจทย์เป้าหมายทั้ง 2 กลุ่ม คือ ลูกค้า และผู้ที่มาด้วย
– ตอบโจทย์ Brand Management

วิธีการแก้

– ปรับชื่อแบรนด์ใหม่เป็น กรุงไทย KT Optic เพื่อให้ทันสมัยขึ้น และง่ายต่อการจดจำ เกิดการถ่ายโอนชื่อเสียงของแบรนด์ ระหว่างแบรนด์เก่าและแบรนด์ใหม่
– ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ของคนรุ่นใหม่
– สร้าง Brand Experience โดยเฉพาะ Atmosphere Experience ซึ่งคือบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และสนับสนุนการขาย

การออกแบบมีที่มาอย่างไร ?

Brand Identity
– โลโก้ ต้องการให้ดูเรียบง่าย จำได้เร็ว ไม่จำเป็นต้องมีรูปแว่น เพราะแบรนด์เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว ใช้ตัวอักษร KT  มาดัดให้มีความรู้สึกไม่เป็นทางการมากเกินไป
– ออกแบบไอคอนที่มีสัญลักษณ์มาจากรูปหน้า แล้วนำมาวางคู่กับการใช้งานโลโก้ โดยออกแบบให้ดูมีแฟชั่น และมีเสน่ห์มากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างการจดจำที่ดี

Retail Prototype
–  ออกแบบ Mood & Tone ในรูปแบบ Tropical Paradise
– ออกแบบหน้าร้านให้มีการ Set back เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนหยุดมอง และสินค้าสามารถขายได้ด้วยตัวมันเองมากขึ้น
– มีโซน Good Looks Bar ให้ลูกค้าสามารถนั่งลองแว่นได้อย่างสะดวกสบายและไม่รู้สึกกดดันจากพนักงานขาย

ช่วยธุรกิจอย่างไร ?

ผลตอบรับจากภายใน
– พนักงานรู้สึกภูมิใจและเชื่อมั่นในตัวองค์กรมากขึ้น

ผลตอบรับจากภายนอก
– ยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง
– การรับรู้แบรนด์ทันสมัย
– เจ้าของพื้นที่ห้างให้การยอมรับ
– กลุ่มลูกค้ากลายเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่
– ส่งผลถึงคนที่มาด้วยทำให้ KT Optic เป็นแบรนด์ที่พวกเขาจะนึกถึงเมื่อต้องการซื้อสินค้า